ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนบำรุงเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:Phram Giant Swing.JPG|thumb|250px|ถนนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า]]
'''ถนนบำรุงเมือง''' ({{lang-roman|Thanon Bamrung Mueang}}) ตั้งต้นจาก[[ถนนอัษฎางค์]]ที่[[สี่แยกแยกสะพานช้างโรงสี]] ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับ[[ถนนเฟื่องนคร]]และ[[ถนนตะนาว]] และเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือและแขวงเสาชิงช้าไปจนถึง[[เสาชิงช้า]] จากนั้นตัดกับ[[ถนนอุณากรรณ์]]เข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับ[[ถนนมหาไชย]] ([[สี่แยกแยกสำราญราษฎร์]]) ข้าม[[คลองรอบกรุง]] (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร [[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] ตัดกับ[[ถนนบริพัตร]] (สี่แยกแยกเมรุปูน) ตัดกับ[[ถนนวรจักร]]และ[[ถนนจักรพรรดิพงษ์]] (สี่แยกแยกแม้นศรี) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ผ่านสามแยกที่ตัดกับถนนยุคล 2 (สาม[[แยกยุคล 2]]) และสามแยกที่ตัดกับถนนพลับพลาไชย (สามแยกแยกอนามัย) ไปจนถึง[[ถนนกรุงเกษม]] (สี่แยกแยกกษัตริย์ศึก) โดยมีถนนที่ต่อเนื่องไปคือ[[ถนนพระรามที่ 1]]
 
ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[ถนนเจริญกรุง]]ซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของ[[ชาวไทย]]และ[[ชาวยุโรป]] ใน [[พ.ศ. 2406]] รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มี[[ท่อระบายน้ำ]]และไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก<ref> อรณี แน่นหนา (2545). ''นามนี้มีที่มา''. กรุงเทพ: ประพันธ์สาส์น. หน้า. 45–46. ISBN 9789742308483.</ref> ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ [[สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส|จีน-โปรตุเกส]] มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ [[อาเขด (สถาปัตยกรรม)|อาเขด]]