ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาสันสกฤต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thyj (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ภาษา
| ชื่อภาษา = สันสกฤต
| nativename = {{lang|sa|संस्कृतम्}} ''สํสฺกฺฤตมฺ''
| ภูมิภาค = [[ประเทศอินเดีย|อินเดีย]] และบางประเทศใน [[เอเชียใต้]] และ [[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]
| speakers = 6,106 ภาษาหลัก<br />194,433 ภาษาที่สอง
บรรทัด 13:
}}
 
'''ภาษาสันสกฤต''' เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สันสกฤต : {{lang-sa|संस्कृता वाक्}}, สํสฺกฺฤตา วากฺ; {{lang-en|Sanskrit}}) เป็น[[ภาษา]]ที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งใน[[ภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน]] (หรืออินเดีย-ยุโรป) [[ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน|สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน]] (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ใน[[ภาษากลุ่มอินโด-อารยัน|กลุ่มย่อยอินโด-อารยัน]] (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับ[[ภาษาละติน]]และ[[ภาษากรีก]] เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดใน[[ประเทศอินเดีย]] เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ใน[[รัฐกรณาฏกะ]]<ref>หน้า 5 ต่อจากหน้า 1, ''สมเด็จพระเทพฯกับรางวัลสันสกฤตโลก''. "สกู๊ปหน้า 1". '''ไทยรัฐ'''ปีที่ 67 ฉบับที่ 21514: วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 แรม 2 ค่ำ เดือน 1 ปีวอก</ref> โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ ๆ ขึ้นมาด้วย ใน[[ศาสนาฮินดู]]เชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่า[[ฤษี]]ทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรรพ์
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Devimahatmya Sanskrit MS Nepal 11c.jpg|thumb|300px|จารึก[[เทวีมหาตฺมฺยา]] ({{lang|sa|देवीमहत्म्या}}) บนใบลาน จารึกด้วยตัวอักษร [[Bhujimol]] ของ[[อาณาจักรพิหาร]] (Bihar) หรือ[[ประเทศเนปาล]]ในปัจจุบัน จารึกในช่วง[[พุทธศตวรรษที่ 16]]]]
 
คำว่า '''สํสฺกฤต''' ({{lang|sa|संस्कृत}}) แปลว่า "กลั่นกรองแล้ว" ส่วนคำว่า '''สํสฺกฤตา วากฺ''' ({{lang|sa|संस्कृता वाक्}}) จะใช้เพื่อเรียก "ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว" ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้น[[พราหมณ์]] ตรงข้ามกับภาษาพูดของชาวบ้านทั่วไปที่เรียกว่า[[ปรากฤต]] ภาษาสันสกฤตมีพัฒนาการในหลายยุคสมัย โดยมีหลักฐานเก่าแก่ที่สุด คือภาษาที่ปรากฏในคัมภีร์[[ฤคเวท]] (เมื่อราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล) อันเป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้าใน[[ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู|ลัทธิพราหมณ์]]ในยุคต้น ๆ อย่างไรก็ตาม ในการจำแนกภาษาสันสกฤตโดยละเอียด นักวิชาการอาจถือว่าภาษาในคัมภีร์ฤคเวทเป็นภาษาหนึ่งที่ต่างจากภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classical language) และเรียกว่า '''[[ภาษาพระเวท]]''' (Vedic language) ภาษาพระเวทดั้งเดิมยังมิได้มีการวางกฎเกณฑ์ให้เป็นระเบียบรัดกุมและสละสลวย และมีหลักทางไวยากรณ์อย่างกว้าง ๆ ปรากฏอยู่ในบทสวดในคัมภีร์พระเวทของ[[ศาสนาฮินดู]] เนื้อหาคือบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า เอกลักษณ์ที่ปรากฏอยู่เฉพาะในภาษาพระเวทคือระดับเสียง (Accent) ซึ่งกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และถือเป็นสิ่งสำคัญของการสวดพระเวทเพื่อให้สัมฤทธิผล
 
