ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการวัลคือเรอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น||ภาพยนตร์ซึ่งอิงเนื้อหาของแผนการดังกล่าว ในปี ค.ศ. 2008|ดูที่=ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
'''ปฏิบัติการวาลคิรี''' ({{lang-de|Unternehmen Walküre}}) เป็นแผนปฏิบัติการ[[:en:Continuity of government|ความต่อเนื่องของรัฐบาล]]ในวาระฉุกเฉิน ปฏิบัติการนี้ถูกคิดขึ้นโดยกองกำลังรักษาดินแดนเยอรมัน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น กองกำลังสำรอง) ปฏิบัติการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศในกรณีที่เกิดเหตุที่อาจทำให้ระบบรัฐบาลฮิตเลอร์เกิดภาวะสุญญากาศ แผนฉุกเฉินนี้ได้รับการรับรองจาก[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]] ซึ่งฮิตเลอร์ตั้งใจเตรียมพร้อมไว้เพื่อนำมาใช้สถานการณ์ที่เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ที่อาจเกิดขึ้นจากการทิ้งระเบิดของ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]] หรือการลุกฮือขึ้นก่อจลาจลของผู้ใช้แรงงานจากประเทศที่ถูกยึดครองที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเยอรมนี
 
อย่างไรก็ดี นายทหารจากกองทัพบกเยอรมัน คือนายพล[[ฟรีดริช โอลบริคท์]] และพลตรี[[เฮนนิง ฟอน เทรสคอว์]] ได้นำแผนการดังกล่าวมาปรับปรุงและดัดแปลงใหม่ เพื่อที่จะใช้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจควบคุมเยอรมนีทั้งหมด ปลดอาวุธหน่วยเอ็สเอ็ส และจับกุมคณะผู้นำรัฐบาลนาซี โดยตั้งเป้าว่าจะใช้แผนวาลคิรีฉบับใหม่นี้หลังจากที่ฮิตเลอร์ถูกลอบสังหารใน[[แผนลับ 20 กรกฎาคม]]แล้ว ความตายของฮิตเลอร์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การรัฐประหารนี้ประสบความสำเร็จ เพราะความตายของฮิตเลอร์ (มิใช่เพียงถูกจับกุม) ถือเป็นการปลดปล่อยทหารเยอรมันออกจากพันธะภายใต้คำปฏิญาณตนว่าจะจงรักภักดีต่อฮิตเลอร์ และหันมาภักดีต่อคณะรัฐประหารแทน แผนการดังกล่าวได้มีการลงมือในช่วงบ่ายของวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