ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศรีราชา วงศารยางกูร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
| footnotes =
}}
'''ศาสตราจารย์ ดร.ศรีราชา วงศารยางกูร''' (สกุลเดิม เจริญพานิช) ประธาน[[ผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย]]<ref>http://www.thairath.co.th/content/490283</ref> อดีตสมาชิก[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550]] และอดีตรองอธิการบดี[[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] (มสธ.)
 
== การศึกษา ==
ศาสตราจารย์ ศรีราชา วงศารยางกูร หรือ ศ.ดร.ศรีราชา วงศารยางกูร สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] ระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จาก[[คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และนิติศาสตรบัณฑิต จาก[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] จากนั้นจึงได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกจนสำเร็จการศึกษา ด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยทูเลน [[ประเทศสหรัฐอเมริกา]]
 
== การทำงาน ==
.ดร.ศรีราชา วงศารยางกูร เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ตรี ประจำ[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2514]] เป็นหัวหน้าภาควิชากฎหมายพาณิชย์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2521 - 2522 ต่อมาจึงได้มารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เทียบเท่าคณบดี) ในปี พ.ศ. 2523 และเป็นรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 - 2530 และปี พ.ศ. 2545 - 2549
 
นอกจากงานสอนในมหาวิทยาลัยแล้ว ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายตำแหน่ง อาทิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ กรรมการกฤษฎีกา กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา อนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2550]] ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการยกร่างฯ จนกระทั่งในเมื่อวันที่ [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2553]] จึงได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น '''ผู้ตรวจการแผ่นดิน''' และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
 
== การได้รับพระราชทานนามสกุล ==