ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การโคลน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Longitudinal fission of Anthopleura elegantissima in California tidepools.jpg|[[ดอกไม้ทะเล]]ชนิด ''[[Anthopleura elegantissima]]'' กำลังโคลน|thumb]]
{| class="wikitable"
'''การโคลน''' ({{lang-en|cloning}}) ในทาง[[ชีววิทยา]] หมายถึง กระบวนการผลิตประชากรที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันซึ่งเกิดขึ้นในธรรมชาติเมื่อสิ่งมีชีวิต เช่น [[แบคทีเรีย]] [[แมลง]]หรือ[[พืช]]สืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ การโคลนในทางเทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการสร้างสำเนาส่วนดีเอ็นเอ (การโคลนโมเลกุล), เซลล์ (การโคลนเซลล์) หรือสิ่งมีชีวิต คำว่า "การโคลน" ยังหมายถึงการผลิตสำเนาของผลิตภัณฑ์ เช่น สื่อดิจิตอลหรือซอฟต์แวร์ ขึ้นเป็นจำนวนมาก
| ในทางชีววิทยา การโคลน หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะพันธุกรรมเหมือนสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ วิธีการโคลนวิธีหนึ่งคือนำนิวเคลียสของเซลล์ร่างกายใส่เข้าไปในเซลล์ไข่    ที่ถูกดูดเอานิวเคลียสออกไปก่อนแล้ว ด้วยกระบวนการนี้เซลล์ไข่ที่มีนิวเคลียสของเซลล์ร่างกายจะพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่โดยใช้ข้อมูลของสารพันธุกรรมจากนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย สิ่งมีชีวิต     ตัวใหม่จึงมีลักษณะพันธุกรรมเหมือนกับสิ่งมีชีวิตต้นแบบ
 
        ซึ่งการโคลนนิ่งได้ทำกับพืชมานานหลายสิบปี ที่เรียกว่า การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในปี พ.ศ. 2539   ได้มีการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสำเร็จครั้งแรก โดยทำกับแพะ และแกะ แกะตัวแรกที่ได้จากการโคลนนิ่งมีชื่อว่า '''” ดอลลี่ “'''
คำว่า "โคลน" มาจากคำ[[ภาษากรีกโบราณ]]ว่า κλών (klōn, “กิ่ง”) โดยหมายถึง ขั้นตอนซึ่งพืชต้นใหม่สามารถถูกสร้างขึ้นจากกิ่งได้ โดยสิ่งมีชีวิที่ได้รับการโคลนตัวแรกของโลกก็คือ "แกะ"
 
แกะดอลลี่ (ตัวที่อยู่ด้านหน้า) กับแกะต้นแบบ
 
'''วิธีการโคลนนิ่งแกะดอลลี่'''
 
'''ประโยชน์ หรือ ข้อดี ของการโคลนนิ่ง (Advantages of Cloning)'''
* ช่วยในการเพิ่มจำนวนพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืชหายาก หรือเพิ่มจำนวนพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืชที่ใกล้ที่จะสูญพันธุ์ ได้เร็วกว่าการผสมพันธุ์กันแบบปกติตามธรรมชาติ
* ช่วยในการเพิ่มจำนวนสัตว์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดี เช่น หมูที่ให้เนื้อในปริมาณมากหรือโคที่ให้น้ำนมในปริมาณมากที่มีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น
* ช่วยในการเพิ่มจำนวนสัตว์ที่ได้มีการปรับปรุงลักษณะทางพันธุกรรมทั้งสัตว์ที่ผสมพันธุ์กันด้วยวิธีทางธรรมชาติหรือผสมเทียมหรือสัตว์ที่เป็นจีเอ็มโอโดยสัตว์เหล่านี้อาจปรับปรุงพันธุ์มาเพื่อผลิตยารักษาโรคได้
* ช่วยในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้สัตว์ทดลองที่มีพันธุกรรมและลักษณะที่เหมือนกันเป็นจำนวนมาก
* เพื่อช่วยในการผลิตอวัยวะของสัตว์ที่มีลักษณะเหมือนกันเพื่อที่จะใช้ในการย้ายฝาก
* ช่วยในการปลูกถ่ายทดแทนอวัยวะของมนุษย์ ซึ่งอาจได้อวัยวะที่เข้ากันได้โดยภูมิคุ้มกันตัวเองไม่ต่อต้านอวัยวะใหม่ที่รับเข้าไปซึ่งช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
* ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจกลไกการทำงานของยีนมากขึ้น อย่างเช่นในกรณี ผู้ป่วยที่สมองตายจากการเป็นอัมพาตโดยที่อาจสามารถทำการกระตุ้นให้เซลล์สมองเกิดการแบ่งตัวทดแทนเซลล์เดิมที่ตายไปได้ หรือในกรณีของผู้ป่วยที่ไตวาย อาจสามารถทำการกระตุ้นการทำงานของไตและทำการกระตุ้นให้เซลล์ไตที่เหลืออยู่เกิดการแบ่งตัวแล้วทำหน้าที่แทนกันได้
 
