ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนภาพ
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 98:
หลังจากทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[พระราชวังกรุงธนบุรี]]เมื่อ พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นพระราชวังหลวงที่ใช้เป็นสถานที่ประทับและว่าราชการ พร้อมกับปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ ตำแหน่งของพระราชวังนี้เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ[[กองทัพเรือ]]<ref name="พระราชวังเดิม">[http://www.thaifolk.com/doc/wangderm.htm พระราชวังเดิม]</ref>
 
พระราชกรณียกิจแรกหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2311 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉินเหม่ยเซิน พ่อค้าเดินเรือจีน นำพระราชสาสน์ไปถวายต่อ[[จักรพรรดิเฉียนหลง]]แห่ง[[ราชวงศ์ชิง|ราชสำนักชิง]] ใจความสำคัญว่าด้วยพระราชประสงค์ฟื้นฟูสัมพันธไมตรี การค้าขายกับจีน และขอพระราชทานตราตั้งจากราชสำนักชิงเพื่อรับรองสถานภาพพระมหากษัตริย์ แต่ราชสำนักชิงปฏิเสธในปีแรก เพราะมองว่าพระองค์มิใช่ผู้สืบราชสันตติวงศ์เจ้านายกรุงเก่า และทราบว่าพระราชอนุชาในสมเด็จพระเจ้าเอกทัศเจ้านายกรุงเก่ายังมีพระขนม์ชีพอยู่ คือ [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]] (พระราชโอรสใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]) เสด็จไปก่อตั้งชุมนุมเจ้าพิมาย ส่วนเจ้าจุ้ย (พระราชโอรถในเจ้าฟ้าอภัยและพระราชนัดดาใน[[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9]]) และเจ้าศรีสังข์ (พระราชโอรสใน[[เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์]]และพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) เสด็จลี้ภัยสงครามไปอยู่กับพระยาราชาเศรษฐี ญวน (ม่อซื่อหลิน) ที่เมืองพุทไธมาศ เอกสารราชสำนักชิงไม่เรียกขานพระนามอย่างพระมหากษัตริย์ แต่เรียกขานเพียง '''กันเอินซื่อ''' (เจ้าเมืองตาก) เท่านั้น<ref name="จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์">จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์ : สมเด็จพระเจ้าตากสินกับจีนราชวงศ์ชิง [เจมส์ เค.ชิน (เฉียนเจียง), เขียน][อาทิตย์ เจียมรัตัญญ, แปล] ใน {{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = |ชื่อหนังสือ = รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559)|URL = http://www.academia.edu/10918681/จิ_มก_องขอหองโอรสสวรรค_สมเด_จพระเจ_าตากสินกับจีนราชวงศ_ชิง_James_K._Chin_Seeking_Recognition_from_the_Son_of_Heaven_King_Taksins_Siam_and_Qing_China_during_the_Late_Eighteenth_Century_Thai_|จังหวัด = กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่ = โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|ปี = 2559| ISBN = 978-616-7308-25-8|จำนวนหน้า = |หน้า = 1-23}}</ref>
 
=== ปราบชุมนุม ===
บรรทัด 107:
เมื่อ[[พระเจ้ามังระ]]ทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตนเป็นใหญ่อีกครั้ง จึงได้มีพระราชโองการให้เจ้าเมือง[[ทวาย]]ยกทัพมาปราบปราม<ref>ธีระชัย ธนาเศรษฐ. '''เปิดวังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช'''. สำนักพิมพ์ ธีรกิจ (ประเทศไทย) จำกัด. หน้า 134.</ref> กองทัพพม่ายกมาถึงอำเภอบางกุ้งซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงธนบุรี พระราชพงศาวดารบันทึกว่ามีกองกำลัง 2,000 คน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จนำกองทัพออกตีพม่าจนแตกพ่าย กิตติศัพท์ที่ทรงรบชนะทำให้พระราชอำนาจทางการเมืองในภาคกลางยิ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้น<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 148.</ref>
 
พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเริ่มจากยกทัพไปตีชุมนุมพิษณุโลกเป็นชุมนุมแรก แต่พระองค์ต้องกระสุนปืนจึงต้องยกทัพกลับและรักษาพระองค์ยังพระนคร ชุมนุมพิษณุโลกนี้ภายหลังอ่อนแอลงจนกระทั่งถูกชุมนุมเจ้าพระฝางผนวกไป หลังหายจากพระอาการประชวรแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงใช้เวลาปราบปรามชุมนุมอื่น ๆ เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นต่อไป โดยเริ่มจากชุมนุมเจ้าพิมาย [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]ทรงถูกปราบปรามและสำเร็จโทษเมื่อ พ.ศ. 2311<ref>Damrong Rajanubhab, pp. 418-419</ref> ตามด้วยชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งพระปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้า<ref>W.A.R.Wood, p. 254</ref> เจ้านครศรีธรรมราชสู้ไม่ได้หนีต่อลงไปยังหัวเมืองทางใต้ พระยาปัตตานีกลัวก็จับตัวมาส่งให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางในหัวเมืองฝ่ายเหนือ สามารถยึดได้เมืองพิษณุโลกและชุมนุมเจ้าพระฝางเมือง[[สวางคบุรี]] รบกันได้เพียง 3 วัน เจ้าพระฝางก็แตกหนี เมื่อทรงปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบ และทรงปราบกองทัพของม่อซื่อหลินที่เมืองพุทไธมาศสำเร็จแล้ว รัฐบาลจีนก็เริ่มให้การยอมรับสถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์อย่างเป็นทางการ<ref name="นิธิ173">นิธิ เอียวศรีวงษ์. หน้า 173.</ref> โดยทางราชสำนักชิงเห็นว่ากรุงธนบุรีภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นปึกแผ่นแล้ว และเจ้านายเชื้อพระวงศ์ครั้งกรุงเก่าก็หมดหนทางที่จะกลับมาสืบราชสันตติวงศ์แล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงจึงทรงเปลี่ยนท่าทีต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2315 เป็นต้นมา เอกสารราชการของราชสำนักชิงเปลี่ยนการเรียกขานพระนามจาก '''หัวหน้าเผ่าชนอาณาจักรสยามกันเอินซื่อ''' หรือ '''พระยาสิน''' เป็น '''เจิ้งเจา''' (กษัตริย์เจิ้ง)<ref name="จิ้มก้องขอหองโอรสสวรรค์"/>
 
