ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเยาวราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ชื่ออื่น|เยาวราช|ภาพยนตร์ไทย|เยาวราช (ภาพยนตร์)}}
[[ไฟล์:Chinatown bangkok.jpg|thumb|250200px|เยาวราชในปัจจุบัน ยามพลบค่ำ]]
 
'''ถนนเยาวราช''' ({{lang-roman|Thanon Yaowarat}}; {{lang-zh|耀華力路}}) เป็นถนนสายหนึ่งใน[[กรุงเทพมหานคร]] ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "[[ถนน]][[มังกรจีน|มังกร]]" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน<ref>[http://www.thaitravelhealth.com/blog/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/ ถนนมังกร]</ref> สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี [[พ.ศ. 2434]] - [[พ.ศ. 2443]] เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช"<ref>[http://www.thaitravelhealth.com/blog/%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/ ถนนเยาวราช ถนนเก่าแก่ในสมัย ร.5]</ref>
บรรทัด 9:
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:เยาวราชแต่ก่อน.jpg|thumb|250px|left|ถนนเยาวราชในราวพุทธทศวรรษ 2500 ในยุคที่[[รถราง]]ยังคงให้บริการอยู่]]
[[ไฟล์:Yaoraj-walkingstreet1.jpg|thumb|200px|ถนนเยาวราชเมื่อมีการจัดเป็นพื้นที่ถนนคนเดิน]]
ถนนเยาวราชเป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตามโครงการถนนอำเภอสำเพ็งซึ่งเป็นนโยบายสร้างถนนในท้องที่ที่เจริญแล้วเพื่อส่งเสริมการค้าขาย [[สำเพ็ง]]เป็นย่านการค้าที่เจริญมากแห่งหนึ่งนอกเหนือจากบริเวณ[[ถนนเจริญกรุง]]แล้ว ทำให้มีพระราชดำริที่จะสร้างถนนให้มากขึ้น ถนนเยาวราชเป็น 1 ใน 18 ถนนที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] (ขณะดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ) เสนอให้สร้าง เช่น [[ถนนจักรวรรดิ]], [[ถนนราชวงศ์]], [[ถนนอนุวงศ์]] โดยในเวลานั้นสภาพของพื้นที่ ๆ จะกลายมาเป็นถนนเยาวราช มีสภาพเป็นท้อง[[ทุ่งนา]]และ[[ลำคลอง]]<ref name=เจริญ/>
 
เส้น 18 ⟶ 19:
การสร้างถนนเยาวราชประสบอุปสรรคหลายประการนับแต่เริ่มกรุยทางในปี [[พ.ศ. 2435]] จนถึงปี [[พ.ศ. 2438]] ก็ยังไม่เสร็จ เพราะนอกจากราษฎรจะขัดขวางแล้วยังปรากฏว่า เจ้าของที่ดินหลายรายขวนขวายที่จะขายที่ดินให้กับคนในบังคับต่างประเทศ ทำให้การก่อสร้างค่อนข้างล่าช้า เพราะกระทรวงนครบาลไม่อาจจัดการเรื่องที่ดินที่ถนนจะต้องตัดผ่านให้กับกรมโยธาธิการได้ ปรากฏว่าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาลเกี่ยวกับการมอบที่ดินที่อยู่ในแนวถนนให้กระทรวงโยธาธิการ ขอให้[[กระทรวงนครบาล]]จัดการในกรณีที่คนในบังคับต่างประเทศจะมาทำหนังสือซื้อขายหรือจำนำที่ดินที่ได้กรุยทางสร้างถนนเยาวราชไว้โดยสั่งให้เจ้าพนักงานหรืออำเภอกำนันให้ทราบว่าเป็นที่ทำถนนอย่าให้รับทำหนังสือซื้อขาย ''"ขอกระทรวงเมืองได้โปรดประทานพระอนุญาตให้ราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำเนินไปโดยสดวกด้วย"'' แต่[[กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์]]ทรงอ้างว่าต้องทรงรอคำวินิจฉัยจากที่ประชุม[[เสนาบดี]]ในเรื่องที่ราษฎรร้องเรียนกันขึ้นมาว่าการตัดถนนผ่านที่ดินเป็นไปอย่างไม่เป็นธรรม และปรากฏหนังสือโต้ตอบกันระหว่างเสนาบดีทั้ง 2 กระทรวงนี้ เพราะกระทรวงโยธาธิการก็ต้องการสร้างถนนให้เสร็จสิ้น ขณะที่กระทรวงนครบาลพยายามที่จะให้ราษฎรได้รับเงินค่าที่ดินจากรัฐบาล จึงรอพระบรมราชโองการเกี่ยวกับเรื่องนี้ และยังไม่มอบที่ดินให้[[กระทรวงโยธาธิการ]] ถึงกับ[[กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา]]ทรงระบุว่า กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ทรงพระเมตตากับราษฎรบริเวณถนนเยาวราชกว่าราษฎรในแนวถนนอื่น ๆ กรมโยธาธิการจึงต้องดำเนินการสร้างถนนส่วนที่ไม่มีปัญหาและที่ดินที่เป็นของหลวงก่อน
 
