ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลูกเห็บ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ลัษณะของลูกเห็บ
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Hailstorm.jpg|thumb|พายุลูกเห็บ]]
{{สภาพอากาศ}}
''ลูกเห็บ''' ({{lang-en|Hail}}) เป็นก้อนน้ำลักษณะเหมือน[[น้ำแข็ง]] เป็นส่วนหนึ่งของ[[วัฏจักรของน้ำ]] โดยตกลงมาจากบรรยากาศในรูปของแข็ง โดยจะมีรูปร่างเป็นก้อนน้ำแข็งรูปร่างไม่แน่นอน เกิดจากละอองหยาด[[ฝน]]ซึ่งเย็นแบบยิ่งยวด (ยังอยู่ในสภาพของเหลวที่[[อุณหภูมิ]]ต่ำกว่า[[จุดเยือกแข็ง]]) ใน[[เมฆฝน]] ปะทะกับวัตถุแข็ง เช่น ผงฝุ่น หรือ ก้อนลูกเห็บที่เกาะตัวอยู่ก่อนแล้ว และแข็งตัวเกาะรอบวัตถุนั้น ๆ เป็นก้อนลูกเห็บ ก้อนลูกเห็บนี้อาจลอยตัวก่อเป็นก้อนอยู่เบื้องบนเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนจะตกลงมา เนื่องจาก[[ลม]]ที่พัดพาอยู่เบื้องบน ดังนั้นลูกเห็บอาจเกาะตัวจนเป็นก้อนใหญ่มีน้ำหนักเกินกว่าที่ลมจะพัดให้ลอยอยู่ได้และตกลงมา
 
ฝนลูกเห็บมักจะมากับ [[พายุ]]ฝนที่รุนแรง และมักจะมีอากาศเย็น โดยที่อุณหภูมิของชั้นอากาศที่อยู่สูงนั้นเย็นกว่าอากาศที่อยู่ต่ำมาก ลูกเห็บขนาดเล็กจะถูกพัดพาสะท้อนขึ้นลงอยุ่ระหว่างชั้นบรรยากาศที่อากาศเย็นและร้อน เนื่องจากการลอยตัวขึ้นของอากาศร้อนและ[[แรงดึงดูดของโลก]] ลูกเห็บที่ลอยตัวอยู่นานก็จะมีขนาดใหญ่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ลูกเห็บขนาดใหญ่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในเขตที่มีอากาศร้อน เนื่องมาจากการลอยตัวขึ้นที่รุนแรงของอากาศร้อน และยังสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วง[[ฤดูร้อน]]อีกด้วย
 
ลักษณะของลูกเห็บส่วนใหญ่จะมีขนาด[[เส้นผ่านศูนย์กลาง]]ประมาณ 2-4 [[มิลลิเมตร]] แต่บางทีอาจมีขนาดใหญ่ถึงหลาย[[เซนติเมตร]]หรือใหญ่กว่านั้น ลูกเห็บขนาด[[เมล็ดถั่ว]]จนถึงขนาด[[ลูกกอล์ฟ]]นั้นเป็นขนาดที่พบเห็นได้ทั่วไป เมื่อผ่าลูกเห็บออกจะเห็นชั้นหลายๆ ชั้นซ้อนกันอยู่ จำนวนชั้นบอกได้ว่าลูกเห็บนี้ถูกพัดขึ้นไปสูงขึ้นกี่ครั้ง โดยชั้นข้างในจะมีสีน้ำเงิน แล้วชั้นต่อไปสีจะจางลงเรื่อยๆ จนถึงสีขาว
 
สถิติของลูกเห็บที่หนักที่สุดในโลกนั้น ตกที่ เมือง[[คอฟฟีย์วิลล์]] (Coffeyville) [[รัฐแคนซัส]] ในวันที่ [[7 กันยายน]] [[พ.ศ. 2514]] โดยหนักถึง 770 [[กรัม]] (หรือ 1.7 [[ปอนด์]]) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14.5 เซนติเมตร (5.7 [[นิ้ว]]) ส่วนลูกเห็บที่ขนาดใหญ่ที่สุดนั้นตกที่ [[ออโรรา (รัฐเนแบรสกา)|ออโรรา]] (Aurora) [[รัฐเนแบรสกา]] ในวันที่ [[22 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2546]] ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 17.8 เซนติเมตร (7 นิ้ว) แต่มีน้ำหนักน้อยกว่า อาจเนื่องมาจากมีบางส่วนแตกหลุดไปในระหว่างตกกระทบบ้าน