ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยิมนาสติก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Puris12 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Daniele Hypólito 16072007.jpg|thumb|250px|Daniele Hypólito บนคานทรงตัว]]
ยิมนาสติก เป็นกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันเพื่อทดสอบความแข็งแรง (Strength) ของนักกีฬา รวมทั้งจังหวะ (Rhythm) ความยืดหยุ่นตัวหรือความอ่อนตัว (Flexibility) และ ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) กีฬายิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขันมี 3 แบบคือ ยิมนาสติกสากล (Artistic Gymnastics) ยิมนาสติกลีลา (Rhythmic Gymnastics) และ แทรมโปลิน (Trampoline) สำหรับยิมนาสติกสากลและแทรมโปลินจะแข่งขันได้ทั้งชายและหญิง ส่วนยิมนาสติกลีลาจะแข่งขันเฉพาะหญิงเท่านั้น
'''ยิมนาสติก''' ({{Lang-en|Gymnastics}}) เป็น[[กีฬา]]ที่เกี่ยวกับการแสดง ความแข็งแรง ความสวยงาม ความคล่องแคล่ว และการทำงานประสานกันของร่างกาย เป็นกีฬาสากลประเภทหนึ่งที่จัดเข้าแข่งขันในกีฬา[[โอลิมปิก]] ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มมาเมื่อใด แต่มาปรากฏก่อนคริสต์ศักราช 2,600 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาวจีนได้มีการฝึกฝนท่ากายบริหารและคิดประดิษฐ์ท่ากายบริหารขึ้น แต่การเริ่มต้นยิมนาสติกอย่างแท้จริงน่าจะเริ่มสมัยเริ่มต้นของประวัติศาสตร์แห่งชาว[[กรีก]]และ[[โรมัน]] โดยเฉพาะกรีกโบราณ คำว่ายิมนาสติก เป็น[[ภาษากรีก]] มาจากคำว่า Gymnos แปลว่า Nude หรือแปลว่า Naked Art มีความหมายว่า "ศิลปะแห่งการเปลือยเปล่า"
 
ในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการกำหนดประเภท[[ยิมนาสติกสากล]] ประเภทชายมี 6 อุปกรณ์ และหญิงมี 4 อุปกรณ์
ยิมนาสติกสากลจะประกอบด้วยประเภทแข่งขันต่างๆ และในแต่ละประเภทก็จะมีกรรมการตัดสินเพื่อให้ได้ผู้ชนะ ยิมนาสติกลีลาก็ประกอบด้วยประเภทแข่งขันต่างๆ โดยจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ลูกบอล ห่วงฮูล่า เป็นต้น ส่วนในการแข่งขันแทรมโปลินก็จะพิจารณาหาผู้ชนะจากท่าที่ใช้ขณะที่ลอยตัวอยู่ในอากาศ
 
;อุปกรณ์ในประเภทชาย
กติกาการแข่งขันยิมนาสติกถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธ์ยิมนาสติกสากล (Federation Internationale de Gymnastique
# ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (Floor exercise)
# ม้าหู หรือม้าหมุน (Pommel horse)
# ห่วง (Rings)
# ม้ากระโดด (Long horse)
# บาร์คู่ (Parallel bars)
# บาร์เดี่ยว (Horizontal bar)
 
;อุปกรณ์ในประเภทหญิง
(FIG) ตั้งอยู่ที่เมืองมัวเตีย (Moutier) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสาขาในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ที่เมืองอินเดียนาโปลิส มลรัฐอินเดียนา สาขาในแคนาดาอยู่ที่เขตกลูเชสเตอร์ เมืองออนตาริโอ
# ม้ากระโดด (Vaulting horse)
# บาร์ต่างระดับ (Uneven bars)
# คานทรงตัว (Balance bars)
# ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (Floor exercise)
 
ยิมนาสติกอีกประเภท คือ [[ยิมนาสติกลีลาประกอบดนตรี]] (Rhythmic Sportive Gymnastic) เกิดขึ้นในปี [[พ.ศ. 2513]] ทางแถบยุโรปตอนเหนือ ผู้เล่นจะเป็นผู้หญิงเท่านั้น เป็นการแสดงบนฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ โดยจะเป็นการเคลื่อนไหวประกอบเสียงดนตรี และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น บอล (Ball) ริบบิ้น (Ribbin) คทา หรือคลับ (Club) ห่วง (Hoop) เชือก (Robe)
 