           จะเห็นได้ว่าการโคลนนิ่งนั้นมีข้อดีหรือประโยชน์ทั้ง ด้านทางการแพทย์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การรักษาพันธุ์ ด้านการเกษตรกรรม แต่การโคลนนิ่งยังมีปัญหาทางด้านจริยธรรมจากการปลูกถ่ายทดแทนอวัยวะของมนุษย์เพราะต้องโคลนนิ่งคนที่เหมือนกันแล้วนำอวัยวะของโคลนมาใช้กับคนที่เป็นเจ้าของเดิมทำให้คนที่ถูกโคลนออกมามีอวัยวะไม่ครบ แต่ถึงอย่างนั้นยังมีวิธีการอื่นที่ไม่ใช่การโคลนนิ่งในการสร้างอวัยวะอยู่ เช่น สเต็มเซลล์เป็นต้น นอกจากนี้การโคลนนิ่งยังไม่เป็นที่ยอมรับจากทางศาสนาอย่างนิกายโรมันคาทอลิก และยังไม่เป็นที่ยอมรับของนักสังคมศาสตร์ในแง่มุมของการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลอาจทำได้ยากขึ้นหากยอมให้มีการโคลนนิ่งเกิดขึ้น ดังนั้นในปัจจุบันนี้การโคลนนิ่งมนุษย์จึงยังไม่อาจจะทำได้ และทำให้ข้อมูลทางรายงานการวิจัยเกี่ยวกับการโคลนนิ่ง มนุษย์ยังมีอยู่น้อยมาก
 
'''ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของการโคลนนิ่ง (Disadvantages of Cloning)'''
* ทำให้เกิดความไม่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวต้นแบบ
* ทำให้เกิดการขาดความหลากหลายทางชีวภาพ
* อาจทำให้การพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีมีน้อยลงเพราะมีลักษณะเหมือนกันไปหมดไม่เปลี่ยนแปลง
* อาจทำให้มีวิวัฒนาการลดลง และอาจลดความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ได้(เพราะมีความเหมือนกันเป็นจำนวนมาก)
* มนุษย์ยังมีปัญหาด้านจริยธรรม เช่น อย่างในกรณีการปลูกถ่ายทดแทนอวัยวะของมนุษย์เพราะต้องทำคนที่เหมือนกันออกมาแล้วนำอวัยวะของโคลนนั้นมาปลูกถ่ายแทนที่อวัยวะคนที่เป็นต้นแบบ ซึ่งทำให้คนที่ถูกโคลนออกมามีอวัยวะไม่ครบ
* มีปัญหาในทางด้านกฎหมายในการพิสูจน์จำแนกผู้กระทำผิดในคดีต่างๆ โดยใช้การตรวจดีเอ็นเอเพราะโคลนมีดีเอ็นเอหมือนกับคนต้นแบบทำให้ยากที่จะจำแนกได้ว่าคนที่เป็นต้นแบบหรือโคลนเป็นผู้กระทำผิด หรือแม้แต่ลักษณะรูปร่างหน้าตาที่เหมือนกันอาจทำให้พยานระบุผิดคน เป็นต้น
* ที่หากเกิดคัดสายพันธุ์ที่เป็นต้นแบบในการโคลนนิ่งผิดหรือมีลักษณะที่ไม่ดีตามคาดอาจมีผลเสียอื่นตามมาทีหลังได้
|}
 
= การโคลนนิ่ง (CLONING) =
 
'''การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ''' การคัดลอก หรือการทำซ้ำ ให้มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ
 
หากกล่าวเรื่อง '''การโคลนนิ่ง (Cloning)''' ในแง่ของสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวพันถึงเทคโนโลยีชีวภาพแล้ว
 
'''การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ''' กระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศชนิดหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตที่ถูกโคลนออกมาจะมีลักษณะทางพันธุกรรม โดยรวมถึงมีลักษณะทางกายภาพ เหมือนกับสิ่งมีชีวิตต้นแบบ หรือ สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ก่อนแล้วทุกประการ
 
โดยคำว่า'''โคลน (Clone)''' นั้นมาจากภาษากรีกจากคำว่า “Klone” ซึ่งแปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน โดยใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual) ของในพืชและสัตว์
 
และโดยที่คำว่า'''โคลน''' จะถูกใช้เรียกสิ่งที่ถูกโคลนออกมาจากสิ่งมีชีวิตต้นแบบ
 
ตัวอย่างของลักษณะสิ่งมีชีวิตที่ได้จาก'''การโคลนนิ่ง (Cloning)''' เช่น มีเพศเหมือนกัน มีหมู่เลือดเหมือนกัน เป็นต้น
 
หากกล่าวถึงเรื่อง '''การโคลนนิ่ง (Cloning)''' สัตว์ซึ่งปกติแล้วสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศแล้ว
 
'''การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ''' การสร้างสัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้หรืออสุจิของสัตว์เพศผู้ แต่ใช้นิวเคลียสจากเซลล์เต็มวัยของเซลล์ร่างกายของสัตว์เพศอะไรก็ได้ใส่ลงไปที่เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมียหรือเซลล์ไข่โดยนำสารพันธุกรรม หรือ DNAที่มีอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ออกก่อน แล้วนำเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียหรือเซลล์ไข่ใส่ไปในตัวเพศเมียเพื่อให้คลอดออกมา เมื่อคลอดออกมาทำให้ได้สัตว์ตัวใหม่ที่มี รูปร่าง หน้าตา ลักษณะภายนอก เหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมเกือบทุกประการ และมีพันธุกรรมเหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ ถ้าเจ้าของเซลล์เป็นเพศเมียก็จะได้สัตว์ให้เป็นเพศเมีย ถ้าเจ้าของสัตว์เป็นเพศผู้จะได้สัตว์ใหม่เป็นเพศผู้ เหมือนกับเจ้าของเซลล์เดิมทุกประการ
[[หมวดหมู่:การโคลน| ]]
[[หมวดหมู่:อณูชีววิทยา]]