ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำเพ็ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
และต่อเนื่องไปถึง[[สะพานหัน]], [[พาหุรัด]]และ[[วังบูรพา]] ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ [[เขตพระนคร]] ทั้งนี้สำเพ็งในปัจจุบัน รู้จักกันดีในชื่ออย่างเป็นทางการว่า '''ซอยวานิช 1''' และในช่วงระหว่างสะพานหันถึง[[ถนนจักรวรรดิ]]เรียกว่า '''ตรอกหัวเม็ด''' <ref name=สาม>{{cite web|url=http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2009/03/D7656996/D7656996.html|title="เที่ยวไปกินไป @ สะพานหัน"|author= laser|date=2009-03-23|accessdate=2018-01-21|work=[[พันทิปดอตคอม]]}}</ref>
 
สำเพ็งเริ่มต้นจากที่[[รัชกาลที่ 1พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนาสร้าง[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ขึ้นที่ฝั่งขวาของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนที่[[กรุงธนบุรี]] ในปี พ.ศ 2325 โดยมี[[พระบรมมหาราชวัง]]ตั้งขึ้นในพื้นที่ ๆ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีน และโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม ([[วัดจักรวรรดิราชาวาส]]) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง<ref name=สามเพ็ง/>
 
ที่มาของชื่อ "สำเพ็ง" นั้นไม่มีใครทราบว่ามีความหมายว่ากระไร หรือมาจากคำว่าอะไร ได้มีผู้สันนิษฐานไปต่าง ๆ นานา บ้างก็ว่ามาจากคำว่า "[[ทางแยก|สามแพร่ง]]" หรือมา[[ภาษาแต้จิ๋ว|คำจีนแต้จิ๋ว]]คำว่า "สามเผง" แปลว่า "ศานติทั้งสาม" ซึ่งก็ไม่มีใครทราบความหมายหรือคำแปล หรือบ้างก็ว่ามาจากคำว่า "สามปลื้ม" ก็มี
บรรทัด 16:
จนครั้งหนึ่งคำว่า "อีสำเพ็ง" กลายเป็นคำด่าผู้หญิงที่หมายถึง โสเภณี <ref>{{cite web|url=https://www.thairath.co.th/content/60575|title=ปริศนานาม..สำเพ็ง|date=2010-01-24|accessdate=2018-01-21|author=บาราย|work=[[ไทยรัฐ]]}}</ref>
 
ในรัชสมัย[[รัชกาลที่ 3พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] กิจการค้าของชาวจีนที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านสำเพ็งเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อการค้ากับสยามประเทศ เรียกขานย่านสำเพ็งว่า "ตลาดจีน" หรือ "Chinese Bazaar" ในบันทึกของ[[มิชชั่นนารี]]ที่ได้เข้ามาเยี่ยมดูย่านสำเพ็งในปี พ.ศ. 2378 ระบุความไว้ตอนหนึ่งว่า
 
{{คำพูด|ตลาดทั้งหมดดูแล้วน่าจะเรียกว่า "เมืองการค้า" (trading town) มากกว่า ที่นี่มีร้านค้ามากมายหลากหลาย ตั้งอยู่บนสองฝั่งฟากถนนยาวราว 2 ไมล์ แต่ด้วยเหตุที่ร้านค้าต่าง ๆ ตั้งอยู่ปะปนกัน เดินเพียงไม่กี่หลาก็สามารถหาซื้อสินค้าประเภทต่างๆ ได้ครบตามที่ต้องการ}}<ref name=สามเพ็ง>{{cite web|url=http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=814|work=นิตยสารผู้จัดการ|title=ลัดเลาะเยาวราช ศึกษาตำนานการค้าที่ทรงวาดกับปูนซิเมนต์ไทย |first=สมศักดิ์|last=ดำรงสุนทรชัย|date=January 2001}}</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สำเพ็ง"