ยิมนาสติกทั้งสองประเภทจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ยิมนาสติกสากล
2. ความหมาย
 
ส่วนยิมนาสติกายกรรม หรือยิมนาสติกผาดโผนมิได้ขึ้นกับ[[สหพันธ์ยิมนาสติกสากล]] มีลักษณะการแข่งขันทั้งประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภททีม เป็นลักษณะของการต่อตัว ผสมกับการแสดงท่ายืดหยุ่น หรือการตีลังกาทั้งบนฟลอร์ และกลางอากาศ โดยผู้เล่นแสดงเข้าจังหวะเสียงดนตรีให้มีความกลมกลืน ในเวลาที่กำหนด
ยิมนาสติก (Gymnastics) เป็นกิจกรรมทางกีฬาชนิดหนึ่ง ที่มีการแสดงออกด้วยการเคลื่อนไหวอย่างมีหลักเกณฑ์ แบบแผนและศิลปะ โดยประสาทและกล้ามเนื้อจะต้องทำงานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพจากผลของการแสดงออก และการเคลื่อนไหวเหล่านั้นจะทำให้ร่างกายเกิดพัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกายเป็นหลัก
 
== อ้างอิง ==
ยืดหยุ่น (Tumbling) เป็นกิจกรรมการเล่นโลดโผน อันประกอบไปด้วยการกลิ้ง การม้วนตัว การดีดสปริง การหมุนตัว และการตีลังกาแบบต่างๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความคล่องแคล่วว่องไวในการเคลื่อนไหวร่างกาย ความสามารถในการทรงตัว การควบคุมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานได้ตามความต้องการ และยังแสดงถึงความสามารถในการเพิ่มแรง เพิ่มความเร็ว หรือการผ่อนแรงกระแทกให้เบาลง โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์
* [http://www.siamsport.co.th/Sportdata_gymnastic_data.html ประวัติยิมนาสติก] siamsport.co.th
 
{{กีฬาในโอลิมปิกฤดูร้อน}}
ยืดหยุ่นเป็นกิจกรรมย่อยอย่างหนึ่งของกีฬายิมนาสติก โดยจัดเป็นยิมนาสติกกายกรรม (Acrobatic Gymnastics) และยังเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของฟลอร์เอ็กเซอไซด์ด้วย
[[หมวดหมู่:ยิมนาสติก]]
 
{{โครงกีฬา}}
 
2. ประวัติและพัฒนาการของกีฬายิมนาสติก
 
กีฬายิมนาสติกถือกำเนิดขึ้นเมื่อไร ที่ไหน ไม่มีหลักฐานปรากฏที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าในสมัยก่อนนั้นคำว่า “ยิมนาสติก” มีความหมายว่า “กิจกรรมเพื่อการออกกำลังกาย” หรือบางทีก็อาจจะตีความหมายว่า ยิมนาสติกคือกีฬาหรือกรีฑาก็ได้ แม้ในปัจจุบันในประเทศเยอรมันก็ยังเรียกการพลศึกษาว่า “ยิมนาสติก”
 
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าชาวจีนได้มีการคิดท่ากายบริหารขึ้นมาเพื่อการบริหารร่างกายให้เกิดความแข็งแรง และถือเป็นการป้องกันและรักษาโรคได้ด้วย นอกจากนี้ชาวจีนยังรู้จักการเล่นกายกรรมในลักษณะของการต่อตัว การไต่เชือกและการตีลังกาแบบต่างๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายยิมนาสติกในปัจจุบัน
 
เชื่อกันว่าชาวกรีกและชาวโรมันเป็นผู้ริเริ่มสนใจและฝึกฝนยิมนาสติกอย่างจริงจัง ชาวกรีกได้เน้นให้เยาวชนได้ฝึกยิมนาสติก เช่น การวิ่ง การกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง การเต้นรำประกอบดนตรี และการเล่นเกมต่างๆ โดยเรียกกิจกรรมเหล่านี้ว่า “ยิมนาสติกเพื่อเยาวชน”
 
ชาวโรมันได้รับอารยธรรมจากกรีก ได้นำกิจกรรมยิมนาสติกมาสร้างความเข้มแข็งให้กับทหารในกองทัพ กิจกรรมที่นำมาฝึกได้แก่ การวิ่ง การกระโดดข้ามม้า การพุ่งหอก การขว้างก้อนหิน ฟันดาบ ไต่เชือก ไต่กำแพง และมวยปล้ำ โดยเรียกยิมนาสติกของชาวโรมันว่า “ยิมนาสติกเพื่อการทหาร”
 