[[ไฟล์:Yaoraj-walkingstreet1.jpg|thumb|200px|ถนนเยาวราชเมื่อมีการจัดเป็นพื้นที่ถนนคนเดิน]]
จนกระทั่งใน [[พ.ศ. 2441]] ปัญหาเรื่องที่ดินซึ่งจะต้องตัดถนนผ่านก็ยังไม่ยุติ ในวันที่ [[4 มิถุนายน]] พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้กระทรวงโยธาธิการดำเนินการตัดถนนต่อไป เพราะมีพระราชดำริว่าที่ดินซึ่งถูกตัดถนนผ่านไปนั้น ย่อมทวีราคาขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายสิบเท่าเป็นประโยชน์แก่เจ้าของมาก ไม่ควรจะเสียดายที่ดินซึ่งเป็นท้องถนนแต่เพียงเล็กน้อย เพราะรัฐบาลที่ลงทุนทำถนนก็ไม่ได้เก็บเงินค่าคนหรือรถม้าที่เดินบนถนนเลย เพื่อบำรุงการค้าขายให้สะดวก เจ้าของจึงไม่ควรหวงแหน และโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์และกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาปรึกษากันต่อหน้า[[พระที่นั่ง]]ว่าจะทำอย่างไรให้การตัดถนนสายนี้สำเร็จลงได้ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์จึงทรงรับที่จะออกประกาศให้เจ้าของที่ดินออกจากที่ดิน หากเจ้าของที่ดินไม่ยอมรื้อก็ให้[[กระทรวงโยธาธิการ]]แจ้งไปที่กระทรวงนครบาล และให้กระทรวงนครบาลเป็นผู้ให้กรมอัยการฟ้อง ทำให้การตัดถนนเยาวราชดำเนินการต่อไปได้<ref>[http://www.watsamphan.com/my09_country/01_yowwarat_road.htm ประวัติถนนเยาวราช ทำเลมังกรทองที่ซ่อนตัว ทำเลพระราชทานจากรัชกาลที่ 5]</ref>
 
บรรทัด 24:
 
=== รัชกาลที่ 8 เสด็จประพาส ===
[[ไฟล์:King Ananda Mahidol and Prince Bhumibol Adulyadej.jpg|thumb|left200px|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จประพาสเยาวราช สำเพ็ง ด้วยการพระราชดำเนิน]]
ในวันที่ [[3 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2489]] [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ([[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]]) เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรด้วยการพระราชดำเนินที่เยาวราช สำเพ็ง ตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึงเที่ยง เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร ยังความปิติยินดีอย่างมากต่อชาวเยาวราช ซึ่งได้จัดซุ้มเฉลิมพระเกียรติถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ ในครั้งนั้นพระองค์ได้เสด็จเข้าไปเยี่ยมเยียนถึงในบ้านพักและร้านค้าของราษฎรอย่างใกล้ชิด และในเวลาเที่ยง ได้เสวยพระกระยาหารเที่ยงที่ชาวเยาวราชจัดถวาย ที่สมาคมพ่อค้าไทย-จีน [[ถนนสาทร]]
 
เนื่องด้วยในเวลานั้นมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างคนไทยกับคนไทยเชื้อสายจีนหรือชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านเยาวราช ถึงกับมีการทำร้ายร่างกายคนไทยที่เข้าไปในบริเวณนี้ อันเนื่องมาจากความฮึกเหิมในเชื้อชาตินิยมหลังจากการที่จีนเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจ หลังสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรครั้งนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งที่ต้องจารึกไว้ อันเป็นการสลายความขัดแย้งทั้งหมดไปได้<ref>รักชาติ ผดุงธรรม. ''เบื้องหลังกรณีสวรรคต รัชกาลที่ ๘''. กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, 2550. 288 หน้า. ISBN 978-974-8130-47-7</ref>
 
