ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคคามากูระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 18:
ตระกูลโฮโจยังคงดำเนินการกำจัดคู่แข่งต่อไป เช่น ฮะตะเกะยะมะ ชิเงะตะดะ ({{nihongo2|畠山重忠|Hatakeyama Shigetada}}) ในค.ศ. 1205 และตระกูลวะดะ ({{nihongo2|和田|Wada}}) ในค.ศ. 1213 ในค.ศ. 1205 โทะกิมะซะได้สมคบคิดกับภรรยาคนใหม่ของตนคือนางมะกิ ({{nihongo2|牧の方|Maki no kata}}) วางแผนลอบสังหารโชกุนซะเนะโตะโมะเพื่อที่จะยกฮิระงะ โทะโมะมะซะ ({{nihongo2|平賀朝雅|Hiraga Tomomasa}}) ผู้เป็นบุตรเขยของตนขึ้นเป็นโชกุนแทน ทำให้มะซะโกะบุตรสาวและ[[โฮโจ โยะชิโตะกิ]] ({{nihongo2|北条義時|Hōjō Yoshitoki}}) บุตรชายผู้สืบทอดตำแหน่งของตนไม่พอใจ จึงเข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากบิดาของตน บังคับให้โทะกิมะซะปลงผมบวชเป็นพระภิกษุแล้วเนรเทศไปยังแคว้นอิซุ โยะชิโตะกิจึงได้เป็น''ชิกเก็ง''ต่อจากบิดา เมื่อโชกุนซะเนะโตะโมะไม่มีทายาท นางมะซะโกะจึงเดินทางไปยังเมืองเกียวโตเข้าเฝ้าอดีต[[จักรพรรดิโกะ-โทะบะ]]ในค.ศ. 1219 เพื่อทูลขอเจ้าชายมาดำรงตำแหน่งเป็นโชกุน แต่กลับได้[[คุโจ โยะริสึเนะ]] ({{nihongo2|九条頼経|Kujō Yoritsune}}) บุตรชายของ[[คัมปะกุ]]อายุเพียงหนึ่งปีมาเป็นทายาทโชกุน ในปีเดียวกันนั้นเองโชกุนซะเนะโตะโมะถูกลอบสังหารโดยภิกษุคุเงียว ({{nihongo2|公暁|Kugyō}}) ซึ่งเป็นบุตรชายของอดีตโชกุนโยะริอิเอะ ทำให้ตระกูลเซวะเง็นจิที่ดำรงตำแหน่งโชกุนต้องสิ้นสุดลง
 
[[รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ]]มีอำนาจเต็มอยู่ในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น แต่ในขณะเดียวกันทางภาคตะวันตกนั้นราชสำนักเกียวโตยังคงมีอำนาจอยู่ เมื่อทาง''บะกุฟุ''เกิดเหตุการณ์แย่งชิงอำนาจหลายครั้ง ราชสำนักเกียวโตนำโดยอดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะจึงฉวยโอกาสแข็งข้อต่อต้านการครอบงำของ''บะกุฟุ''คะมะกุระ โดยปฏิเสธที่จะทำการแต่งตั้งโชกุนคนใหม่ ในค.ศ. 1221 อดีตจักรพรรดิโกะ-โทะบะมีพระราชโองการประกาศให้''ชิกเก็ง''โยะชิโตะกิเป็นอาชญากร และจัดเตรียมกองทัพเพื่อป้องกันเมืองเกียวโต นำไปสู่[[สงครามโจคิว]] ({{nihongo2|承久の乱|jōkyū no ran}}) ฝ่ายโยะชิโตะกิได้ส่ง[[โฮโจ ยะซุโตะกิ]] ({{nihongo2|北条泰時|Hōjō Yasutoki}}) ผู้เป็นบุตรชาย และโฮโจ โทะกิฟุซะ ({{nihongo2|北条時房|Hōjō Tokifusa}}) ผู้เป็นน้องชาย ยกทัพไปทางตะวันตกและสามารถเข้ายึดเมืองเกียวโตได้ในเวลาิันรวดเร็วเวลาันรวดเร็ว อดีตจักรพรรดิโกะโทะบะรวมทั้งองค์จักรพรรดิพระโอรสและพระนัดดาต่างถูกเนรเทศ นับแต่นั้นมาราชสำนักเกียวโตก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของ''บะกุฟุ''อย่างแท้จริง มีการก่อตั้ง ''โระกุฮะระ ทังได'' ({{nihongo2|六波羅探題|Rokuhara Tandai}}) เปรียบเสมือนเป็นสาขาสองของ''บะกุฟุ''ตั้งอยู่ที่เขตโระกุฮะระในเมืองเกียวโต เพื่อคอยควบคุมดุแลราชสำนัก โดยมีโฮโจ ยะซุโตะกิและโทะกิฟุซะเป็น''โระกุฮะระทังได''สองคนแรก
 