เราจะเห็นว่ายิมนาสติกเหล่านี้ไม่มีรูปแบบที่แน่นอนเหมือนในปัจจุบัน แต่มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือสร้างความ
 
แข็งแรงให้กับคนโดยใช้การออกกำลังกายเป็นสื่อ พอจะสรุปได้ว่ายิมนาสติกพัฒนามาจาก
 
- สงครามและการต่อสู้ - การเต้นรำและศิลปะดนตรี
 
- กายกรรม - เกมเพื่อการออกกำลังกาย
 
เมื่ออาณาจักรโรมันเข้าสู่ยุคมืด กิจกรรมยิมนาสติกก็เสื่อมลงไปด้วย จนถึงสมัยกลางยิมนาสติกก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะประเทศต่างๆ ในยุโรป
 
ในประเทศเยอรมันได้มีการพัฒนายิมนาสติกขึ้นอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ.1776 โยฮัน เบสโดว์ (Basedow Johann Bernhard) ได้บรรจุยิมนาสติกเข้าไว้ในหลักสูตรการพลศึกษา เบสโดว์จึงได้ชื่อว่าเป็นครูสอนยิมนาสติกคนแรก กิจกรรมยิมนาสติกที่เขานำมาสอนได้แก่ การวิ่ง กระโดดสูง ขี่ม้า ยกน้ำหนัก เดินทรงตัวบนคานไม้ ปีนต้นไม้ ว่ายน้ำ และเกมต่างๆ
 
ต่อมาในปี ค.ศ.1793 กุตมุธส์ (Guts Muths Johann Christian) ชาวเยอรมัน ได้เขียนตำรายิมนาสติกขึ้นเป็นเล่มแรกชื่อ “Gymnastic For Youth” เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นคุณปู่แห่งวงการยิมนาสติก กิจกรรมต่างๆ ที่เขาได้บรรจุไว้ในหนังสือ เขาได้ใช้หลักการและการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ พบว่ากิจกรรมเหล่านี้จะพัฒนาคนได้เกือบทุกด้าน กิจกรรมดังกล่าวได้แก่ วิ่งเร็ว กระโดดสูง กระโดดไกล ฟันดาบ ปีนต้นไม้ มวยปล้ำ การขว้างปา ยิงธนู ว่ายน้ำ การเต้นรำ การเดินทรงตัวบนคานไม้ และเกมต่างๆ
 
ต่อมา จาห์น (Friedrich Ludwig Jahn) ได้คิดประดิษฐ์อุปกรณ์และสถานที่สำหรับฝึกยิมนาสติกขึ้นด้วย เขาจึงได้ชื่อว่า “บิดาแห่งยิมนาสติก” อุปกรณ์ที่เขาได้คิดค้นขึ้น ได้แก่ ราวเดี่ยว (Horizontal Bar) ราวคู่ (Parallel Bar) ม้ากระโดด (Vaulting Horse) คานทรงตัว (Balance Beam) ฟรีเอ็กเซอร์ไซด์ (Floor Exercise) ม้าหู (Side Horse) ส่วนห่วง (Rings) และ
 
ราวต่างระดับ (Uneven Bars) คิดขึ้นในสมัยกลาง
 
ต่อมาในปี ค.ศ.1800 นักยิมนาสติกชาวสวีเดนชื่อ “ลิงก์” (Pehr Henrik Ling) ได้นำจังหวะและการประสานงานของท่าต่างๆ อย่างต่อเนื่องโดยใช้อุปกรณ์ห่วงฮูล่า คฑา และลูกบอลเล็ก ซึ่งปัจจุบันก็คือยิมนาสติกลีลา
 
ยิมนาสติกเริ่มการแข่งขันครั้งแรก ในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อปี ค.ศ.1896
 
ในปี ค.ศ.1903 ตั้งสหพันธ์ยิมนาสติกสากล (Federation International De Gymnastic = FIG) ได้จัดให้มีการแข่งขันยิมนาสติกชิงแชมป์โลกขึ้นนับเป็นครั้งที่ 7 และให้เปลี่ยนการแข่งขันเป็น 4 ปีต่อครั้ง เหมือนกับกีฬาโอลิมปิก โดยจะจัดก่อนกีฬาโอลิมปิก 1 ปี
 
