ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านหวั่งหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
==ประวัติ==
เดิมเป็นท่าเรือของ พระยาพิศาลศุภผล (ชื่น) ต้นตระกูลพิศาลบุตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2393 โดยมีชื่อว่า "ฮวงจุ้งล้ง" (火船廊) เป็นท่าเรือกลไฟ สำหรัยเรือสินค้าจากประเทศต่าง ๆ เช่น [[มลายู]], [[สิงคโปร์]] ต่อมาขายให้แก่นายตันลิบบ๊วย แห่งตระกูลหวั่งหลี โดยมีชื่อว่าในปี "ฮวงจุ้งล้ง"พ.ศ. (火船廊)2462 จนกระทั่งภายหลังบริษัทหวั่งหลี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวเข้ามาเป็นผู้บริหารดูแลบ้านหลังนี้ จึงได้ทำการบูรณะตัวบ้านใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันบ้านหลังนี้ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว เพราะลูกหลานของตระกูลต่างแยกย้ายกันออกไปหาที่อยู่อาศัยข้างนอกกันหมด บ้านหลังนี้จึงเปิดใช้เฉพาะเพื่อประกอบพิธีสำคัญของตระกูลเท่านั้น ซึ่งมีเพียงปีละ 2-3 ครั้ง และได้รับรางวัล[[อาคารอนุรักษ์]]ดีเด่น จาก[[สมาคมสถาปนิกสยาม]] ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ [[พ.ศ. 2527]]<ref>{{cite book|editor-first=Pattaranan|editor-last=Takkanon|publisher=The Association of Siamese Architects under Royal Patronage |title=ASA Architectural Awards: Bangkok Walking Guide|year=2012|isbn=9786167384061|page=159}}</ref>
 
ลักษณะอาคารสร้างด้วย[[สถาปัตยกรรมจีน]]แบบ [[ซานเหอหยวน]] (三合院) หันหน้าออกมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา และมีลานโล่งกว้างบริเวณหน้าบ้าน ซึ่งตอนนี้ถูกปรับให้เป็นสวนขนาดย่อมช่วยเพิ่มความสวยงามสบายตาจากเดิมที่เคยเป็นเพียงแค่ลานปูนเท่านั้น สิ่งก่อสร้างภายในประกอบด้วยอาคารสำคัญสามหลัง ตึกตรงกลางเป็นเรือนประธาน ซึ่งหันหน้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นศาลเจ้าของ[[ม่าจ้อโป๋|หม่าโจ๊ว]] หรือเจ้าแม่ทับทิม เทพเจ้าแห่งท้องทะเลและการเดินเรือของจีน<ref>หน้า 13 ประชาชื่น, ''ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้วไม่ใช่เจ้าแม่ทับทิม''. "เล้ง 1919 (LHONG 1919) ท่าเรือ ย้อนเวลาสู่ประวัติศาสตร์ไทย-จีน" โดย ธนะธัช ตังคะประเสริฐ: '''มติชน'''ปีที่ 40 ฉบับที่ 14495: วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560</ref> มีตึกแถวสองชั้น เพดานสูง หลังคาแบบจีนสร้างขนาบสองด้านตรงกลางระหว่างอาคารเป็นลานโล่ง ใช้ประกอบพิธีกรรมของตระกูลหวั่งหลี ในวันสำคัญตามประเพณีจีน