===ชิกเก็งยะซุโตะกิและโทะกิโยะริ===
[[ไฟล์:Hōjō Tokiyori.jpg|thumb|150px|right|โฮโจ โทะกิโยะริ]]
''ชิกเก็ง''โยะชิโตะกิถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1226 และนางมะซะโกะเสียชีวิตในค.ศ. 1227 โฮโจ ยะซุโตะกิ สืบทอดตำแหน่ง''ชิกเก็ง''จากโยะชิโตะกิบิดาของตนในค.ศ. 1226 และมีการแต่งตั้งคุโจ โยะริซึเนะ ให้เป็นโชกุนในปีเดียวกัน ''ชิกเก็ง''ยะซุโตะกิแต่งตั้งโทะกิฟุซะผู้เป็นอาให้ดำรงตำแหน่งเป็น ''เร็งโช'' ({{nihongo2|連署|rensho}}) หรือรองผู้สำเร็จราชการเป็นคนแรก ในสมัยของ''ชิกเก็ง''ยะซุโตะกิมีการวางรากฐานการปกครองของคะมะกุระ โดยมีการจัดตั้ง''เฮียวโจชู'' ({{nihongo2|評定衆|Hyōjōshū}}) ไว้เป็นสภาที่คอยอนุมัติเห็นชอบนโยบายของชิกเก็ง และในค.ศ. 1232 มีการออกกฎหมาย โกะเซไบ ชิโมะกุ ({{nihongo2|御成敗式目|Goseibai Shimoku}}) หรือ กฎหมายปีโจเอ เป็นกฎหมายของชนชั้นซะมุไรฉบับแรกในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น สมัยของ''ชิกเก็ง''ยะซุโตะกิถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองและสงบสุขทีุ่สุดที่สุดของรัฐบาลคะมะกุระ
 