ในระยะแรกของการแข่งขันกีฬายิมนาสติกจะแข่งขันเฉพาะชาย ต่อมาในปี ค.ศ.1928 จึงจัดให้มีการแข่งขันประเภทหญิงด้วย (ตรงกับกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 9 ค.ศ.1928)
 
ในช่วงระยะเวลาที่กล่าวมาแล้ว กิจกรรมยิมนาสติกที่ใช้ในการแข่งขัน มีลักษณะคล้ายกับยิมนาสติกในปัจจุบัน อีกส่วนหนึ่งก็คล้ายกับกรีฑา บางครั้งก็มีว่ายน้ำรวมอยู่ด้วย ทางสหพันธ์ยิมนาสติกสากลจึงคิดว่าควรจะแยกการแข่งขันยิมนาสติกออกจากกรีฑา
 
ในปี ค.ศ.1934 เริ่มบรรจุม้ากระโดดและราวต่างระดับเข้าไว้ในการแข่งขันยิมนาสติกด้วย
 
ในปี ค.ศ.1952 ได้มีการกำหนดอุปกรณ์ชายมี 6 อุปกรณ์ และหญิงมี 4 อุปกรณ์ ดังนี้ ชาย 6 อุปกรณ์ได้แก่ ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ ม้าหู ห่วงนิ่ง ม้ากระโดด ราวเดี่ยว ราวคู่ ส่วนหญิงมี 4 อุปกรณ์ได้แก่ ม้ากระโดด ราวต่างระดับ คานทรงตัว
 
และฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ เรียกยิมนาสติกดังกล่าวนี้ว่า “ยิมนาสติกสากล” (Artistic Gymnastics)
 
จากนั้นยิมนาสติกได้รับการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งทางด้านกติกา เทคนิค วิธีการต่างๆ จนทำให้ยิมนาสติกเจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ และในปี ค.ศ.1970 ยิมนาสติกจากสวีเดนก็ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงจัดให้มีการแข่งขันขึ้น ประเภทการแข่งขันยิมนาสติกนี้ว่า “ยิมนาสติกลีลาใหม่” (Modern Rhythmic Gymnastics) ซึ่งจะแข่งขันเฉพาะหญิงเท่านั้น อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ เชือกกระโดด ห่วงฮูล่า ลูกบอล คฑา และริบิ้นประโยชน์ของยืดหยุ่นและยิมนาสติก
 
 
3. ประโยชน์ของยืดหยุ่นและยิมนาสติก
 
3.1 พัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกายดีขึ้น ได้แก่
 
3.1.1ความแข็งแรง โดยเฉพาะแขนและขา
 
3.1.2ความทนทาน ทั้งความทนทานของกล้ามเนื้อแต่ละส่วนและความทนทานของระบบไหลเวียน-หายใจ
 
