ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาปัตยกรรมบารอก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link GA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
ใช้คำว่าคณะ คือเป็นกลุ่ม หรือหน่วยงานในศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก ไม่ใช่คำว่าลัทธิ
บรรทัด 7:
ขณะที่[[สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา|สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์]]จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อ[[นิกายโปรเตสแตนต์|การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์]]ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบัน[[นิกายโรมันคาทอลิก|คาทอลิก]]ต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง
 
[[การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์]] ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1545 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1563 เป็นเหตุการณ์ที่ถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ “[[การปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก]]” ฉะนั้นสถาปัตยกรรมแบบบาโรกจึงนอกจากจะเป็นการแสดงออกทางอารมณ์แล้วยังเป็นการแสดงความมั่งคั่งและความมีอำนาจของสถาบันศาสนานิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย นอกจากนั้นสถาปัตยกรรมแบบบาโรกยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มความเชื่อถือและความศรัทธาในศาสนาโดย ลัทธิคณะเธียไทน์ (Theatines) และ ลัทธิคณะเยซูอิด (Jesuits) ซึ่งเป็นลัทธิคณะในนิกายโรมันคาทอลิก จนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปัตยกรรมแบบบาโรกก็เริ่มมาอิทธิพลต่อการก่อสร้างชนิดอื่นเช่นพระราชวังโดยเริ่มที่ประเทศฝรั่งเศส เช่นที่ปราสาทเมซองส์ (Château de Maisons) (ค.ศ. 1642) ใกล้[[ปารีส]] ออกแบบโดย [[ฟรองซัว มองซาร์]] (François Mansart) และเผยแพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป
 
==ที่มาและลักษณะของสถาปัตยกรรมบาโรก==
[[ไฟล์:Trier Kurfuerstliches Palais BW 1.JPG|250px|thumb|วังอีเล็คเตอร์แห่งทริเออร์ในประเทศเยอรมันี]]
สิ่งก่อสร้างแบบ[[โรมัน]]โดย[[ไมเคิล แอนเจโล]]โดยเฉพาะ[[มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์]]ที่กรุง[[โรม]]ถือว่าเป็นที่มาของสถาปัตยกรรมแบบบาโรกเพราะเป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างใหญ่ที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ไม่เคยทำกันมาก่อน [[Giacomo della Porta|จาโคโม เดลลา พอร์ตา]]ผู้เป็นลูกศิษย์ของมีเกลันเจโลใช้ลักษณะเดียวกันนี้ต่อมา โดยเฉพาะด้านหน้าของ[[วัดเจซู]]ของ[[ลัทธิเยซูอิด|คณะเยซูอิด]] ซึ่งเป็นบทนำของหน้า[[Santa Susanna|วัดซานตาซูซานนา]] (Santa Susanna) โดย[[คาร์โล มาเดอร์โน]] ซึ่งถือกันว่าเป็นหน้าวัดที่สำคัญสำหรับสมัยบาโรกตอนต้น พอมาถึง[[คริสต์ศตวรรษที่ 17]] สถาปัตยกรรมแบบบาโรกก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและ[[ลาตินอเมริกา]]โดยนักบวชเยซูอิดที่เดินทางไปเผยแพร่ศาสนา
 
ลักษณะสำคัญๆของสถาปัตยกรรมบาโรกก็ได้แก่
บรรทัด 95:
สถาปัตยกรรมแบบบาโรกทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์หรือในปัจจุบันเป็นประเทศเบลเยียมแตกต่างจากทางบริเวณ[[นิกายโปรเตสแตนต์|โปรเตสแตนต์]]ทางเหนือ หลังจาก “การสงบศึกสิบสองปี” ระหว่างปี ค.ศ. 1609 ถึงปี ค.ศ. 1621 ภาคใต้ของเนเธอร์แลนด์ยังอยู่ในการยึดครองของโรมันคาทอลิกปกครองโดยกษัตริย์สเปน[[ราชวงศ์แฮ็บสเบิร์ก]][[ฟลานเดอร์ส]] สถาปัตยกรรมทางบริเวณนี้เป็นแบบ[[การปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก]] สถาปนิก[[ฟลานเดอร์ส]]เช่นเว็นเซล เคอเบิรกเกอร์ (Wenzel Coebergher) ได้รับการฝึกที่อิตาลีและผลงานก็มีอิทธิพลจาก[[จาโกโม บารอซซี ดา วินยอลา]]และ[[จาโกโม เดลลา พอร์ตา]] (Giacomo della Porta) งานชิ้นสำคัญของเคอเบิรกเกอร์คือมหาวิหารเชิรพเพนฮูเวล (Basilica of Our Lady of Scherpenheuvel-Zichem) ซึ่งเป็นทรงเจ็ดเหลี่ยมออกแบบเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมืองใหม่
 
