ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อวัยวะเพศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pilarbini (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มส่วน
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Pilarbini (คุย | ส่วนร่วม)
→‎พัฒนาการ: แบ่งย่อหน้า
บรรทัด 61:
=== พัฒนาการ ===
ในพัฒนาการก่อนเกิด (prenatal development) ทั่วไป อวัยวะเพศชายและหญิงมาจากโครงสร้างเดียวกันระหว่างช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ต่อมาจึงค่อยแยกเป็นเพศชายหรือหญิง ยีน SRY (sex-determining region) หรือจุดบอกเพศใน[[โครโมโซมวาย]]เป็นปัจจัยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตแสดงลักษณะทางเพศชายแทนที่จะเป็นเพศหญิง (testis determing factor) [[ต่อมบ่งเพศ]]จะพัฒนาต่อไปเป็นรังไข่หากไม่มีปัจจัยกำหนดให้เปลี่ยนเป็นเพศชาย
 
ต่อมาการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ภายในและภายนอกกำหนดโดยฮอร์โมนสร้างจาก[[ต่อมบ่งเพศ]]ของทารกในครรภ์ (รังไข่หรืออัณฑะ) ส่งผลให้เซลล์ตอบสนองตาม อวัยวะเพศของทารกในครรภ์ตอนแรกมีลักษณะเหมือนอวัยวะเพศหญิง โดยมี "รอยพับอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ (urogenital fold)" คู่หนึ่งและท่อปัสสาวะอยู่ด้านหลังส่วนที่ยื่นออกมาตรงกลาง หากทารกมีอัณฑะ และหากอัณฑะสร้างฮอร์โมน[[เทสโทสเตอโรน]] และหากเซลล์ของอวัยวะเพศตอบรับต่อเทสโทสเตอโรน รอยพับจะขยายตัวและเชื่อมต่อกันในเส้นผ่ากลางกลายเป็นถุงอัณฑะ ส่วนที่ยื่นออกมาขยายใหญ่ข้ึนและตั้งตรงกลายเป็นองคชาต ส่วนขยายอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะด้านในโตขึ้นห่อรอบองคชาต และเชื่อมต่อกันตรงเส้นกลางเป็นท่อปัสสาวะ
 
แต่ละส่วนของอวัยวะเพศในเพศหนึ่งมีคู่เหมือนกำเนิดเดียวกันในอีกเพศ ขั้นตอนทั้งหมดของการแยกเพศรวมถึง[[การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ]] เช่น รูปแบบของขนหัวหน่าวและขนบนใบหน้า รวมถึงหน้าอกของผู้หญิงในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังเริ่มมีความแตกต่างในโครงสร้างสมอง ทว่าอาจไม่ได้กำหนดพฤติกรรม
 
[[ภาวะเพศกำกวม]]เป็นพัฒนาการของอวัยวะเพศที่อยู่ระหว่างเพศหญิงและเพศชาย เมื่อทารกเกิดมา ผู้ปกครองต้องทำการตัดสินใจว่าจะปรับแต่งอวัยวะเพศหรือไม่, จัดให้เด็กเป็นเพศหญิงหรือชาย หรือปล่อยอวัยวะเพศไว้อย่างนั้น ผู้ปกครองบางคนอาจให้แพทย์เป็นผู้ตัดสินใจ หากพวกเขาตัดสินใจที่จะปรับแต่งอวัยวะเพศ พวกเขามีโอกาส 50% ที่จะเลือกตรงกับ[[เอกลักษณ์ทางเพศ]] (gender identity) ของเด็ก หากพวกเขาเลือกผิดเพศ เด็กอาจแสดงอาการ[[ภาวะอยากแปลงเพศ|อยากแปลงเพศ]] และอาจทำให้เด็กมีชีวิตที่ยากลำบากจนกว่าจะแก้ปัญหา<ref name="Anne Fausto Sterling">{{cite book|last=Fausto Sterling|first=Anne|title=Sexing The Body|year=2000|publisher=New York|location=New York|pages=44–77}}</ref>
 
ด้วยความแตกต่างระหว่างโครงสร้างและการใช้งานของอวัยวะเพศทำให้เป็นระบบอวัยวะที่พัฒนาเร็วกว่าระบบอื่น<ref>Schilthuizen, M. 2014. [https://books.google.nl/books?id=xqM7AgAAQBAJ&pg=PT2&dq=nature%27s+nether+regions&hl=nl&sa=X&ei=iV3xVOmpLob7PJaagRA&ved=0CCQQ6AEwAA#v=onepage&q=nature's%20nether%20regions&f=false Nature's Nether Regions: What the Sex Lives of Bugs, Birds, and Beasts Tell Us About Evolution, Biodiversity, and Ourselves]. Penguin USA</ref> ดังนั้นในสัตว์ต่าง ๆ จึงมีรูปแบบและการใช้งานของอวัยวะเพศที่หลากหลาย