ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 186:
* นาฏดุริยางค์ ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. 2312 ทรงนำตัวละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชเข้ามาเป็นครูฝึกหัดร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมได้จากที่อื่น แล้วจัดตั้งเป็นละครหลวงของกรุงธนบุรี โดยยึดแบบฉบับการฝึกละครของกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง[[รามเกียรติ์]] เพื่อให้คณะละครหลวงได้นำไปฝึกหัดออกแสดงด้วย<ref name="วรรณคดีไทย"/> ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่เพื่อสร้างบรรยากาศให้รื่นเริงครึกครื้นเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนทั่วไปเปิดการฝึกสอนและออกโรงเล่นได้อิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็นเครื่องต้น เครื่องทรงก็แต่งกันได้ตามลักษณะเรื่อง ส่งผลให้ศิลปะการละครของไทยซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมากตอนปลายอยุธยากลับฟื้นตัวขึ้นใหม่
* ศิลปการช่าง ภาพเขียนที่งดงามประณีตในสมัยธนบุรีที่สำคัญยิ่ง คือ "สมุดภาพไตรภูมิ" เป็นภาพเขียนที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2319 ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมุดภาพไตรภูมิขนาดใหญ่เล่มหนึ่งของไทย เมื่อคลี่ออกจะมีความยาวถึง 34.72 เมตร เขียนด้วยสีลงในสมุดทั้ง 2 ด้าน โดยฝีมือช่างเขียน 4 คน ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ ณ [[หอสมุดแห่งชาติ]] ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ<ref>[http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Namon_Phongsakornpaphas/Illustration.pdf สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรีเลม 1-2]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}</ref>
* งานฝีมือช่าง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเล็งเห็นว่า ช่างไทยสมัยธนบุรีมีเหลืออยู่น้อยมากจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมและฟื้นฟูการ[[ช่างสิบหมู่]]ขึ้นใหม่ แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงคราม สิ่งของที่เป็นฝีมือช่างชั้นดีประณีตงดงามในสมัยกรุงธนบุรีจึงหาได้ยาก แต่ที่มีให้เห็นอยู่บ้าง ได้แก่ พระแท่นบรรทมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทาราม พระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารเล็กหน้าพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ตู้ลายรดน้ำที่มีศักราชแจ้งชัดว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี อยู่ใน[[หอพระสมุดวชิรญาณ]] ภายใน[[หอสมุดแห่งชาติ]] [[ท่าวาสุกรี]] กรุงเทพฯ และท้องพระโรงพระราชวังเดิม ซึ่งเคยเป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการ ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกองทัพเรือ<ref>[http://www.changsipmu.com/thaiart_p05.html กรมช่างสิบหมู่] changsipmu.com (ลิงค์ลิงก์เสีย)</ref>
 
== พระราชนิพนธ์ ==