อิทธิพลของจิตรกร[[ปีเตอร์ พอล รูเบนส์]]ก็มีส่วนสำคัญทางสถาปัตยกรรม ในหนังสือ “I Palazzi di Genova” รูเบนส์นำลักษณะการก่อสร้างและการตกแต่งแบบใหม่ของอิตาลีมายังทางใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ การสร้างลานคอร์ทยาร์ทและซุ้มที่บ้านของรูเบนส์เองที่อันทเวิร์พเป็นตัวอย่างที่ดีของงานทางสถาปัตยกรรมของรูเบนส์ นอกจากนั้นรูเบนส์ยังมีส่วนในการตกแต่งวัดคณะ[[ลัทธิเยซูอิด|เยซูอิด]]ที่เป็นการตกแต่งอย่างอลังการตามแบบบาโรกซึ่งประกอบด้วยรูปปั้นและภาพเขียนที่เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม
 
===อังกฤษ===
บรรทัด 146:
วัดแบบบาโรกวัดแรกใน[[ประเทศฮังการี|ราชอาณาจักรฮังการี]]คือวัดเยซูอิด “Nagyszombat” ที่สร้างโดยเปียโตร สป็อซโซ (Pietro Spozzo) ระหว่างปี ค.ศ. 1629 ถึงปี ค.ศ. 1637 ตามแบบวัดเยซูที่โรมในประเทศอิตาลี พระเยซูอิดมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่การก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานแบบใหม่นี้หลายแห่งเช่นที่ “Győr” (ค.ศ. 1634-ค.ศ. 1641), “Kassa” (ค.ศ. 1671-ค.ศ. 1684), “Eger” (ค.ศ. 1731-ค.ศ. 1733) และ “Székesfehérvár” (ค.ศ. 1745-ค.ศ. 1751) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 หลังจากบ้านเมืองและถูกทำลายอย่างย่อยยับหลังจากการรุกรานของ[[จักรวรรดิอ็อตโตมาน]]ก็ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบบาโรก ผังเมืองที่ยังเป็นแบบบาโรกเต็มตัวก็ยังคงเหลืออยู่บ้างเช่นที่ “Győr”, “Eger”, “Székesfehérvár”, “Veszprém”, “Esztergom” และบริเวณปราสาทของบูดา ปราสาทที่สำคัญที่สุดของฮังการีคือปราสาทบูดา, ปราสาท Grassalkovich และ ปราสาท Esterházy ที่ Fertőd นอกจากนั้นก็ยังมีปราสาทย่อมๆ ของเจ้านายอยู่ทั่วไป
 
บาโรกแบบฮังการีได้รับอิทธิพลจากออสเตรียและอิตาลีเพราะมีสถาปนิกเยอรมนีและอิตาลีมาทำงานอยู่ที่นั่นมาก ลักษณะความนิยมท้องถิ่นคือความเรียบง่าย, ไม่มีการตกแต่งอย่างเกินเลยและผสมลักษณะการตกแต่งแบบท้องถิ่นเข้าไปด้วยโดยเฉพาะงานที่ทำโดยสถาปนิกท้องถิ่น สถาปนิกคนสำคัญๆ ของสมัยบาโรกในฮังการีก็ได้แก่อันดราส เมเยอร์ฮอฟเฟอร์ (András Mayerhoffer), อิกแน็ค โอราเช็ค (Ignác Oraschek) และมาร์ทอน วิทเวอร์ (Márton Wittwer) ฟรันซ์ อันทอน พิลแกรม (Franz Anton Pilgram) ก็มีผลงานในราชอาณาจักรฮังการีเช่นที่สำนักสงฆ์ลัทธิคณะพรีมอนสเตรเทนเชียน “Jászó” พอถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูคลาสสิกก็เข้ามาแทนที่ สถาปนิกคนสำคัญๆ ของสมัยนี้ก็ได้แก่เมนีเฮอรท เฮเฟเล (Menyhért Hefele) และยาคัป เฟลล์เนอร์ (Jakab Fellner)
 
สิ่งก่อสร้างสำคัญสองแห่งใน[[ประเทศโรมาเนีย|โรมาเนีย]]ที่เป็นแบบบาโรกก็ได้แก่วังบรุคเค็นทาลที่เมื่องซิบิยู (Brukenthal Palace, Sibiu) และวังบาทหลวงเดิมที่โอเรเดีย (Oradea) ซึ่งปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์