3.1.3ความเร็ว ได้จากการวิ่งและกระทำกิจกรรมต่างๆ
 
3.1.4ความคล่องแคล่วว่องไว ทั้งการหลบหลีกและเปลี่ยนทิศทาง
 
3.1.5การทรงตัว ทั้งขณะที่อยู่นิ่งและขณะที่กำลังเคลื่อนไหว
 
3.1.6พลังและอำนาจบังคับตัว
 
3.1.7ความยืดหยุ่นตัวหรือความอ่อนตัว
 
3.1.8การทำงานประสานกันของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ
 
3.2 พัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์ดีขึ้น ได้แก่
 
3.2.1 มีจิตใจกล้าหาญ กล้าแสดงออกในท่าที่อาจอาจเสี่ยงต่ออันตราย
 
3.2.2 การตัดสินใจในการกระทำกิจกรรมต่างๆ
 
3.2.3 ความสามารถในการรวบรวมสติ สมาธิ
 
3.2.4 มีความเยือกเย็น สุขุมรอบคอบ หรือระมัดระวังมากขึ้น
 
3.2.5 มีความอดทน อดกลั้น และเพียรพยายาม
 
3.3 พัฒนาการด้านสติปัญญาดีขึ้น ได้แก่
 
3.3.1ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ
 
3.3.2รู้จักคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์
 
3.3.3รู้จักยั้งคิดหรือยับยั้งชั่งใจ ไตร่ตรอง
 
ั 3.4 พัฒนาการทางสังคมดีขึ้น ได้แก่
 
3.4.1 ทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ได้
 
3.4.2 รู้จักการให้เกียรติผู้อื่นและเคารพในสิทธิของผู้อื่น
 
3.4.3 ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งกฏ กติกา ข้อบังคับ
 
3.4.4 เชื่อฟังและยอมรับในผู้ฝึกสอนหรือผู้ควบคุมทีม
 
3.4.5 สร้างเสริมความเป็นพลเมืองดีของชาติ
 
4. คุณสมบัติของนักยิมนาสติก
 
4.1 คุณสมบัติด้านร่างกาย ได้แก่
 
4.1.1มีร่างกายแข็งแรงในทุกๆ ส่วน
 
4.1.2มีความยืดหยุ่นตัวสูง
 
4.1.3มีความเร็วในการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ รวมทั้งยังสามารถเร่งความเร็วได้ดี
 
4.1.4มีความอดทน และความสามารถฝึกซ้อมได้นานๆ
 
4.1.5มีรูปร่าง สัดส่วนสวยงาม ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป
 
4.1.6มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
 
4.2 คุณสมบัติด้านจิตใจ ได้แก่
 
4.2.1มีความกล้าหาญ กล้าเสี่ยง
 
4.2.2มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร
 
4.2.3มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
 
5. คุณสมบัติของผู้ฝึกสอนยิมนาสติก
 
5.1 มีความเข้าใจและรู้ซึ้งเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์
 
5.2 มีความรู้ทันสมัยเกี่ยวกับหลักวิธีการฝึกและการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายแก่นักกีฬา
 
5.3 มีความสามารถในการวิเคราะห์ท่าทางและสไตล์ของนักกีฬา
 
5.4 มีความสามารถใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 
5.5 มีจริยธรรมและมีความเชื่อถึงคุณค่าของการแข่งขัน
 
5.6 รู้จักพัฒนาบุคลิกภาพของตน
 
5.7 มีปรัชญาเป็นของตนเอง
 
5.8 ต้องอุทิศตน กระตือรือร้น และมีความคิดริเริ่ม
 
5.9 มีเป้าหมาย
 
5.10 ต้องสร้างวินัยในทีม
 
5.11 ต้องมีจิตวิทยา
 
5.12 ต้องไม่เห็นแก่ตัว
 
5.13 มีมนุษยสัมพันธ์
 
5.14 มีความรับผิดชอบต่อผู้เล่น ชุมชน สังคม และต้นสังกัด
 
5.15 ต้องมีความรู้และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เล่น
 
5.16 มีความเป็นผู้นำ
 
5.17 ต้องมีนักกีฬาดีและเก่ง
 
6. ความปลอดภัยในการเล่นยิมนาสติก
 
6.1 สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
 
6.1.1การกระทำที่ผิดรูปแบบหรือข้ามขั้นตอน
 
6.1.2สมรรถภาพทางกายไม่ดีพอ
 
6.1.3อุปกรณ์ชำรุดหรือบกพร่อง
 
6.1.4ความไม่กล้าตัดสินใจ หรือกลัวๆ กล้าๆ
 
6.1.5ฝึกซ้อมมากเกินไป (Over Training) ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเมื่อยล้ามากเกินไป
 
6.1.6ความไม่สัมพันธ์หรือไม่เข้าใจกันระหว่างผู้เล่น (Player) และผู้ให้ความช่วยเหลือ (Supporter)
 
6.2 หลักการป้องกันความปลอดภัยในการเล่นยิมนาสติก
 
6.2.1ควรสำรวจความพร้อมของตัวผู้เล่นเอง
 
(1) สำรวจความพร้องของเครื่องแต่งกายว่า ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัยหรือไม่ เพียงใด
 
(1) สำรวจความพร้อมด้านสมรรถภาพทางกาย เช่น ความแข็งแรง ความยืดหยุ่นตัว ฯลฯ
 
(2) สำรวจความพร้อมด้านจิตใจ เช่น ความอยากเล่น ความสนุกสนาน ความวิตกกังวล ฯลฯ
 
6.2.2ควรสำรวจความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ที่เล่น
 
(1) สำรวจความเรียบร้อยของวัสดุอุปกรณ์แต่ละอย่างว่ายังใช้การได้ดีอยู่ไรือไม่ เพียงใด
 