ภาษาสันสกฤตมีวิวัฒนาการมาจากภาษาชนเผ่าอารยัน หรืออินโดยูโรเปียน (Indo-European) บรรพบุรุษของพวกอินโด-อารยัน ตั้งรกรากอยู่เหนือเอเซียตะวันออก (ตอนกลางของทวีปเอเชีย - Central Asia) โดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง กลุ่มอารยันต้องเร่ร่อนทำมาหากินเหมือนกันชนเผ่าอื่น ๆ ในจุดนี้เองที่ทำให้เกิดการแยกย้ายถิ่นฐาน การเกิดประเพณี และภาษาที่แตกต่างกันออกไป ชนเผ่าอารยันได้แยกตัวกันออกไปเป็น 3 กลุ่มใหญ่ กลุ่มที่ 1 แยกไปทางตะวันตกเข้าสู่[[ทวีปยุโรป]] กลุ่มที่ 2 ลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ อนุมานได้ว่าน่าจะเป็นชนชาติ[[อิหร่าน]]ใน[[เปอร์เซีย]] และกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่สำคัญที่สุด กลุ่มนี้แยกลงมาทางใต้ตามลุ่ม[[แม่น้ำสินธุ]] (Indus) ชาวอารยันกลุ่มนี้เมื่อรุกเข้าในแถบลุ่มแม่น้ำสินธุแล้ว ก็ได้ไปพบกับชนพื้นเมืองที่เรียกว่า [[ดราวิเดียน]] (Dravidian) และเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมและภาษา โดยชนเผ่าอารยันได้นำภาษาพระเวทยุคโบราณเข้าสู่อินเดียพร้อม ๆ กับความเชื่อทางศาสนา ซึ่งในยุคต่อมาได้เกิดตำราไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตคือ [[อัษฏาธยายี|อษฺฏาธฺยายี]] (अष्टाध्यायी "ไวยากรณ์ 8 บท") ของ[[ปาณินิ]] เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในช่วง[[พุทธกาล]] ปาณินิเห็นว่าภาษาสันสกฤตแบบพระเวทนั้นมีภาษาถิ่นปนเข้ามามากพอสมควรแล้ว หากไม่เขียนไวยากรณ์ที่เป็นระเบียบแบบแผนไว้ ภาษาสันสกฤตแบบพระเวทที่เคยใช้มาตั้งแต่ยุคพระเวทจะคละกับภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ทำให้การประกอบพิธีกรรมไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น จึงแต่งอัษฏาธยายีขึ้น ความจริงตำราแบบแผนไวยากรณ์ก่อนหน้าปาณินิได้มีอยู่ก่อนแล้ว แต่เมื่อเกิดอัษฏาธยายีตำราเหล่านั้นก็ได้หมดความนิยมลงและสูญไปในที่สุด ผลของไวยากรณ์ปาณินิก็คือภาษาเกิดการจำกัดกรอบมากเกินไป ทำให้ภาษาไม่พัฒนา ในที่สุด ภาษาสันสกฤตแบบปาณินิ หรือภาษาสันสกฤตแบบฉบับ จึงกลายเป็นภาษาเขียนในวรรณกรรม ซึ่งผู้ที่สามารถจะอ่าน เขียนและแปลได้จะต้องใช้เวลามากพอสมควร
บรรทัด 60:
 
== อักษร ==
[[ไฟล์:Manuscripts2a.jpg|thumb|350px|สันสกฤตอักษรรัญชนาจาก The Asha Archives, a public library of Nepalese Manuscripts กาฐมัณฑุ เป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนา]]
 
ภาษาสันสกฤตไม่มีอักษรสำหรับเขียนชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ และก็คล้ายกับภาษาอื่นหลายภาษา นั่นคือสามารถเขียนได้ด้วยอักษรหลายชนิด อักษรเก่าแก่ที่ใช้เขียนภาษาสันสกฤตมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น [[อักษรขโรษฐี]] (Kharosthī) หรือ[[อักษรคานธารี]] (Gāndhārī) นอกจากนี้ยังมี[[อักษรพราหมี]] (อักษรทั้งสองแบบพบได้ที่จารึกบน[[เสาอโศก]]) [[อักษรรัญชนา]] ซึ่งนิยมใช้จารึกคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในอินเดียเหนือและ[[เนปาล]] รวมถึง [[อักษรสิทธัม]] ซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พุทธศาสนารวมถึงบทสวดภาษาสันสกฤตใน[[ประเทศจีน]]และญี่ปุ่นโดยเฉพาะในนิกาย[[มนตรยาน]] อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปนิยมเขียนภาษาสันสกฤตด้วย[[อักษรเทวนาครี]] (Devanāgarī) ส่วนอักษรอื่น ๆ เป็นความนิยมในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้เนื่องจากอักษรที่ใช้ในอินเดีย มักจะเป็นตระกูลเดียวกัน จึงสามารถดัดแปลงและถ่ายทอด (transliteration) ระหว่างชุดอักษรได้ง่าย