== วัฒนธรรมและเทศกาล ==
=== เทศกาลตรุษจีน ===
ในช่วง[[เทศกาลตรุษจีน]]ของทุกปี เยาวราชจะมีความคึกคักเป็นอย่างมาก จนมีการปิดถนนเป็นถนนคนเดิน มีการประดับโคมไฟสีแดงจำนวนมากเพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของจีน โดยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เช่น [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] มักจะเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานเป็นประจำทุกปี ด้วยการดำเนิน<ref>{{cite web|url=https://news.mthai.com/general-news/421621.html|title=ด่วน! แจ้งปิด ถนนเยาวราช 17-20ก.พ. รับเทศกาลตรุษจีน|date=2015-02-16|accessdate=2017-01-20|work=[[เอ็มไทยดอตคอม]]}}</ref> <ref>{{cite web|url=http://news.ch3thailand.com/royal/4089|title=พระเทพฯ เสด็จเปิดงานตรุษจีนเยาวราชสานสัมพันธ์ 2 ประเทศ|date=2016-02-08|accessdate=2018-01-20|work=[[ช่อง 3]]}}</ref>
 
=== เทศกาลกินเจ ===
ในช่วงเทศกาล[[กินเจ]] เยาวราชก็มีความคึกคักเช่นเดียวกัน โดยจะมีผู้คนออกมาจับจ่ายหาซื้ออาหารเจเป็นจำนวนมากเป็นประจำทุกปี<ref>{{cite web|title=กินเจย่านเยาวราชบรรยากาศคึกคัก|date=2016-10-02|accessdate=2018-01-20|work=ไอเอ็นเอ็น|url=http://www.innnews.co.th/show/733329/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%84%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%81}}</ref> <ref>{{cite web|url=https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/35823|work=[[พีพีทีวี]]|date=2016-09-30|accessdate=2018-01-20|title=เยาวราชคึกคัก คนแห่กินเจ ไม่หวั่นแม้ราคาสูงขึ้น (คลิป)}}</ref>
 
=== ศาสนสถาน ===
เยาวราชรวมไปถึงฝั่งถนนเจริญกรุง[[ไชน่าทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร|และถนนอื่น ๆ ใกล้เคียง]]เป็นแหล่งที่ตั้งของ[[ศาสนสถาน]]มากมายหลายแห่ง ในหลากหลายความเชื่อทั้งพุทธ[[หินยาน]], [[มหายาน]] รวมถึง[[อนัมนิกาย]]<ref>{{cite web|url=https://anamnikayathai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=105:watloka&catid=14&Itemid=119|title=วัดโลกานุเคราะห์|work=อนัมนิกายแห่งประเทศไทย}}</ref>, [[คริสตศาสนา|คริสต์]] และ[[อิสลาม]]<ref name=มัส>{{cite web|url= http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5271|title=มัสยิด หลวงโกชา อิศหาก และตระกูลสมันตรัฐ ในท่ามกลางย่านการค้าท่านํ้าราชวงศ์|accessdate=2018-01-28|date=2017-04-25|work=มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์}}</ref> เช่น ศาลเจ้า[[กวนอู]]ถึง 3 แห่ง ([[ศาลเจ้าโจวซือกง]], [[ศาลเจ้ากวางตุ้ง]]และตลาดเก่า), ศาล[[เจ้าแม่กวนอิม]] 3 แห่ง ([[มูลนิธิเทียนฟ้า]], [[วัดกันมาตุยาราม]]และใกล้กับท่าน้ำราชวงศ์), [[ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ]], ศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง, [[วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร]] (วัดสามจีน), [[วัดชัยชนะสงคราม]] (วัดตึก), [[วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร]] (วัดเกาะ), [[วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร]] (วัดสำเพ็ง), [[วัดคณิกาผล]], (วัดใหม่ยายแฟง), [[วัดโลกานุเคราะห์]] (ตื้อเต้ตื่อ), [[วัดมังกรกมลาวาส]] (เล่งเน่ยยี่), วัดชัยภูมิการาม (ตี๊หง่านตื่อ), [[วัดบำเพ็ญจีนพรต]] (ย่งฮกยี่), [[มัสยิดหลวงโกชา อิศหาก]]<ref name=มัส/>, [[วัดแม่พระลูกประคำ]] (กาลหว่าร์) เป็นต้น<ref>{{cite web|title=ยิ่งไหว้ยิ่งรวย! เที่ยวเยาวราชไหว้ 5 วัดเด็ด เอาเคล็ดเสริมมงคลตรุษจีน |url= https://www.thairath.co.th/content/482050|date=2015-02-10|accessdate=2018-01-20|work=ไทยรัฐ}}</ref> <ref>{{cite web|work=[[ผู้จัดการรายวัน]]|date=2009-01-25|author=หนุ่มลูกทุ่ง|accessdate=2018-01-20|url=https://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000010761|title=ตระเวนเยาวราช ไหว้ 8 ศาลเจ้าเอาฤกษ์ตรุษจีน}}</ref>
 
