ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แผนลับ 20 กรกฎาคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
→‎เบื้องหลัง: +แทนที่ "ไลป์ซิจ" → "ไลพ์ซิจ" ด้วยสจห.
บรรทัด 22:
 
== เบื้องหลัง ==
นับแต่ ค.ศ. 1938 เป็นต้นมา มีกลุ่มคบคิดหลายกลุ่มวางแผนโค่นรัฐบาลนาซีแล้วในกองทัพบกเยอรมัน และองค์การข่าวกรองทหารเยอรมนี (อับเวร์) ผู้นำแผนคบคิดในช่วงแรกรวมไปถึงพลตรี [[ฮันส์ โอสเตอร์]], พลเอก [[ลุดวิจ เบค]] และจอมพล [[แอร์วิน ฟอน วิทซ์เลเบิน]] โอสเตอร์เป็นรองหัวหน้าสำนักงานข่าวกรองทหาร เบคเป็นอดีตเสนาธิการ[[กองบัญชาการสูงสุดกองทัพบกเยอรมัน]] (Oberkommando des Heeres) ฟอน วิทเซลเบินเป็นอดีดผู้บัญชาการกองทัพที่ 1 แห่งเยอรมนี และอดีตผู้บัญชาการสูงสุดของกองบัญชาการกองทัพเยอรมันด้านตะวันตก (Oberbefehlshaber West, OB West) จากนั้น พวกเขาได้ติดต่อกับพลเรือนที่โดดเด่นหลายคน รวมถึง[[คาร์ล ฟรีดริช เกอร์เดแลร์]] อดีตนายกเทศมนตรีเมืองไลป์ซิจ[[ไลพ์ซิจ]] และ [[เฮลมุท เจมส์ กรัฟ ฟอน มอลท์เคอ]]ของวีรบุรุษ[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]]
 
กลุ่มคบคิดทางทหารหลายกลุ่มแลกเปลี่ยนแนวคิดกับกลุ่มกู้ชาติพลเรือน นักการเมืองและปัญญาชนในไครเซาแอร์ ไครส์ (ซึ่งประชุมกันที่คฤหาสน์ฟอน มอลท์เคอในไครเซา) และในวงลับอื่น ๆ มอลท์เคอคัดค้านการสังหารฮิตเลอร์ เขาต้องการให้นำตัวฮิตเลอร์มาพิจารณาคดีในศาล มอลท์เคอกล่าวว่า "เราล้วนเป็นมือสมัครเล่น และจะทำพลาด" มอลท์เคอยังเชื่อว่าการฆ่าฮิตเลอร์เป็นการเสแสร้ง ฮิตเลอร์และลัทธิชาติสังคมนิยมเปลี่ยน "การกระทำผิด" เข้าสู่ระบบ อันเป็นสิ่งที่ขบวนการก้ชาติพึงเลี่ยง<ref>Kutrz, Harold, ''July Plot'' in Taylor 1974, p. 224.</ref>
 