(2) สำรวจรอยต่อของเบาะจะต้องแนบสนิทไม่มีช่องว่าง รวมทั้งรอยฉีกขาดที่มี
 
(3) สำรวจสลักยึดอุปกรณ์ที่เล่น ต้องไม่หลวมหรือหย่อนยาน
 
(4) อุปกรณ์บางชนิดที่ปรับระดับหรือระยะได้ ต้องปรับให้เหมาะสมกับผู้เล่นในแต่ละคน
 
(5) อุปกรณ์บางชนิดควรใช้ผงแมกนีเซียม ชอล์ก (Magnesium Chalk) ทาทั้งที่มือและบริเวณอุปกรณ์ที่มือจะไปสัมผัส เพื่อกันลื่น
 
6.2.3ควรมีการบริหารอบอุ่นร่างกาย และสร้างความพร้อมให้กับร่างกายก่อนเล่นเสมอ
 
6.2.4ควรเล่นจากท่าง่ายไปสู่ท่ายาก ในกรณีท่าที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตราย ไม่ควรเล่นเพียงลำพังคนเดียว จำเป็นต้องมีผู้ช่วยเหลือหรือเครื่องช่วยให้เกิดความปลอดภัย เช่น เบาะหนาๆ หรือเข็มขัดรัดเอวผูกโยงด้วยเชือกเหนียว
 
6.2.5ควรเล่นตามขั้นตอนของแบบฝึก คำนึงถึงความถูกต้องของท่า ไม่ควรเล่นข้ามขั้นตอน หรือเล่นโดยประมาท โดยเฉพาะในการเล่นท่าใหม่ๆ
 
6.2.6ในกรณีที่ฝึกหรือเล่นหลายๆ คน ควรวางเงื่อนไขให้เล่นไปในทิศทางเดียวกัน อย่าเล่นสวนทางกัน
 
6.2.7การตัดสินใจในการเล่นจะต้องเด็ดขาดและตัดสินใจเพียงครั้งเดียว ไม่ควรลังเลใจ เพราะจะทำให้จังหวะและการทรงตัวเสียไป อันอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
 
 
 
7. การอบอุ่นร่างกายก่อนเล่นยิมนาสติก
 
การเล่นกีฬาทุกชนิดจำเป็นต้องมีการอบอุ่นร่างกาย เพื่อเตรียมร่างกายให้เกิดความพร้อมที่จะทำงาน อีกทั้งยังช่วยในการป้องกันการบาดเจ็บ การอบอุ่นร่างกายในการเล่นยิมนาสติกนั้น นิยมกระทำกับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ลักษณะของการ อบอุ่นร่างกายในชั้นต้น จะกระทำเกี่ยวกับการเหยียดหรือยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อ (ความยืดหยุ่นตัว) ซึ่งถือว่าเป็นการอบอุ่นร่างกายและเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายไปในตัว อวัยวะที่เน้นในการอบอุ่นร่างกาย ได้แก่ ข้อมือ ข้อเท้า เข่า หัวไหล่ สะโพก และ ลำตัว
 
นอกจากการอบอุ่นร่างกายเพื่อความยืดหยุ่นตัวแล้ว ควรอบอุ่นร่างกายในลักษณะที่ต้องใช้ความแข็งแรงบ้าง เช่น การดึงข้อ ดันข้อ การแอ่นหลัง การก้มตัว การบิดหรือเหวี่ยง การกระโดด และ การหกสูงลักษณะต่างๆ
 
 
8. การแข่งขันยืดหยุ่น
 
8.1 ยืดหยุ่น มีการแข่งขันแตกต่างไปจากยิมนาสติกสากล โดยการแข่งขันยืดหยุ่นจะไปรวมอยู่ในยิมนาสติกกายกรรม การแข่งขันยืดหยุ่นจะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
 
8.1.1การแข่งขันประเภทเดี่ยว (Tumbling) มีทั้งชายเดี่ยว และ หญิงเดี่ยว
 
8.1.2การแข่งขันประเภทคู่ (Pairs) มีทั้งชายคู่ หญิงคู่ และ คู่ผสม
 
8.1.3การแข่งขันประเภทหมู่ (Group) มี หมู่ชาย 4 คน และ หมู่หญิง 3 คน
 
8.2 สนามที่ใช้ในการแข่งขันยืดหยุ่น
 
8.2.1สนามประเภทเดี่ยว กว้าง 1.50 เมตร ยาว 20 เมตร และมีทางวิ่งยาว 10 เมตร
 
8.2.2สนามประเภทคู่และหมู่ จะใช้สนามของฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ ขนาด 12 x 12 เมตร
 