''ชิกเก็ง''ยะซุโตะกิถึงแก่อสัญกรรมเมื่อค.ศ. 1242 โฮโจ ซึเนะโตะกิ ({{nihongo2|北条経時|Hōjō Tsunetoki}}) ผู้เป็นหลานชายสืบทอดตำแหน่งต่อมา แต่ทว่าโชกุนคุโจโยะริสึเนะได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และต้องการที่จะมีอำนาจในการปกครอง ในค.ศ. 1244 ''ชิกเก็ง''ซึเนะโตะกิจึงทำการปลดโชกุนโยะริสึเนะออกจากตำแหน่ง และให้บุตรชายคือ[[คุโจ โยะริสึงุ]] ({{nihongo2|九条頼嗣|Kujō Yoritsugu}}) ขึ้นเป็นโชกุนแทน แม้กระนั้นอดีตโชกุนโยะริสึเนะยังคงมีอำนาจเหนือโชกุนอายุน้อยที่เป็นบุตรชายของตน และวางแผนก่อการยึดอำนาจจากตระกูลโฮโจด้วยการสนับสนุนจาก[[ตระกูลมิอุระ]] ({{nihongo2|三浦|Miura}}) ซึ่งเป็นตระกูลคู่แข่งที่สำคัญของตระกูลโฮโจ ''ชิกเก็ง''ซึเนะโตะกิถึงแก่อสัญกรรมเมื่อค.ศ. 1246 [[โฮโจ โทะกิโยะริ]] ({{nihongo2|北条時頼|Hōjō Tokiyori}}) ผู้เป็นน้องชายสืบทอดตำแหน่งชิกเก็งต่อมา มีการค้นพบแผนการยึดอำนาจของอดีตโชกุนโยะริซึเนะ ในการที่จะสนับสนุนให้ นะโงะเอะ มิซึโตะกิ ({{nihongo2|名越光時|Nagoe Mitsutoki}}) ญาติห่างๆของโทะกิโยะริขึ้นเป็น''ชิกเก็ง''แทน ด้วยความช่วยเหลือของตระกูลมิอุระ นำโดย [[มิอุระ ยะซุมุระ]] ({{nihongo2|三浦泰村|Miura Yasumura}}) ''ชิกเก็ง''โทะกิโยะริจึงเนรเทศอดีตโชกุนโยะริซึเนะให้กลับไปเมืองเกียวโต เรียกเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1246 นี้ว่า มิยะ-โซโด ({{nihongo2|宮騒動|Miya-sōdō}})
บรรทัด 35:
ในค.ศ. 1274 กุบไลข่านจึงตระเตียมกำลังพลผสมระหว่างมองโกลและเกาหลีเพื่อเข้ารุกรานญี่ปุ่น นำโดยฮินตู (Hintu) ขุนพลฝ่ายมองโกล ฮงดากู (Hong Dagu) ขุนพลชาวเกาหลี ยกทัพเรือข้ามทะเลมาเทียบท่าที่อ่าวฮะกะตะ ({{nihongo2|博多|Hakata}}) บนเกาะคีวชู เรียกว่า การรุกรานปีบุงเอ ({{nihongo2|文永の役|Bunei no eki}}) ฝ่ายญี่ปุ่นมี[[โชนิ ซุเกะโยะชิ]] ({{nihongo2|少弐資能|Shōni Sukeyoshi}}) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น''ชินเซ บุเงียว'' ({{nihongo2|鎮西奉行|Chinzei Bugyō}}) หรือผู้ปกครองเกาะคีวชู นำทัพญี่ปุ่นเข้าห้ำหั่นแต่ไม่สามารถทัดทานทัพผสมมองโกล-เกาหลีได้ จนกระทั่งมีลมพายุพัดเข้าอ่านฮะกะตะทำลายเรือของทัพมองโกลลงไปมาก ทำให้ฝ่ายมองโกลต้องถอยหนีกลับไป ชาวญี่ปุ่นจึงยกย่องลมนี้ว่าเป็น คะมิกะเซะ ({{nihongo2|神風|Kamikaze}}) หรือลมที่เทพเจ้าส่งมาเพื่อปกป้องญี่ปุ่นจากผู้รุกราน
 
แม้กระนั้นกุบไลข่านก็ยังไม่ลดละ ในค.ศ. 1275 กุบไลข่านส่งทูตมีอีกครั้งโดยไม่ผ่านเกาหลี แต่คณะทูตมองโกลถูกจับกุมไปยังเมืองคะมะกุระและถูกสังหาร ''ชิกเก็ง''โทะกิมุเนะเกรงว่าพวกมองโกลจะยกมาอีกจึงให้มีการเตรียมการรองรับการรุกรานของมองโกลไว้พร้อม หลังจากที่พิชิตราชวงศ์ซ่งใต้ได้แล้ว มองโกลจึงส่งทูตมาญี่ปุ่นอีกครั้งในค.ศ. 1279 แต่ชาวญี่ปุ่นได้สังหารคณะทูตมองโลกทันทีที่ขึ้นฝั่งอ่าวฮะกะตะ ในค.ศ. 1281 กุบไลข่านจึงส่งทัพเืรือเรือเข้ารุกรานญี่ปุ่นอีกครั้งเรียกว่า การรุกรานปีเคอัง ({{nihongo2|弘安の役|Keian no eki}}) โดยใช้ทั้งกองทัพเรือของอาณาจักรโครยอ และทัพเรือของ[[ราชวงศ์ซ่ง]]ใต้ขนาดมหึมา ฝ่ายมองโกลวางแผนให้ทัพเรือซ่งใต้มาสมทบกับทัพเรือเกาหลีเพื่อเข้ารุกรานญี่ปุ่น แต่ทัพเรือจีนเกิดความล่าช้ามาสมทบไม่ทัน ทัพเรือเกาหลีจึงเข้าโจมตีแต่ฝ่ายญี่ปุ่นเตรียมการมาดีจึงสามารถต้านทานได้ ลมพายุคะมิกะเซะพัดเข้ามาอีกครั้งทำลายทัพเรือเกาหลีจนต้องล่าถอยกลับไป
 
===การเรืองอำนาจของมิอุชิบิโตะ และ จุดจบของคะมะกุระบะกุฟุ===