ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปอยส่างลอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
Student4701052 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 64:
 
บัดนี้ขวัญเจ้าก็มาอยู่กับเจ้ากับจอม ตั้งแต่วันนี้ปายหน้าเจ้าจะได้เป็นลูกศิษย์พระพุทธองค์ตนสะอาด จะเป็นลูกศิษย์พระภาคองค์บรมศาสดา ตั้งแต่นี้คืนหลัง เจ้าเคยนุ่งกางเกงและสวมเสื้อ ตั้งแต่นี้ไปหน้าเจ้าจะไม่มีใจ๋ใฝ่อ้อกางเกงและเสื้อที่เจ้าเคยสวมมา ขอหื้อใฝ่ใจผ้าของพระพุทธาที่ท่านบัญญัติเอาไว้ก๋ารบวชนี้ไซร้ ก็บ่ใช้ของง่ายเนอนาย กันได้บวชแล้วก็ขอหื้อคิดไปหลายๆบ่ใช่ของง่ายอย่างใด จะอธิบายอย่างสังเขปไปหน้า อันหมูเฮาเจ้าข้า ได้บวชได้พบก็เป็นการอันยาก กันพระสิทธัตถะท่านบ่ออกบวช เฮาก็บ่พบศาสดา พระสิทธัตถะออกบวชชียาจะได้พระธรรม อันเป็นคสามจริงจะได้ตรัสรู้ก็เป็นอันยาก รู้แล้วจะเอาพระธรรมเผยแผ่ก็ยาก พอพระพุทธเจ้าได้ดับขันธ์ปรินิพพานไป กันพระสงฆ์เจ้าบ่ช่วยกันนำเอาศาสนามาเผยแพร่ เฮาก็บ่ได้ทันฮู้ได้หัน ตลอดถึงพระสงฆ์เจ้าในปัจจุบัน ครูบาจารย์ช่วยแนะนำสั่งสอนเจ้า มีแต่พระสงฆ์เจ้าสืบศาสนากันบิดามารดาบ่เอาใจใส่ เจ้าบ่ได้ใหญ่มาเป็นคน บ่ได้บวชในพระศาสนาพระทัสสะพลต๋นผ่านเผ้า เจ้าครบบริบูรณ์แล้วทุกอย่างพันอัน เมื่อเจ้าอยากได้อย่างนี้ หื้อเจ้าคิดขวดรู้เข้าใจหันขอหื้อศึกษาเล่าเรียนธรรมพ่ำเพ็งอย่าขาด อย่าได้ประมาทสมที่เจ้าได้บวชยากนักหนา ส่วนศีลข้อใดๆบ่จำต้องบอก ท่านก็ได้เรียนมาแล้วตลอดรู้แล้วรู้รอดเหมือกนกันหื้อพ่ำเพ็งศีลธรรมไปไจ้ๆ แหล่จะได้โผดพ่อแม่วงศา โผดญาติกาและศรัทธาการบวชในพระศาสนาขอหื้อเป็นบุญกุศลกับท่านหื้อมีแสงสว่างต่อศีลธรรม พุทธศาสนาจะดีงามรุ่งเรืองไปปายหน้านับว่าบ่เสียเวลา ที่ท่านเกิดมาในโลกหย้าพบ พระพุทธศาสนาที่ผู้ข้าได้พรรณนาโวหารมานี้สมควรแก่เวลา ผู้ข้าบ่ใช่เทศนาสั่งสอนเจ้า เพียงแต่เตือนสติกันพ่อง พอรู้เรื่องถ้อยทางพระพุทธศาสนาเป็นการวิเศษประวรบัดนี้จะขอหื้อพร หื้อเจ้าตั้งแต่วันนี้ไปหน้าเล้า หื้อท่านผาศะจากเสียงสัพพะทุกขะ สัพพะโรคา สัพพะอุบาวท์ สพพะภัยยะกังวล อันตราย เป็นต้นว่า เคราะห์ปี เคราะห์เดือน เคราะห์วัน เคราะห์หลับ เมื่อตื่น เมื่อยืน เมือเตียว เมื่อเคียวเมื่อกิ๋น จุ่งระงับกลับกลายไปเป็นดั่งอุทั่ง ไหลกลิ้งกลาดตกจากใบบัวใบหมอ ขอประกอบไปด้วยอายุปี อายุเดือน อายุยาม โชคปี โชคเดือน โชควัน โชคยามไปไจ้ๆ หื้ออยู่ค้ำชูศาสนาองค์พระสะหลีสัพพัญญูพะพุทธเจ้า ตนประเสริฐแล้วแจ้ว ไปตราบเลี้ยงจิระกาลนานนักนั้นเน้อ จุ่งจักมีเที่ยงแท้ดีหลีฯ (แล้วว่าสัพพี..............ต่อจนจบ)<ref>นายทวี ดวงฟู (ปู่ละ)</ref>
 