8.3 ลักษณะของการแข่งขันยืดหยุ่น
 
8.3.1ประเภทเดี่ยว ผู้แสดงจะต้องแสดงท่ายืดหยุ่นติดต่อกันเป็นชุด ชุดละ 4-5 ท่า เป็นจำนวน 3-6 ชุด (ท่าสมัคร 3 ชุด และท่าบังคับ 3 ชุด) โดยจะต้องแสดงให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดให้
 
8.3.2ประเภทคู่และหมู่ จะเป็นการต่อตัวผสมกับการเล่นยืดหยุ่นทั้งบนฟลอร์และท่ากลางอากาศขณะต่อตัว ความสวยงามและการให้คะแนนจะดูจากความยากของการต่อตัว ความมั่นคงและการทรงตัวและความพร้อมเพรียงกันของนักกีฬา การแข่งขันการต่อตัวนี้มักใช้ชื่อว่า “ศิลปกายกรรมต่อตัว” หรือ “กายศิลป์” การแสดง ประเภทคู่และหมู่นี้ จะต้องมีเสียงดนตรีประกอบ ผู้แสดงจะต้องแสดงให้เข้ากับจังหวะดนตรีด้วย ระยะเวลาของการแสดงจะใช้เวลาตั้งแต่ 2 นาที ถึง 3 นาที
 
9. การแข่งขันยิมนาสติก
 
9.1 การแข่งขันยิมนาสติกสากล เป็นการแข่งขันที่แพร่หลายที่สุด แบ่งการแข่งขันออกเป็น ชาย 6 อุปกรณ์ และ หญิง 4 อุปกรณ์ โดยการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 3 รอบ คือ
 
9.1.1 รอบที่ 1 (Competition I) เป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละ 5-6 คน ประเภทนี้มีการแข่งขัน 2 ครั้งคือ
 
ท่าบังคับและท่าสมัคร เป็นการแข่งขันรอบคัดเลือกเพื่อเข้าแข่งขันในประเภทอื่นๆ
 
9.1.2 รอบที่ 2 (Competition II) เป็นการแข่งขันประเภทบุคคลรวม นักกีฬาที่เข้าแข่งขันจะต้องผ่านการคัดเลือกจากการแข่งขันประเภททีมมาแล้ว โดยปกติผู้ที่มีคะแนนสูง 36 คนแรก จะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันในประเภทบุคคลรวม
 
9.1.3 รอบที่ 3 (Competition III) เป็นการแข่งขันประเภทอุปกรณ์ ผู้เข้าแข่งขันจะส่งเข้าแข่งขันได้อุปกรณ์ละไม่เกิน 2 คน โดยคัดเลือกจากประเภททีมเหมือนกัน ผู้ที่คะแนนสูงสุด 6 ถึง 8 คน ก็จะเข้ามาแข่งขันกันใหม่ในรอบนี้
 
การแข่งขันยิมนาสติกนี้ นักยิมนาสติกทุกคนจะต้องเล่นทุกอุปกรณ์ที่มีอยู่ (ชาย 6 อุปกรณ์ หญิง 4 อุปกรณ์) ใน
 
รอบทีมและรอบบุคคลรวม ผู้เล่นจะต้องแสดงท่าต่างๆ ที่มีความยากง่ายแตกต่างกันเข้าเป็นชุด ชุดละไม่น้อยกว่า 10 ท่า และ
 
จะต้องแสดงท่าในชุดนั้นๆ ติดต่อกันโดยไม่หยุดพัก (ยกเว้นม้ากระโดดทั้งชายและหญิง จะแสดง 1 หรือ 2 ท่าเท่านั้น)
 
คะแนนของการเล่นบนอุปกรณ์แต่ละอย่างเป็น 10 คะแนน (ยกเว้นม้ากระโดด คะแนนจะอยู่ที่ความยากง่ายของท่าที่เลือกแสดง)
 
 
9.2 สนามและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน
 
9.2.1ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ เป็นสนามเรียบปูด้วยวัสดุที่ยืดหยุ่น ขนาดกว้างยาว 12 x 12 ม. ทั้งชายและหญิง
 
9.2.2ม้ากระโดด เป็นตัวม้า หลังบนกว้าง 30 ซม. ยาว 160 ซม.
 
(1) ชายใช้วางตามยาว สูง 135 ซม.
 
(2) หญิงวางตามขวาง สูง 120 ม.
 
9.2.3ม้าหู คล้ายม้ากระโดด แต่มีหูสำหรับจับ 2 หู หูสูง 12 ซม. อยู่ห่างกัน 40–45 ซม. ม้าสูง 110 ซม.
 
