ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 107:
เมื่อ[[พระเจ้ามังระ]]ทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตนเป็นใหญ่อีกครั้ง จึงได้มีพระราชโองการให้เจ้าเมือง[[ทวาย]]ยกทัพมาปราบปราม<ref>ธีระชัย ธนาเศรษฐ. '''เปิดวังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช'''. สำนักพิมพ์ ธีรกิจ (ประเทศไทย) จำกัด. หน้า 134.</ref> กองทัพพม่ายกมาถึงอำเภอบางกุ้งซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงธนบุรี พระราชพงศาวดารบันทึกว่ามีกองกำลัง 2,000 คน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จนำกองทัพออกตีพม่าจนแตกพ่าย กิตติศัพท์ที่ทรงรบชนะทำให้พระราชอำนาจทางการเมืองในภาคกลางยิ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้น<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 148.</ref>
 
พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเริ่มจากยกทัพไปตีชุมนุมพิษณุโลกเป็นชุมนุมแรก แต่พระองค์ต้องกระสุนปืนจึงต้องยกทัพกลับและรักษาพระองค์ยังพระนคร ชุมนุมพิษณุโลกนี้ภายหลังอ่อนแอลงจนกระทั่งถูกชุมนุมเจ้าพระฝางผนวกไป หลังหายจากพระอาการประชวรแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้เวลาปราบปรามชุมนุมอื่น ๆ เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นต่อไป โดยเริ่มจากชุมนุมเจ้าพิมาย [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]ทรงถูกปราบปรามและสำเร็จโทษเมื่อ พ.ศ. 2311<ref>Damrong Rajanubhab, pp. 418-419</ref> ตามด้วยชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งพระปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้า<ref>W.A.R.Wood, p. 254</ref> เจ้านครศรีธรรมราชสู้ไม่ได้หนีต่อลงไปยังหัวเมืองทางใต้ พระยาปัตตานีกลัวก็จับตัวมาส่งให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางในหัวเมืองฝ่ายเหนือ สามารถยึดได้เมืองพิษณุโลกและชุมนุมเจ้าพระฝางเมือง[[สวางคบุรี]] รบกันได้เพียง 3 วัน เจ้าพระฝางก็แตกหนี เมื่อทรงปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบ และทรงปราบกองทัพของม่อซื่อหลินที่เมืองพุทไธมาศสำเร็จแล้วเมื่อ พ.ศ. 2314 รัฐบาลจีนก็เริ่มให้การยอมรับสถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์อย่างเป็นทางการ<ref name="นิธิ173">นิธิ เอียวศรีวงษ์. หน้า 173.</ref> โดยทางราชสำนักชิงเห็นว่ากรุงธนบุรีภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นปึกแผ่นแล้ว และเจ้านายเชื้อพระวงศ์บรมวงศานุวงศ์ครั้งกรุงเก่าก็หมดหนทางที่จะกลับมาสืบราชสันตติวงศ์แล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงจึงทรงเปลี่ยนท่าทีต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2315 เป็นต้นมา เอกสารราชการของราชสำนักชิงเปลี่ยนการเรียกขานพระนามจาก '''กันเอินซื่อ''' หรือ '''พระยาสิน''' เป็น '''เจิ้งเจา''' (กษัตริย์เจิ้ง)<ref name="จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์"/>
 
=== สงครามกับเขมร ===