ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนบำรุงเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[ถนนเจริญกรุง]]ซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของ[[ชาวไทย]]และ[[ชาวยุโรป]] ใน [[พ.ศ. 2406]] รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มี[[ท่อระบายน้ำ]]และไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก<ref> อรณี แน่นหนา (2545). ''นามนี้มีที่มา''. กรุงเทพ: ประพันธ์สาส์น. หน้า. 45–46. ISBN 9789742308483.</ref> ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ [[สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส|จีน-โปรตุเกส]] มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ [[อาเขด (สถาปัตยกรรม)|อาเขด]]
 
ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ช่วงบริเวณ[[แยกเสาชิงช้า]]หรือจนถึง[[สี่กั๊กเสาชิงช้า]] จะเป็นถนนที่ไม่มี[[บาทวิถี]] หรือฟุตบาท เหมือนเช่นถนนอื่น ๆ ทั่วไป อันเนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนน รู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไป จึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนน และทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้หมด จึงทำให้ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้ไม่มีบาทวิถี เพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ต่อมาภายหลังก็ได้มีการซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้เหมือนอย่างแต่ก่อน<ref>{{cite web|url=http://samranrat.metro.police.go.th/history.htm|title=ประวัติ|work=สถานีตำรวจนครบาลสำราษราฎร์}}</ref> <ref>{{cite web|url=http://www.sanfah.com/portfolio/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3-season-1-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87|work=[[พินิจนคร]]|date=2009-02-23|title=สามแพร่ง...ทางแยกแห่งทวิภพ}}</ref>
 
==อ้างอิง==