ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 57:
[[ไฟล์:Izaya Dangyi.jpg|thumb|left|กี้นวูนมี่นจี้]]
สภาลุตอมีส่วนสำคัญในการดำเนินแผนการรัฐประหาร ซึ่งในขณะนั้นเสนาบดีในสภาลุต่อที่มีความสามารถล้วนถูกสังหารในคราวกบฎเจ้าชายมยีนกู้นและเจ้าชายมยี่นโกนไดง์ ดังนั้นเสนาบดีที่ทรงอิทธิพลในสภาลุต่อในช่วงนี้จึงมีแต่เพียง [[กี้นวูนมี่นจี้]]และ[[ไต้ง์ดามี่นจี้]] ทั้งสองคนมีบทบาทสำคัญในการก่อรัฐประหารวังหลวงในปี พ.ศ. 2421 - 2422 ไต้ง์ดามี่นจี้แม้จะไม่เห็นด้วยกับนโยบายของพระเจ้ามินดง แต่ก็คงสนับสนุนพระองค์ แต่เมื่อพระเจ้ามินดงทรงพระประชวร ไต้ง์ดามี่นจี้จึงพยายามแสวงหาอำนาจและอิทธิพล ด้วยอุดมการณ์ชาตินิยม คลั่งชาติ เกลียดชังชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของพวกหัวเก่าที่ยังคงเชื่อมั่นในความยิ่งใหญ่เกรียงไกรของพม่า ดังนั้น การเลือกองค์รัชทายาทที่จะมาเป็นกษัตริย์องค์ต่อไปย่อมสำคัญสำหรับเขา
 
ส่วนกี้นวูนมี่นจี้ เป็นเสนาบดีที่ทรงปัญญา สนับสนุนการปฏิรูปของพระเจ้ามินดงอย่างยิ่ง และหวาดหวั่นอย่างยิ่งเมื่อพระเจ้ามินดงทรงพระประชวร เดิมทีกี้นวูนมี่นจี้โอนอ่อนตามเสนาบดีคนอื่นที่จะสนับสนุน เจ้าชายพระองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดง ขึ้นเป็นองค์รัชทายาท เจ้าชายญองย่าน เป็นตัวเลือกสำคัญที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย
[[ไฟล์:Taingda Wungyi.jpg|thumb|right|ไต้ง์ดามี่นจี้]]
ส่วนกี้นวูนมี่นจี้ เป็นเสนาบดีที่ทรงปัญญา สนับสนุนการปฏิรูปของพระเจ้ามินดงอย่างยิ่ง และหวาดหวั่นอย่างยิ่งเมื่อพระเจ้ามินดงทรงพระประชวร เดิมทีกี้นวูนมี่นจี้โอนอ่อนตามเสนาบดีคนอื่นที่จะสนับสนุน เจ้าชายพระองค์หนึ่งของพระเจ้ามินดง ขึ้นเป็นองค์รัชทายาท เจ้าชายญองย่าน เป็นตัวเลือกสำคัญที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย
 
แต่เมื่อพระเจ้ามินดงทรงพระประชวรด้วยโรคบิดและใกล้สวรรคต พระมเหสีซีนบยูมะชีนได้ทรงเริ่มดำเนินแผนการเกลี้ยกล่อมเสนาบดีในสภาลุต่อ ทั้งกี้นวูนมี่นจี้และไต้ง์ดามี่นจี้ต่างเห็นพ้องอย่างยิ่งกับข้อดีที่จะให้เจ้าชายธีบอขึ้นสืบราชบัลลังก์ตามที่พระมเหสีซีนบยูมะชีนทรงเสนอ มีรายงานว่า ทรงประทานทองคำหนัก 50 จั๊ด เป็นตัวช่วยสำหรับเสนาบดีคนอื่นๆ<ref>Sudha Shah, pp. 46.</ref> เหล่าเสนาบดีจึงต่างพากันสนับสนุนเพราะเห็นเช่นเดียวกับพระมเหสีซีนบยูมะชีน ว่า เจ้าชายธีบอนั้นง่ายต่อการชักจูง พระมเหสีซีนบยูมะชีนทรงชี้ให้ไต้ง์ดามี่นจี้เห็นถึงประโยชน์ เมื่อเจ้าชายธีบอขึ้นสู่ราชบัลลังก์ และขับไล่พวกอังกฤษ ส่วนกี้นวูนมี่นจี้ก็เห็นประโยชน์ที่ว่า การให้เจ้าชายธีบอครองบัลลงก์จะทำให้ความปรารถนาที่จะสร้างระบอบ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]]ของพม่าเป็นจริง และเป็นอย่างอังกฤษ หรือประเทศในยุโรป ซึ่งกี้นวูนมี่นจี้ได้เคยพบเห็นมาในฐานะคณะทูตของพระเจ้ามินดงในพ.ศ. 2414