9.2.4ห่วง เป็นลักษณะห่วงคู่ แขวนขนานโดยห่วงทั้งคู่ห่างกัน 50 ซม. สูงจากพื้น 2.75 ม.
 
9.2.5ราวคู่ เป็นราวไม้ขนานกันยืดหยุ่นตัวได้ ยาว 3.50 ม. สูง 1.70-1.75 ม. ตัวราวทั้งคู่ห่างกัน 42-52 ซม.
 
9.2.6ราวเดี่ยว เป็นราวเหล็กตันยืดหยุ่นตัวได้ ยาว 2.40 ม. สูง 2.55-2.60 ม.
 
9.2.7ราวต่างระดับ คล้ายราวคู่ แต่ราวทั้งสองสูงไม่เท่ากัน ราวบนสูง 2.30 ม. ราวล่างสูง 1.50 ม.
 
9.2.8คานทรงตัว เป็นคานไม้กว้าง 10 ซม. ยาว 5 ม. สูงจากพื้น 1.20 ม.
 
9.3 การประกอบที่ชุดในฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (หญิง)
 
ชุดการแสดงต้องมีท่ายากระดับ B และท่ายากระดับ C โดยต้องมาจากกลุ่มท่าต่อไปนี้
 
9.3.1ท่าผาดโผนลอยตัวและไม่ลอยตัว ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง
 
9.3.2ท่าผาดโผนแข็งแรง
 
9.3.3ท่ายิมนาสติกต่างๆ เช่น เดิน วิ่ง กระโดด หมุนตัว กระโดดเขย่ง กระโจน
 
9.3.4ท่าทรงตัวในการยืน นั่ง นอน การเหวี่ยงแขนและทำตัวเป็นคลื่น นำมาประกอบต่อเชื่อมกัน
 
การแสดงจะต้องมีดนตรีประกอบโดยไม่มีเนื้อร้อง ผู้แสดงจะต้องเคลื่อนไหวให้เข้ากับจังหวะไปตามส่วนต่างๆ ของพื้นที่ ตลอดจนการเปลี่ยนทิศทางหรือเปลี่ยนระดับจากต่ำไปหาสูง
 
ชุดที่ใส่แข่งขันต้องเป็นชุดแนบเนื้อ แขนยาวปิดศอก ถ้าเป็นประเภททีมต้องแต่งให้เหมือนกันหมด ส่วนประเภทบุคคลจะแต่งชุดหรือสีอะไรก็ได้ ระยะเวลาในการแข่งขัน 1.10 – 1.30 นาที
 
9.4 การประกอบที่ชุดในฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ (ชาย)
 
ชุดท่าการแสดงจะประกอบด้วย ท่าทรงตัว ท่าหยุดนิ่ง ท่าความแข็งแรง ท่ากระโดด ท่าดีด ท่าสปริงมือ ท่าตีลังกาผาดโผน
 
ผู้แสดงจะต้องแสดงไปยังทุกส่วนของพื้นที่ ท่าที่แสดงต้องมีความสมบูรณ์สวยงาม การเคลื่อนไหวแขน ขา ลำตัว มือ เท้า ศีรษะ จะต้องเป็นไปตามรูปแบบของกีฬายิมนาสติก
 
ชุดที่ใส่แข่งขันต้องเป็นเสื้อกล้าม กางเกงขายาวรัดฝ่าเท้า หรือ กางเกงขาสั้นก็ได้ ระยะเวลาในการแข่งขัน 50 – 70 วินาที
 
 
9.2 ยิมนาสติกลีลา เริ่มบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก ในปี ค.ศ.1984 สนามแข่งขันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวด้านละ 12.5 ม. อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ เชือกกระโดด ห่วงฮูล่า ลูกบอล ไม้คฑา ริบิ้น ในแต่ละประเภทผู้แสดงจะต้องแสดงให้เข้ากับจังหวะดนตรี
 
9.3 แทรมโปลิน เริ่มมีการแข่งขันในปี ค.ศ.2000 ในซิดนีย์โอลิมปิก ประเทศออสเตรเลีย แบ่งการแข่งขันออกเป็นชายและหญิง กรรมการให้คะแนนมี 7 คน จะพิจารณาท่าการกระโดดขึ้นและลง การตีลังกา การบิดเกลียว และการเคลื่อนไหวในลักษณะอื่นๆ