ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหากัจจายนะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ความเชื่อของมหายาน
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''พระมหากัจจายนะ''' ({{lang-pi|มหากจฺจายน}}, {{lang-sa|มหากาตฺยายน}}) เป็น[[พระอรหันต์]]องค์หนึ่งใน[[พระอสีติมหาสาวก]]ของ[[พระโคตมพุทธเจ้า]] ได้รับการยกย่องว่าเป็น[[เอตทัคคะ]]ในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
 
พระมหากัจจายนมีอีกชื่อหนึ่งว่า กัจจานะ (หรือกัจจายนะ) ในญี่ปุ่นรู้จักทั่วไปในชื่อ "คะเซ็นเน็นโอ่เต้" (Kasennen{{lang-ja|布袋}}) ถือว่าเป็นหนึ่งใน[[เจ็ดเทพเจ้าโชคลาภ]] (七福神; ''ชิจิฟุกุยิน'') ด้วย ส่วนในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระสังกัจจายน์" หรือ "พระสังกระจาย"
 
พระมหากัจจายนะเกิดในตระกูล[[พราหมณ์]]ตระกูลหนึ่งในกรุง[[อุชเชนี]] ได้รับการศึกษาในทาง[[พระเวท|ไตรเพทเวทมนตร์]]ตามอย่างตระกูลพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านเป็นศิษย์ของอสิตดาบสแห่ง[[เขาวินธัย]] (ผู้ทำนายว่าเจ้าชายสิทธิตถะจะได้เป็น[[พระเจ้าจักรพรรดิ]]หรือ[[พระพุทธเจ้า]]ในอนาคต) พระมหากัจจายนะพร้อมด้วยมิตรอีก 7 คนได้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมเทศนา และได้บรรลุธรรมเป็น[[พระอรหันต์]]ในระหว่างฟังธรรมนั้นเอง หลังจากนั้นท่านจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธเจ้า และได้เผยแผ่ศาสนาพุทธอยู่ใน[[แคว้นอวันตี]]จนมีผู้เข้ามาเป็นสาวกในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก
 
ใน[[พระสูตรมหายาน]]ชื่อ[[สัทธรรมปุณฑรีกสูตร]] บรรพที่ 6 ว่าด้วยการพยากรณ์ ได้กล่าวถึงพุทธพยากรณ์ว่า พระมหากัจจายนะ [[พระสุภูติ]] [[พระมหากัสสปะ]] และ[[พระมหาโมคคัลลานะ]] (ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น) หลังจากได้สดับพระสูตรนี้แล้ว จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
 
รูปลักษณ์ของพระมหากัจจายนะตามคติมหายานและ[[เซน]]ของจีนหรือญี่ปุ่น มักจะปรากฏเป็นรูปชายรูปร่างอ้วนพุงพลุ้ย แต่มีอากัปกิริยาร่าเริงแจ่มใส ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา และเชื่อว่าข้างกายมีกระสอบอยู่ใบหนึ่งสำหรับจับ[[งูพิษ]]เพื่อไม่ให้ทำอันตรายต่อมนุษย์ จึงนิยมบูชาพระพุทธรูปพระมหากัจจายนะมาก ด้วยความเชื่อว่านำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ และมักจะลูบพุงที่พลุ้ยด้วยเชื่อว่าเป็นการขอให้ความทุกข์ทั้งหลายทะลักไปเข้ากระสอบข้างตัว
 
== อ้างอิง ==
เส้น 12 ⟶ 14:
* {{cite book | last = Chandra | first = Lokesh | authorlink = Lokesh Chandra | title = Dictionary of Buddhist Iconography | publisher = [[Aditya Prakashan]] | year = 2002 | pages = 1652–1653 | isbn = 8177420496 }}
* {{cite book | last = Keown | first = Damien | authorlink = Damien Keown | title = A Dictionary of Buddhism | publisher = [[Oxford University Press]] | year = 2003 | isbn = 0198605609 | page = 140 }}
*หน้า 3, ''พระพุทธรูปหัวร่อ'' โดย กิเลน ประลองเชิง. "ชักธงรบ". '''ไทยรัฐ'''ปีที่ 69 ฉบับที่ 21933: วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา
 
{{เอตทัคคะบุคคล}}