มีการพัฒนาแผนจัดการโค่นอำนาจและป้องกันฮิตเลอร์มิให้เปิดฉากสงครามโลกครั้งใหม่ใน ค.ศ. 1938 และ 1939 แต่ยกเลิกไป เพราะพลเอก ฟรันซ์ ฮัลเดอร์ และพลเอก [[วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์|ฟอน เบราชิทช์]]ปฏิเสธอย่างเด็ดขาด และชาติตะวันตกไม่สามารถยับยั้งการแผ่อำนาจของฮิตเลอร์กระทั่ง ค.ศ. 1939 กลุ่มต่อต้านทหารกลุ่มแรกชะลอแผนของตนหลังฮิตเลอร์ได้รับความนิยมอย่างยิ่งหลังความสำเร็จอย่างรวดเร็วไม่คาดฝันใน[[ยุทธการที่ฝรั่งเศส]]
บรรทัด 30:
ในปี ค.ศ. 1942 มีการตั้งกลุ่มสมคบใหม่ขึ้น นำโดยพันเอก เฮนนิง ฟอน เทรสคอว์ สมาชิกเสนาธิการของจอมพล[[เฟดอร์ ฟอน บอค]] ผู้บังคับบัญชากองทัพกลุ่มกลางใน[[ปฏิบัติการบาร์บารอสซา]] เทรสคอว์สรรหาผู้ต่อต้านเข้าสู่เสนาธิการของกลุ่มอย่างเป็นระบบ ทำให้เป็นศูนย์กลางของกลุ่มต่อต้านในกองทัพบก กลุ่มไม่สามารถทำอะไรฮิตเลอร์ได้มากนักเพราะมีการคุ้มกันอย่างแน่นหนา และไม่มีผู้ก่อการคนใดเข้าใกล้ตัวฮิตเลอร์ได้มากพอ<ref name=p226>Kutrz, Harold, ''July Plot'' in Taylor 1974, p. 226.</ref>
กระนั้น ระหว่าง ค.ศ. 1942 พลเอก โอสเตอร์ และพันเอก เทรสคอว์สามารถสร้างเครือข่ายต่อต้านอันมีประสิทธิภาพได้อีกครั้ง สมาชิกสำคัญที่สุดของพวกเขา คือ นายพล[[ฟรีดริช ออลบริชท์]] ซึ่งอยู่ประจำ[[กองบัญชาการสูงสุดกองทัพบกเยอรมัน]] กลางกรุง[[เบอร์ลิน]] ซึ่งควบคุมระบบการสื่อสารอิสระต่อหน่วยกองหนุนทั่วประเทศเยอรมนี ความเชื่อมโยงนี้กับกลุ่มต่อต้านของเทรสคอว์ในกองทัพกลุ่มกลางสร้างกลไกรัฐประหารที่ใช้การได้ขึ้น<ref>Joachim Fest, ''Plotting Hitler's Death'', p188</ref>
 
ปลายปี ค.ศ. 1942 พันเอกเทรสคอว์ และนายพลออลบริชท์คิดแผนการลอบสังหารฮิตเลอร์ และจัดการโค่นอำนาจระหว่างที่ฮิตเลอร์เยือสำนักงานใหญ่กองบัญชาการกองทัพบกกลุ่มกลางที่[[สโมเลนสก์]] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1943 โดยวางระเบิดบนเครื่องบินของเขา แต่ระเบิดไม่ทำงาน และความพยายามหนที่สองในสัปดาห์ต่อมา ระหว่างที่ฮิตเลอร์กำลังตรวจอาวุธของโซเวียตที่ถูกยึดในกรุงเบอร์ลินก็ไม่ประสบผลเช่นกัน ความผิดพลาดเหล่าทำให้กลุ่มผู้คบคิดเสียกำลังใจ ระหว่าง ค.ศ. 1943 เทรสคอว์พยายามอย่างไร้ผลในการสรรหาผู้บัญชาการสนามอาวุโสของกองทัพบก เช่น จอมพล [[แอริช ฟอน มันชไตน์]] และจอมพล [[แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์]] เพื่อช่วยยึดอำนาจ เทรสคอว์เจาะจงทุ่มเทกับผู้บัญชาการกองทัพบกกลุ่มกลางของเขา จอมพล [[กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ]]เพื่อเกลียกล่อมให้เขาเคลื่อนไหวต่อต้านฮิตเลอร์ ซึ่งบางครั้งก็ได้รับความยินยอมจากเขาสำเร็จ ทว่าเขากลับไม่เด็ดขาดในนาทีสุดท้าย<ref>Fabian von Schlabrendorff, ''They Almost Killed Hitler'', p39</ref> แม้จอมพลทั้งหลายจะปฏิเสธ ทว่าไม่มีคนใดรายงานกิจกรรมทรยศต่อเกสตาโพหรือฮิตเลอร์เลย
 
== วางแผนรัฐประหาร ==