ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 141:
{{คำพูด|''บรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะมีรับสั่งด้วยแล้วจะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น''}}
 
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปกครองบ้านเมืองคล้ายคลึงกับพระราโชบายของ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]] คือ แบบพ่อปกครองลูก{{อ้างอิง}} เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่ไม่ถือพระองค์{{อ้างอิง}} มักปรากฏพระวรกายให้พสกนิกรเห็น และมักถามสารทุกข์สุขดิบของพนกนิกรทั่วไป ทรงหาวิธีให้ไพร่บ้านพลเมืองได้ทำมาหากินโดยปกติสุข ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ผู้ใดทำไม่พอพระทัย ก็ดุด่าว่ากล่าวดังพ่อสอนลูก อาจารย์สอนศิษย์ ซึ่งสมกับโคลงยอพระเกียรติของนายสวนมหาดเล็กที่ว่า<ref>[http://www.lib.ru.ac.th/journal/taksin.html สนเทศน่ารู้ :: สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]</ref>
 
{{โคลงสี่สุภาพ|พระเดียวบุญลาภเลี้ยง|ประชากร|เป็นบิตุรมาดร|ทั่วหล้า|เป็นเจ้าและครูสอน|สั่งโลก|เป็นสุขทุขถ้วนหน้า|นิกรทั้งชายหญิง{{อ้างอิง}}}}
กฎหมายที่ใช้ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นเป็นกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้กรมวังหรือกระทรวงวังเป็นผู้รับผิดชอบการพิจารณาว่าคดีใดควรขึ้นศาลใด แล้วส่งคดีไปยังศาลกรมนั้น ๆ โดยได้แบ่งงานศาลออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ<ref name="wangdermpalace">[http://www.wangdermpalace.org/Multifarious_th.html พระราชกรณียกิจด้านทั่วไป], มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองบัญชาการกองทัพเรือ</ref>
บรรทัด 149:
* ฝ่ายตรวจสำนวนและพิพากษา ฝ่ายนี้เดิมเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแขนงต่าง ๆ จำนวน 12 คน โดยเรียกว่า "ลูกขุน ณ ศาลหลวง" ต่อมาได้มีคนไทยที่เชี่ยวชาญกฎหมายเข้ามาทำหน้าที่นี้ด้วย คณะลูกขุน ณ ศาลหลวงนี้ไม่มีอำนาจในการปรับหรือลงโทษ
 
อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์จะทรงใช้[[ศาลทหาร]]เป็นส่วนใหญ่ โดยในการตัดสินคดีทุกครั้ง แม้พระองค์จะตัดสินให้ลงโทษสูงสุดแล้ว แต่ก็จะมีรับสั่งให้ทยอยการลงโทษจากขั้นต่ำสุดก่อน{{อ้างอิง}} ซึ่งหลายครั้งจะปรากฏว่านักโทษที่มีความผิดร้ายแรงก็มักจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหนัก โดยให้ไปกระทำการอย่างอื่นเป็นการไถ่โทษแทน<ref name="wangdermpalace"/>
 
พระองค์ออกพระราชกำหนดสักเลก พ.ศ. 2316 เพื่อสะดวกในการควบคุมกำลังคน การขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนที่เคยเป็นประเทศราชของไทยใน[[ลาว]]และเขมรเพื่อทำให้ประเทศเข้มแข็งมั่นคง และการเตรียมการให้[[กรมขุนอินทรพิทักษ์]]ไปปกครองเขมรในฐานะเมืองประเทศราช <ref>{{cite book|title=Tay Son: Rebellion in 18th Century Vietnam|author=Thomas J. Barnes|publisher=Xlibris Corporation|pages=74|isbn=0738818186}}</ref> แต่ได้เกิดจลาจลใน[[กรุงธนบุรี]]เสียก่อนจึงไม่สำเร็จ ส่วนหัวเมืองใหญ่ ๆ ที่เป็นทางผ่านของทัพพม่าก็โปรดให้แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถไปปกครอง เช่น เจ้าพระยาสุรสีห์ไปครองเมือง[[พิษณุโลก]] [[เจ้าพระยาพิชัยราชา]]ไปครองเมือง[[สวรรคโลก]]