ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Maneerut001 (คุย | ส่วนร่วม)
เว้นวรรคเพื่อความสวยงาม
บรรทัด 22:
 
== ประวัติ ==
พ.ศ. 2441 ขุนปรีชานุศาสน์ (ปล้อง ธรรมมารมณ์ธรรมารมณ์) ได้ใช้บ้านของท่านสอนหนังสือให้แก่ลูกหลานและเด็กในละแวกบ้าน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสี่แยกนางพิมในปัจจุบันโดยไม่คิดค่าตอบแทน ประมาณปี พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2441 [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] [[เสนาบดี]][[กระทรวงมหาดไทย]] เสด็จมาตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี ทรงเยี่ยมกิจการสอนหนังสือของนายปล้อง ธรรมารมณ์ มีความพอพระทัยมาก และทรงเห็นว่าสถานที่คับแคบ จึงโปรดให้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นริมถนนสายหน้าที่ว่าการเมือง หลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดบริเวณสี่แยกนางพิม เป็นอาคารทรงปั้นหยาชั้นเดียว มี 3 ห้องเรียน จุนักเรียนห้องละ 10 - 15 คน ได้รับประทานนามว่า "โรงเรียนปรีชาพิทยากร" และทรงขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้นายปล้อง ธรรมมารมณ์ธรรมารมณ์ เป็น "[[ขุนปรีชานุศาสน์]]"
 
พ.ศ. 2446 [[พระยาสุนทรบุรี]] (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการ[[จังหวัดสุพรรณบุรี]] เห็นว่าอาคารเรียนของโรงเรียนมีสภาพเก่าทรุดโทรม และอาณาบริเวรคับแคบ จึงย้ายไปก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ริมถนนพระพันวษา (ที่ตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งรวมโรงเรียนวัดประตูสารเข้ามาด้วย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี"กรรณสูตศึกษาลัย"
 
พ.ศ. 2481 นายฑาทา พิมพันธุ์พิมพ์พันธุ์ ครูใหญ่ เห็นว่าอาคารไม้ที่สร้างมา 20 ปี ทรุดโทรม และบริเวณคับแคบไม่สามารถพัฒนาและขยายพื้นที่ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นได้ จึงติดต่อของบประมาณจาก[[กระทรวงศึกษาธิการ]]จำนวน 15,400 บาท เพื่อจัดซื้อที่ดินริมถนนหมื่นหาญ (ด้านตะวันออกของวัดปราสาททอง) จำนวน 12 ไร่เศษ และติดต่อขอความร่วมมือจากประชาชนร่วมบริจาคอีกจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งได้ก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น มี 3 มุข 18 ห้องเรียน ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนและย้ายนักเรียน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2501 เปิดสอนถึงชั้นเตรียมอุดมศึกษา (ชั้น ม.7 และ ม.8) แผนกวิทยาศาตร์เป็นครั้งแรก มีนักเรียนจำนวน 800 คนเศษ
 
พ.ศ. 2506 นายพิณ โสขุมา ครูใหญ่ เห็นว่าบริเวณสถานที่เดิมคับแคบ จึงเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อปรึกษาหาที่ดินแห่งใหม่ ได้บริเวณวัดร้าง 2 วัด คือ วัดชุมนุมสงฆ์ และ วัดพริก ซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ของกรมการศาสนา มีเนื้อที่ 48 ไร่ 2 งาน ได้รับงบประมาณพิเศษจากกรมสามาญศึกษาสามัญศึกษา เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน 600,000 บาท และขอความร่วมมือจากประชาชนอีกประมาณ 700,000 บาท รวม 1,300,000 บาท เป็นอาคารเรียนแบบ 218 เป็นตึก 2 ชั้น 18 ห้องเรียน ยาว 80 เมตร ใต้ถุนโปร่ง เสร็จเรียบร้อยในวันที่ 30 สิงหาคม 2508 ปรับปรุงสนามกีฬาขนาด 400 เมตร สร้างกองอำนวยกีฬา 1 หลัง สนามบาสเกตบอล อัฒจันทร์เชียร์กีฬา 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2509
 
โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ จนถึงปัจจุบันมีอาคารเรียนถาวร 6 หลัง โรงฝึกงาน 6 หลัง อาคารประกอบ 8 หลัง