ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Akarawut1 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎แหล่งข้อมูลบางชนิด: แก้คำผิด 1 จุด
Akarawut1 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎องค์การข่าว: แก้คำผิด 1 จุด
บรรทัด 33:
แหล่งข้อมูลข่าวมักมีทั้งเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น "การรายงานข่าว" จากสำนักข่าวที่มั่นคงโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่ามีคำแถลงข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ แต่การรายงานที่น่าเชื่อถือที่สุดก็ยังมีข้อผิดพลาดได้บางครั้ง การรายงานข่าวจากสำนักข่าวที่มั่นคงน้อยกว่าโดยทั่วไปถูกพิจารณาว่าเป็นคำแถลงข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือน้อยกว่า ความเห็นบรรณาธิการ การวิเคราะห์และความเห็น ไม่ว่าจะเขียนขึ้นโดยบรรณาธิการของสิ่งพิมพ์เผยแพร่นั้น ([[บทบรรณาธิการ]]) หรือผู้ประพันธ์ภายนอก (บทความต่างความเห็นต่อบทบรรณาธิการ [op-ed]) เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่น่าเชื่อถือแก่คำแถลงที่เป็นของบรรณาธิการหรือผู้ประพันธ์นั้น แต่แทบไม่เป็นคำแถลงข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ
* เมื่อนำสารสนเทศมาจากเนื้อหาความคิดเห็น เอกลักษณ์ของผู้ประพันธ์อาจช่วยตัดสินความน่าเชื่อถือได้ ความคิดเห็นของผู้ชำนัญพิเศษและผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับมีแนวโน้มน่าเชื่อถือและสะท้อนมุมมองที่สำคัญมากกว่า หากถ้อยแถลงดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ ให้ระบุว่าความคิดเห็นนั้นเป็นของผู้ประพันธ์ในข้อความของบทความ และไม่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริง บทวิจารณ์หนังสือ ภาพยนตร์ ศิลปะ ฯลฯ อาจเป็นความคิดเห็น บทสรุปหรืองานวิชาการก็ได้
* สำหรับสารสนเทศในหัวข้อวิชาการ แหล่งข้อมูลวิชาการและแหล่งข้อมูลมิใช่วิชาการคุณภาพสูงโดยทั่วไปจะดีกว่ารายงานข่าว รายงานข่าวอาจยอมรับได้ขึ้นอยู่กับบริบท บทความที่ว่าด้วยการศึกษาจำเพาะในเชิงลึก เช่น บทความเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ มีแนวโน้มมีคุณค่ามากกว่าบทความทั่วไปที่ว่าด้วยหัวข้อหนึ่ง ๆ เพียงผิวเผิน บ่อยครั้ง บทความเชี่นเช่นนี้เขียนขึ้นโดยผู้เขียนชำนัญพิเศษซึ่งอาจอ้างอิงจากชื่อได้
* การรายงานข่าวลือมีคุณค่าทางสารานุกรมจำกัด แม้สารสนเทศที่พิสูจน์ยืนยันได้เกี่ยวกับข่าวลืออาจเหมาะสมในบางกรณี วิกิพีเดียมิใช่ที่ส่งต่อเรื่องซุบซิบนินทาและข่าวลือ
* องค์การข่าวบางแห่งใช้บทความวิกิพีเดียเป็นแหล่งอ้างอิง ฉะนั้น ผู้เขียนควรระวังการอ้างอิงตัวเอง