=== สงครามกับเขมร ===
บรรทัด 114:
เมื่อชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตก อภัยคามณี [[โป่มะยุง่วน]] [[แคว้นเชียงใหม่|เจ้าเมืองเชียงใหม่]]ที่พม่าตั้ง เห็นสบโอกาสแผ่อาณาเขต จึงยกทัพลงมาล้อมสวรรคโลกไว้เมื่อ พ.ศ. 2313 แม่ทัพกรุงธนบุรีรักษาเมืองไว้มั่นคง ครั้นกองทัพกรุงธนบุรีที่ยกมาช่วยเหลือ พอถึงก็เข้าตีกระหนาบพ่ายกลับไป ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นสบโอกาสก็ยกทัพขึ้นไปจะตีเอาเมืองเชียงใหม่บ้าง แต่ล้อมได้เพียง 9 วันก็ต้องยกกองทัพถอยกลับลงมา
 
ระหว่างที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่นั้น ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชา ฉวยโอกาสยกทัพมาตีเมืองตราดและจันทบุรี แต่ถูกตีแตกกลับไป พอสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ขัดเคือง หลังจากพักรี้พลพอสมควรแล้วก็ทรงเตรียมทัพไปตีกัมพูชา สามารถบุกไปถึงกรุงบันทายเพชรพุทไธมาศ (ราชธานีกรุงกัมพูชาในช่วงเวลานั้น) สมเด็จพระนารายณ์ราชาเห็นว่าสู้ไม่ได้ก็หนีไปพึ่งญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งให้พระรามราชาเป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาต่อไป แล้วเลิกทัพกลับเมื่อ พ.ศ. 2314 แต่ต่อมาญวนเกิดกบฏไตเซิน สมเด็จพระนารายณ์ราชาขาดกำลังสนับสนุน ก็กลับมาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ก็ทรงให้เป็นมหาอุปโยราช มีฐานะรองจากพระรามราชา
 
นักองตนซึ่งครองเขมรอยู่ได้ข่าวพม่ายกมาตีไทยเมื่อ พ.ศ. 2314 จึงถือโอกาสยกทัพมาตีเมืองจันทบุรีและตราด สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปตีเขมร กองทัพไทยตีได้เมือง[[โพธิสัตว์]] [[พระตะบอง]] บริบูรณ์ [[พระสีหนุ (เมือง)|กำพงโสม]] และเมืองบันทายมาศพุทไธมาศ นักองตนพ่ายแพ้หนีไปอยู่กับญวณ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักองนนท์ครองเขมรสืบไป
 
หลังจากกองทัพไทยกลับจากเขมรเมื่อ พ.ศ. 2323 แล้ว นักองตนก็ยกทัพมาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองบันทายมาศพุทไธมาศ ส่วนนักองนนท์เกรงกลัวญวณจึงคงตั้งมั่นอยู่ที่เมือง[[กำปอด]] ต่อมาองไกเซนเป็นกบฏยึดญวณไว้ได้ นักองตนสิ้นที่พึ่ง จึงขอประนีประนอมยอมให้นักองนนท์ครองกรุงกัมพูชา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งกัมพูชา|สมเด็จพระรามราชา]] (นักองนนท์) เป็นเจ้ากรุงกัมพูชา พระนารายณ์ราชาธิบดี (นักองตน) เป็นมหาอุปโยราช และนักองธรรมเป็นมหาอุปราช ต่อมานักองธรรมถูกลอบสังหารและนักองตนก็เป็นโรคจนเสียชีวิต เป็นที่สงสัยว่าถูกวางยาพิษ ฟ้าทะละหะเข้าใจว่าพระรามราชาแกล้งฆ่าคนทั้งสอง จึงพร้อมด้วยข้าราชการรวมกันจับพระรามราชาถ่วงน้ำเสีย แล้วยกนักองเองราชบุตรขึ้นเป็นเจ้ากรุงกัมพูชา มีฟ้าทะละหะเป็นผู้สำเร็จราชการ ต่อมาฟ้าทะละหะได้เอาใจออกห่างไทยไปฝักใฝ่ญวณ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ กรมขุนอินทรพิทักษ์ ยกทัพไปตีเขมร ตีได้หลายหัวเมืองแล้ว พอจะตีเข้าเมืองหลวงก็พอดีเกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรีจำเป็นต้องยกทัพกลับ<ref name="พันจันทนุมาศ (เจิม)"/>
 
=== สงครามกับพม่า ===