ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นพเคราะห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 10:
พระอาทิตย์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางก้าวร้าวรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอาทิตย์ หรือมีพระอาทิตย์สถิตร่วมกับ[[ลัคนา]] มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระ แต่ซื่อสัตย์ ตาม[[นิทานชาติเวร]] พระอาทิตย์เป็นมิตรกับ[[พระพฤหัสบดี]] และเป็นศัตรูกับ[[พระอังคาร]]
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระอาทิตย์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ''๑'' (เลขหนึ่งไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากราชสีห์ 6 ตัวนี้เอง จึงทำให้มีกำลังพระเคราะห์เป็น 6 สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ก็คือ[[ปางถวายเนตร]]
 
== พระจันทร์ ==
บรรทัด 20:
พระจันทร์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางนุ่มนวลอ่อนโยน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันจันทร์ หรือมีพระจันทร์สถิตร่วมกับ[[ลัคนา]] มักมีอารมณ์อ่อนโยน เพ้อฝัน รวนเร (แต่อาจมีเล่ห์เหลี่ยมมาก) ตามนิทานชาติเวร พระจันทร์เป็นมิตรกับ[[พระพุธ]] และเป็นศัตรูกับ[[พระพฤหัสบดี]]
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระจันทร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากนางฟ้า ๑๕ องค์ จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๕ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ก็คือ[[ปางห้ามสมุทร]]
 
== พระอังคาร ==
บรรทัด 29:
พระอังคาร เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรงและเร่าร้อน นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอังคาร หรือมีพระอังคารสถิตร่วมกับ[[ลัคนา]] มักมีอารมณ์มุทะลุ ตึงตัง ชอบใช้กำลัง ใจร้อน ตามนิทานชาติเวร พระอังคารเป็นมิตรกับ[[พระศุกร์]] และเป็นศัตรูกับ[[พระอาทิตย์]]
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระอังคารถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากมหิงสา ๘ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๘ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอังคารก็คือ[[ปางไสยาสน์]]และภายหลังมี[[ปางลีลา]]เพิ่มอีกหนึ่งปาง
 
== พระพุธ ==
บรรทัด 38:
พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพุธ หรือมีพระพุธสถิตร่วมกับ[[ลัคนา]] มักชอบพูดชอบเจรจา สุขุมรอบคอบ แต่ตื่นกลัวง่าย ตามนิทานชาติเวร พระพุธเป็นมิตรกับพระจันทร์ และเป็นศัตรูกับพระราหู
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระพุธถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคชสาร ๑๗ เชือก จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๗ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพุธก็คือ[[ปางอุ้มบาตร]]
 
== พระพฤหัสบดี ==
บรรทัด 57:
พระศุกร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลในทางอ่อนหวาน แต่ค่อนข้างไปทางใฝ่ต่ำ นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันศุกร์หรือมีพระศุกร์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีกิริยาน่ารัก อ่อนหวาน ชอบงานศิลปะทุกประเภท ตามนิทานชาติเวร พระศุกร์เป็นมิตรกับ[[พระอังคาร]]และเป็นศัตรูกับ[[พระเสาร์]]
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระศุกร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากคาวี ๒๑ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๒๑ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันศุกร์ก็คือ[[ปางรำพึง]]
 
== พระเสาร์ ==
บรรทัด 66:
พระเสาร์เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันเสาร์หรือมีพระเสาร์สถิตร่วมกับ[[ลัคนา]] มักมีกิริยาดุดัน แข็งแรง กล้าได้กล้าเสีย บุคลิกเคร่งขรึม ตามนิทานชาติเวร พระเสาร์เป็นมิตรกับ[[พระราหู]]และเป็นศัตรูกับ[[พระศุกร์]]
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระเสาร์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากพยัคฆ์ ๑๐ ตัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๐ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์ก็คือ[[ปางนาคปรก]]
 
== พระราหู ==
บรรทัด 86:
จากนั้นเมื่อครั้งใดที่พระราหูได้พบเจอพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ พระราหูก็จะจับมากลืนกินด้วยความโกรธแค้นที่เทวดาทั้งสององค์นำเรื่องไปทูลพระนารายณ์ แต่อมไว้ในปากได้ไม่นานก็ต้องคายออกมาเพราะทนความร้อนและรัศมีของเทวดานพเคราะห์ทั้งสองไม่ได้ เกิดเป็นเหตุของปรากฏการณ์[[สุริยุปราคา]]และ[[จันทรุปราคา]]ตามคติความเชื่อของคนโบราณ
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระราหูถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากหัวกะโหลก ๑๒ หัว จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๒
 
== พระเกตุ ==
บรรทัด 93:
'''พระเกตุ''' ([[อักษรเทวนาครี|เทวนาครี]]: केतु) เป็น'''เทวดานพเคราะห์'''องค์หนึ่ง ในคติไทย พระเกตุถูกสร้างจากหางของ[[พระราหู]] เนื่องจากพระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตที่เทวดาได้กวนไว้ดื่ม [[พระอินทร์]]โกรธจึงขว้างจักรตัดเอวพระราหู เดชะฤทธิ์[[น้ำอมฤต]] พระราหูจึงไม่ตาย และกลับไปยังวิมานเดิม หางที่ขาดนั้นเองก็กลายเป็นพระเกตุ ประจำในทิศท่ามกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ในการพยากรณ์ จึงไม่นิยมพิจารณาพระเกตุมากนัก
 
ในโหราศาสตร์ไทย พระเกตุถูกแทนด้วยสัญลักษณ์
 
== ดูเพิ่ม ==