ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเย็น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''สงครามเย็น''' ({{lang-en|Cold War}} {{lang-ru|Холодная война}}) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลัง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ระหว่างประเทศใน[[กลุ่มตะวันตก]] ([[สหรัฐอเมริกา]] พันธมิตร[[เนโท]] ฯลฯ) และประเทศใน[[กลุ่มตะวันออก]] ([[สหภาพโซเวียต]]และพันธมิตรใน[[สนธิสัญญาวอร์ซอ]])
 
นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ ค.ศ. 1947–1991 สงครามเย็นได้ชื่อว่า "เย็น" เพราะไม่มีการสู้รบขนาดใหญ่โดยตรงระหว่างสองฝ่าย แม้มีสงครามในภูมิภาคสำคัญ ๆ ที่เรียก [[สงครามตัวแทน]] ในประเทศเกาหลี เวียดนามและอัฟกานิสถานซึ่งทั้งสองฝ่ายสนับสนุนก็ตาม สงครามเย็นแบ่งแยกพันธมิตรยามสงครามชั่วคราวเพื่อต่อกรกับ[[นาซีเยอรมนี]] ซึ่งสหภาพโซเวียตรัสเชียและสหรัฐอเมริกาผงาดเป็น[[อภิมหาอำนาจ]]โดยมีข้อแตกต่างทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างลึกล้ำ คือ สหภาพโซเวียตเป็นรัฐ[[ลัทธิมากซ์–เลนิน]]พรรคการเมืองเดียว และสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐทุนนิยมที่มีการเลือกตั้งเสรีโดยทั่วไป กลุ่มเป็นกลางที่ประกาศตนกำเนิดขึ้นด้วย[[ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด]]ซึ่งประเทศอียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซียและยูโกสลาเวียก่อตั้ง กลุ่มแยกนี้ปฏิเสธการสมาคมกับทั้งกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออก สองประเทศมหาอำนาจไม่เคยประจัญในการต่อสู้ด้วยอาวุธเต็มขั้น แต่ต่างฝ่ายต่างสั่งสมอย่างหนักเตรียมรับสงครามโลกนิวเคลียร์แบบสุดตัวที่อาจเกิดขึ้น ต่างฝ่ายมีสิ่งกีดขวางนิวเคลียร์ซึ่งกีดขวางการโจมตีของอีกฝ่าย บนพื้นฐานว่าการโจมตีนั้นจะนำไปสู่การทำลายล้างฝ่ายโจมตีอย่างสิ้นซาก คือ ลัทธิ[[อำนาจทำลายล้างซึ่งกันและกัน]] นอกเหนือจากการพัฒนาคลังนิวเคลียร์ของสองฝ่าย และการวางกำลังทหารตามแบบแล้ว การต่อสู้เพื่อครองความเป็นใหญ่ยังแสดงออกมาผ่านสงครามตัวแทนทั่วโลก การสงครามจิตวิทยา การโฆษณาชวนเชื่อและจารกรรม และการแข่งขันทางเทคโนโลยี เช่น [[การแข่งขันอวกาศ]][[เยเมนไต้]]
 
== การใช้คำ ==