ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
 
'''ท่าอากาศยานแม่สอด''' หรือ สนามบินแม่สอด ({{lang-en|Mae Sot Airport}}) ตั้งอยู่ที่ [[อำเภอแม่สอด]] [[จังหวัดตาก]]
ท่าอากาศยานแม่สอด เดิมเป็นท่าอากาศยานเล็ก ๆ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ[[ประเทศไทย]] สร้างขึ้นมาหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดิมเป็นสนามบิน ที่ใช้ในกิจการทหารอยู่ในความดูแลของ[[กองทัพอากาศ]] ในปี 2473 ดำเนินการเป็นรัฐพาณิชย์ กองการบินพลเรือน [[กระทรวงพาณิชย์]] ในระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] ได้ใช้สนามบินแห่งนี้เป็นหน่วยบินในการปฏิบัติการ ทางอากาศ โจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรใน[[ประเทศพม่า]] เมื่อ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] สงบลงในปี พ.ศ. 2489 กองทัพอากาศ ได้ริเริ่มดำเนินการบินขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2503-2504 สำนักงานการบินพลเรือนได้เห็นความสำคัญในการขนส่ง ทางอากาศ ขณะนั้นจึงได้ปรับปรุงสภาพสนามบิน และทำการสร้างอาคารท่าอากาศยานและหอบังคับการบินซึงใน ช่วงเวลาดัวกล่าวนี้บริษัท[[เดินอากาศไทย]]ได้นำเครื่อง DC-3 หรือ DAGOTA มาใช้บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร สินค้า และพัสดุภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2506 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง ได้รับการยกฐานะเป็นกรม ชื่อว่ากรมการบินพาณิชย์ ในระหว่างนี้ท่าอากาศยานแม่สอดก็ได้เปิดให้บริการเรื่อยมา จนกระทั่ง พ.ศ. 2513 บริษัทเดินอากาศไทย จึงได้ทำการงดบินในปี พ.ศ. 2513 นี้เองกรมการบินพาณิชย์ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงท่าอากาศยานแม่สอด อีกครั้งเพื่อให้เป็นมาตรฐาน คือได้มีการสร้างทางวิ่งใหม่ กำหนดทางวิ่ง 09 และ 27 พื้นผิวลาดยางแอสฟัลส์ ขนาด 30*x1500 เมตร สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2515 และสร้างหอควบคุมจราจรทางอากาศ ขึ้นใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 และได้เปิดให้บริการกับสายสายการบินและผู้โดยสารเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในการกำกับดูแลของ[[กรมท่าอากาศยาน]] [[กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)|กระทรวงคมนาคม]]<ref>[https://minisite.aviation.go.th/ รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน]</ref>
 
ปัจจุบันกำลังดำเนินการปรับปรุงขยายทางวิ่ง (รันเวย์) ให้มีความยาวมากขึ้น จากเดิม 1,500 เมตร เป็น 2,100 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาด[[โบอิง 737]] และ[[แอร์บัส เอ320]] และขยายพื้นที่จอดเครื่องบิน ให้สามารถจอดเครื่องบินขนาดดังกล่าวได้ 3 ลำในเวลาเดียวกัน รวมถึงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562<ref>[https://www.airports.go.th/th/content/328/505.html โครงการปรับปรุงขยายท่าอากาศยานแม่สอด]</ref> ทั้งนี้สายการบิน[[ไทยแอร์เอเชีย]]ได้แสดงท่าทีว่าพร้อมเปิดเส้นทางบินมายังท่าอากาศยานแม่สอดทันทีที่รันเวย์มีขนาดรองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ของตน<ref name="airasiaMaeSot">{{Cite web|url=http://www.krobkruakao.com/economy/58580 |title=ไทยแอร์เอเชียจี้รัฐขยายสนามบินเมืองรอง |work=[[ครอบครัวข่าว 3]] |date=12 ธันวาคม 2560|accessdate=21 ธันวาคม 2560}}</ref>