== ธุรกิจการค้า ==
[[ภาพ:ตั้งโต๊ะกัง946.jpg|thumb|left170px|ห้างทองตั้งโต๊ะกัง ถนนมังกร ในปัจจุบัน]]
เยาวราชเป็นแหล่งรวมธุรกิจการค้าต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น เทปและซีดีสวดมนต์รวมไปถึงเพลงของจีน, ของเล่นเด็ก, ชุด[[กี่เพ้า]], โคมไฟและผ้าแดงมงคล, [[เครื่องประดับ]], ปฏิทิน, อาหารแห้ง, ห้างทอง รวมไปถึงโรงแรมที่พักต่าง ๆ
 
เส้น 49 ⟶ 52:
 
=== อาหาร ===
[[ภาพ:Chinatowns Talat Leng-Buai-la market (6491922789).jpg|thumb|150px|ตลาดเล่งบ๊วยเอี๊ยะ หรือตรอกอิสรานุภาพ]]
ภัตตาคาร หรือร้านอาหารส่วนใหญ่ในย่านเยาวราช จะเป็นร้าน[[อาหารจีน]] ที่ขึ้นชื่อและมีชื่อเสียงในระดับโลกจะเป็น[[อาหารริมทาง]]รวมถึง[[เครื่องดื่ม]]ชนิดต่าง ๆ มีเมนูที่หลากหลาย สำนักข่าว[[ซีเอ็นเอ็น]]ให้การยกย่องว่าเป็นแหล่งอาหารริมทางที่ดีที่สุดในโลกติดต่อกันถึง 2 ปีซ้อน บางร้านยังเป็นร้านที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น[[บิบกูร์มองด์]]จาก[[มิชลินไกด์]]<ref>{{cite web|url=http://www.brandage.com/article/2588/MICHELIN-Guide-Bib-Gourmand-|title=เปิดรายชื่อ 33 ร้าน “บิบ กูร์มองด์” ร้านอาหารสำหรับคนกระเป๋าเบา|date=2017-12-07|accessdate=2018-01-20|author=S.Vutikorn|work=BrandAge}}</ref> เปิดจำหน่ายทั้งกลางวันและกลางคืน เช่น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาและ[[เย็นตาโฟ]], [[ข้าวขาหมู]], [[หมูสะเต๊ะ]], [[หอยทอด]], [[ผัดไทย]], [[กวยจั๊บ]], [[น้ำเต้าหู้]], ห่านและเป็ด[[พะโล้]], [[หูฉลาม]]และกระเพาะปลา, [[รังนก]], [[ข้าวหมูแดง]], [[อาหารไทย|ข้าวราดแกง]]และ[[อาหารตามสั่ง]], ผลไม้, [[เกาลัด]]คั่ว, [[บ๊ะจ่าง]], [[ติ่มซำ]], [[พระรามลงสรง]]<ref>{{cite web|url=http://www.thaipost.net/home/?q=node/39150|title=ข้าวพระรามลงสรง ซ.แปลงนาม เยาวราช|date=2017-12-10|accessdate=2018-01-20|work=[[ไทยโพสต์]]}}</ref>, [[กอปี๊เตี่ยม|กาแฟโบราณ]] เป็นต้น <ref>{{cite web|url=|title=เผยโฉมเยาวราชสตรีทฟู้ด “รายงานวันจันทร์”-เมืองอาหารริมทางดีที่สุดของโลก |url=https://www.thairath.co.th/content/969837|date=2017-06-12|accessdate=208-01-20|work=ไทยรัฐ}}</ref> <ref>{{cite web|url=https://mgronline.com/travel/detail/9570000128047|title=หลากเมนูเด็ด อร่อยชวนชิมในตรอก “สำเพ็ง”|date=2014-11-07|accessdate=2018-01-20|work=ผู้จัดการรายวัน}}</ref>
 
เส้น 59 ⟶ 62:
 
== อ้างอิง ==
 
 
{{รายการอ้างอิง|3}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Thanon Yaowarat|ถนนเยาวราช}}
{{geolinks-bldg|13.741136|100.508305}}
*[http://www.chinatownyaowarach.com/ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ]
เส้น 75 ⟶ 77:
[[หมวดหมู่:ถนนในเขตพระนคร|ยเยาวราช]]
[[หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร|ยเยาวราช]]
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Thanon Yaowarat|ถนนเยาวราช}}