 
 
เส้น 85 ⟶ 84:
ต่อไปจงตั้งใจเรียนพระกรรมมัฏฐาน ตามแบบโบราณาจารย์แต่ปางก่อนที่ได้สอนกันสืบ ๆ มาเป็นอุบาย สำหรับจะทำสมาธิให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นที่ตั้งของปัญญาต่อไป จงศึกษาไปตามแบบบาลีดังนี้ก่อน เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ นี้เรียก่าอนุโลมคือว่าไปตามลำดับแล้วถอยกลับเข้ามาเป็นปฏิโลม ว่า ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ฯ จงศึกษาให้รู้เนื้อความ เกสา คือสิ่งที่เป็นเส้น ๆ งอกขึ้นศีรษะเบื้องหน้าเพียงหน้าผาก เบื้องท้ายเพียงปลายคอต่อ เบื้องขวามีหมวกหูทั้งสองข้างเป็นที่สุดได้แก่ผม ฯ โลมาคือสิ่งที่เป็นเส้น ๆ ยกเกสาเสีย งอกขึ้นทั่วสรรพางค์กาย ยกเว้นฝ่ามือ ฝ่าเท้าได้แก่ ขน ฯ นขา คือสิ่งที่เป็นเกล็ดเกล็ด งอกขึ้นตามปลายมือปลายเท้าครบทุกแห่ง ได้แก่เล็ก ฯ ทันตา คือกระดูกที่เป็นซีก ๆ งอกขึ้นที่คางเบื้องล่างเบื้องบน สำหรับบดเคี้ยวอาหาร ได้แก่ฟัน ฯ ตะโจ คือสิ่งที่หุ้มอยู่ทั่วตัวได้แก่หนัง ฯ เมื่อรู้จักสิ่งที่ ๕ อย่างนี้แล้ว พิจารณาอย่างไร จึงจะเป้นพระกัมมัฏฐาน ถ้าพิจารณาว่า เป็นของดีของงามน่ารักใคร่พึงใจ ก็ไม่เป็นพระกัมมัฏฐาน เพราะการพิจารณาเช่นนั้น
เป็นเหตุที่จะทำความกำหนัดยินดี ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นเป็นปัจจัยที่จะยั่วยวนกิเลสเช่นนั้นก็เกิดขึ้นแล้วแก่กล้ามากขึ้นต่อเมื่อพิจารณาว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม ไม่น่ารักใคร่พึงใจเป็นของโสโครก ปฏกูลตามที่เป็จริงอย่างไรนั่นแหละเป็นพระกัมมัฏฐาน เพราะการพิจารณาเช่นนั้นเป็นเหตุที่จะห้ามความกำหนัดยินดี ซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เป็อุบายที่จะปราบปราบกิเลสเช่นนั้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วให้สงบน้อยถอยเบาบางลงไปจากสันดานทั้งจะเป็นปทัฏฐานเหตุที่ตั้งให้เกิดปัญญาความรู้จริงเห็นจริงว่าผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กับร่างกายชีวิตจิตใจอันนี้ ก็เป็นแต่สักว่าธาตุอันหนึ่งๆมาประชุมรวมเข้ากัน ล้วนเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนคงที่อยู่เสมอเป็นทุกข์มีความเสื่อมสิ้น พิบัติแปรปรวนไปตามธรรมดาและเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด มิใช่ตัวตนมิใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนแก่นสารคนเรา เมื่อปัญญาความรู้จริงเห็นเกิดขึ้นแล้ว ก็จะละวางอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นเสียได้ เมื่ออุปทานไม่มีแล้วจิตก็พ้นจากอาสวะกิเลส เป็นอันได้บรรลุถึงธรรมพิเศษ คือนฤพาน ซึ่งเป็นธรรมชาติดับกกิเลสและกองทุกข์ อันเป็นผลที่สุดในพระธรรมะวินัย เหตุฉะนั้น(ตัวเจ้า)จงตั้งใจมุ่งต่อพระนฤพานดังเช่นว่าขอบรรพชาอุปสมบทต่อไปฯ<ref>นายทวี ดวงฟู (ปู่ละ)</ref>