ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทฤษฎีความน่าจะเป็น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ทฤษฎีความน่าจะเป็น''' คือการศึกษา[[ความน่าจะเป็น]]แบบ[[คณิตศาสตร์]]
 
[[นักคณิตศาสตร์]]จะมองความน่าจะเป็นว่าเป็นตัวเลขระหว่างศูนย์กับหนึ่ง ที่กำหนดให้กับ "เหตุการณ์" (ความน่าจะเป็นที่เท่ากับ 0 ก็คือไม่มีโอกาสที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 แสดงว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน) ที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ความน่าจะเป็น <math>P(E)</math> ถูกกำหนดให้กับเหตุการณ์ <math>E</math> ตาม[[สัจพจน์ของความน่าจะเป็น]]
 
ความน่าจะเป็นที่[[เหตุการณ์ (ความน่าจะเป็น)|เหตุการณ์]] <math>E</math> จะเกิดขึ้น เมื่อ ''กำหนด'' ให้อีกเหตุการณ์ <math>F</math> เกิดขึ้น เรียกว่า[[ความน่าจะเป็นมีเงื่อนไข]] ของ <math>E</math> เมื่อให้ <math>F</math> โดยค่าความน่าจะเป็นคือ <math>P(E \cap F)/P(F)</math> (เมื่อ <math>P(F)</math> ไม่เป็นศูนย์) ถ้าความน่าจะเป็นมีเงื่อนไขของ <math>E</math> เมื่อให้ <math>F</math> มีค่าเช่นเดียวกับความน่าจะเป็น (แบบไม่มีเงื่อนไข) ของ <math>E</math> เราจะกล่าวว่าเหตุการณ์ <math>E</math> และ <math>F</math> เป็นเหตุการณ์ที่[[การเป็นอิสระต่อกันเชิงสถิติ|เป็นอิสระต่อกันเชิงสถิติ]] เราจะสังเกตได้ว่าความสัมพันธ์นี้เป็นความสัมพันธ์สมมาตร ทั้งนี้เนื่องจากการเป็นอิสระต่อกันนี้เขียนแทนได้เป็น
<math>P(E \cap F) = P(E)P(F)</math>.
 
แนวคิดหลักของทฤษฎีความน่าจะเป็นคือ[[ตัวแปรสุ่ม]]และ[[การแจกแจงความน่าจะเป็น]] โปรดดูบทความหลักสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
 
ทฤษฎีความน่าจะเป็นมีหลายแนวคิด แนวคิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากในสาขา[[ปัญญาประดิษฐ์]] และ[[เศรษฐศาสตร์]]คือ [[ทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==