ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้ายโศวรมันที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
เมื่อเสวยราชย์แล้ว ยโศวรรมันที่ 1 ทรงยกทัพไปตี[[อาณาจักรจามปา]] ตามความในจารึกที่[[บันทายฉมาร์]] (បន្ទាយឆ្មារ ''บนฺทายฉฺมาร'')<ref name=Maspero>Maspero, G., 2002, The Champa Kingdom, Bangkok: White Lotus Co., Ltd., {{ISBN|9789747534993}}</ref>{{rp|54}}
 
ช่วงปีแรก ๆ แห่งรัชกาล พระองค์ทรงสร้างอาศรมราว 100 แห่งทั่วแว่นแคว้น เพื่อเป็นที่พักกลางทางสำหรับนักบวชและราชวงศ์<ref name=Coedes/>{{rp|111–112}} ครั้น ค.ศ. 893 พระองค์ทรงเริ่มให้สร้างฝายเรียก "[[อินทรตฎาก]]" (ឥន្ទ្រតដាក ''อินฺทฺรตฎาก'') ตามพระดำริของพระบิดา ที่กลางฝาย (ซึ่งปัจจุบันแห้งเหือดสิ้นแล้ว) ทรงให้สร้างวัดชื่อ [[ปราสาทลลไลลอเลย]] (ប្រាសាទលលៃ)<ref>Jessup, p.77; Freeman and Jacques, pp.202 ff.</ref>
 
ต่อมา พระองค์ทรงให้ย้ายพระนครจาก[[หริหราลัย]] (ហរិហរាល័យ) ไปยัง[[ยโศธรปุระ]] (យសោធរបុរៈ ''ยโสธรบุระ̤'') ที่ซึ่งภายหลังมีโบราณสถานสำคัญจัดตั้งขึ้นมากมาย เช่น [[นครวัด]] นักประวัติศาสตร์คาดว่า เหตุที่ทรงให้ย้ายพระนครนั้น เป็นเพราะพระนครเดิมแออัดไปด้วยศาสนสถานที่กษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ทรงสร้างไว้ ด้วยตามประเพณีแล้ว แต่ละพระองค์ทรงจำต้องมีที่ประทับหลังสิ้นพระชนม์เป็นของพระองค์เอง อีกสาเหตุอาจเป็นเพราะพระนครแห่งใหม่อยู่ใกล้[[แม่น้ำเสียมเรียบ]] ทั้งอยู่กลางทางไป[[พนมกุเลน]] (ភ្នំគូលេន ''ภฺนํคูเลน''; "ภูเขาลิ้นจี่") และทะเลสาบเขมร จะได้มีแหล่งน้ำถึงสองแห่ง<ref name=Coedes>{{cite book|last= Coedès|first= George|authorlink= George Coedès|editor= Walter F. Vella|others= trans.Susan Brown Cowing|title= The Indianized States of Southeast Asia|year= 1968|publisher= University of Hawaii Press|isbn= 978-0-8248-0368-1}}</ref>{{rp|103}}
บรรทัด 41:
ยโศธรปุระมีศูนย์กลางอยู่ที่[[ปราสาทพนมบาแคง|พนมบาแคง]] (ភ្នំបាខែង ''ภฺนํบาแขง'') และมีเส้นทางเชื่อมไปยังพระนครเดิม เมื่อทรงตั้งพระนครใหม่แล้ว ทรงให้ขุดฝายขนาดใหญ่ชื่อ "ยโศธรตฎาก" (យឝោធរតដាក) หรือชื่อปัจจุบัน คือ "[[บารายตะวันออก]]" (បារាយណ៍ខាងកើត ''บารายณ์ขางเกีต'')<ref name=Higham>Higham, C., 2001, The Civilization of Angkor, London: Weidenfeld & Nicolson, {{ISBN|9781842125847}}</ref>{{rp|64–65}}
 
เพราะฉะนั้น ปราสาทลลไลลอเลย พนมบาแคง และบารายตะวันตก จึงเป็นอนุสรณ์แห่งกษัตริย์พระองค์นี้<ref>Goloubev, Victor. ''Nouvelles récherches autour de Phnom Bakhen. Bulletin de l'EFEO'' (Paris), 34 (1934): 576-600.</ref><ref name=Higham1>Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., {{ISBN|9786167339443}}</ref>{{rp|360–362}}
 
ในรัชสมัยยโศวรรมันที่ 1 ยังมีการสร้างปราสาทที่สำคัญอีกสองแห่งที่ยโศธรปุระ คือ [[พนมโกรม]] (ភ្នំក្រោម ''ภฺนํโกฺรม'') กับ[[พนมบูก]] (ភ្នំបូក ''ภฺนํบูก'')<ref name=Coedes/>{{rp|113}}