ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสามเสน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 4:
 
==ประวัติ==
แต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่[[ทุ่งนา]]และ[[คลองสามเสน|ลำคลอง]]มีชื่อเรียกว่า "ทุ่งสามเสน" ติดริม[[แม่เจ้าพระยา]] มีปรากฏตั้งแต่[[อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา]] รัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] โดยชาวโปรตุเกสที่ได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดศึกสงคราม ชาวโปรตุเกสได้รับราชการสงครามมีความดีความชอบ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินให้เข้ามาอยู่อาศัยเมื่อราว พ.ศ. 2217 จึงได้มีการสร้าง[[วัดคอนเซ็ปชัญ]] หรือวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล ศาสนาสถานของศาสนาคริสต์นิกาย[[โรมันคาทอลิก]] ซึ่งในตอนแรกเป็นเพียงแค่โบสถ์ไม้ นับเป็นศาสนสถานของคาสนาคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และกลายเป็นชุมชนเรียกว่า "บ้านโปรตุเกส" หากแต่แถบทุ่งสามเสนนี้ ก็เป็นพื้นที่ ๆ มีผู้คนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โดยปรากฏหลักฐาน คือ [[วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร]] (วัดสมอราย) ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ก่อนอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และ[[วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร]] (วัดสมอแครง) รวมถึง[[วัดโบสถ์สามเสน]]ที่สร้างในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
 
ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] รัชกาลที่ 1 ในช่วงต้น[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ได้โปรดเกล้าฯ ให้[[ชาวเขมร]]ที่เข้ารีตศาสนาคริสต์ที่หลบลี้ภัยสงครามมา เข้ามาอยู่อาศัยที่บ้านโปรตุเกสนี้ ทำให้หมู่บ้านโปรตุเกสเปลี่ยนชื่อเป็น "หมู่บ้านเขมร" โดยมีชาวเขมรผู้หนึ่งชื่อ นายแก้ว มีตำแหน่งเป็นจางวาง ทำหน้าที่เป็นนายหมู่บ้านด้วย ต่อมาสังฆราชปาเลกัว ([[ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว]]) ได้เข้ามาเป็นอธิการวัดคอนเซ็ปชัญ ก็ได้สร้างความเจริญให้แก่วัดแห่งนี้ตราบจนถึงปัจจุบัน<ref name=สาน>{{cite web|url=http://www.sanfah.com/portfolio/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3-season3-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99|work=[[พินิจนคร]]|date=2012-05-04|accessdate=2018-02-17|title=
สามเสน...ประวัติศาสตร์บรรพชนคนนานาชาติ ต้นกำเนิดการประปาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์}}</ref> ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้[[ชาวญวน]]ที่อพยพเข้ามาในกรุงรัตนโกสินทร์อันเนื่องจากมีการปราบปราบชาวญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ เข้ามาอาศัยอยู่ยังบริเวณวัดส้มเกลี้ยง ซึ่งเป็นวัดร้าง เหนือหมู่บ้านเขมร เรียกกันว่า "หมู่บ้านญวน" และมีการสร้าง[[วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์]] และกลายมาเป็น[[ไทยเชื้อสายญวน|ชุมชนชาวญวน]]มาจนถึงปัจจุบัน<ref name=สาน/><ref name=พิ/>
 
โดยชื่อ "สามเสน" นั้น ยังไม่ทราบถึงความหมายและที่มาที่ไปแน่ชัด มีตำนานเล่าว่า [[หลวงพ่อโต (บางพลี)|หลวงพ่อโต]] พระพุทธรูปมาจาก[[วัดบางพลีใหญ่ใน]] (ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ) ได้ลอยน้ำลงมาจากทางเหนือ มาปรากฏอยู่แถบนี้ ผู้คนได้มาช่วยกันฉุดลากขึ้นจากน้ำ แต่ก็ไม่ขึ้น เพราะเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 3 คืบ จนมีคนผู้มาช่วยกันถึงสามแสนคนก็ยังไม่สำเร็จ แต่ผลุบจมหายไป เลยเรียกตำบลนั้นว่า "สามแสน" ต่อมาก็เพี้ยนเป็น "สามเสน" ซึ่งสามเสนก็ยังปรากฏอยู่ใน[[นิราศพระบาท]]ของ[[สุนทรภู่]] เมื่อปลายปี พ.ศ. 2350 ด้วย<ref name=พิ>{{cite web|url=https://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000075929|title=เหตุที่มี “บ้านเขมร” และ “บ้านญวน” อยู่ที่ทุ่งสามเสน! ก่อนจะถูกบุกเบิกเป็นย่านสร้างวังจนเต็มทุ่ง!!|first=โรม|last=บุนนาค|date=2017-07-26|accessdate=2018-02-17|work=[[ผู้จัดการออนไลน์]]}}</ref>
 
แต่จากหลักฐานแผนที่ในจดหมายเหตุหมอแกมป์เฟอร์ (เอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์) นายแพทย์ชาวเยอรมันที่ได้เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 2233 ได้ระบุตำแหน่งที่ชื่อว่า Ban Samsel ซึ่งชื่อดังกล่าวมีความใกล้เคียงกับคำว่า "บ้านสามเสน" อีกทั้งตำแหน่ง Ban Samsel ก็ตั้งอยู่ระหว่างป้อมที่บางกอก (ฝั่งธนบุรี) กับตลาดแก้ว ตลาดขวัญ (จังหวัดนนทบุรี)