ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศกรีซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 160:
* การทูต
{{โครง-ส่วน}}
ไทยและกรีซได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1958 ในช่วงแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์   สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม ดูแลประเทศกรีซในฐานะประเทศในเขตอาณา  ต่อมา  ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1985 มีหน้าที่ดูแลสาธารณรัฐมอลตาในฐานะประเทศในเขตอาณา  และติดตามสถานการณ์ในเซอร์เบียและมอนเตเนโกร (อดีตสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย)  รวมทั้งดูแลความสัมพันธ์ไทย-มาซิโดเนีย อย่างไม่เป็นทางการ  นอกจากนี้ มีสำนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ประจำกรุงเอเธนส์ด้วย ในขณะที่  สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสำนักงานแรงงาน ณ กรุงเอเธนส์ได้ปิดลงก่อนหน้านี้  ส่วนกรีซได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.1989โดยมีเขตอาณาครอบคลุมประเทศใกล้เคียง อาทิ พม่า ลาว และกัมพูชา และเปิดสำนักงานพาณิชย์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ปัจจุบัน นายพฤทธิพงศ์ กุลทนันทน์ เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำกรีซ ส่วนเอกอัครราชทูตกรีซประจำประเทศไทยได้แก่นายนิโคลาออส วามวูนาคิส (H.E. Mr. Nikolaos Vamvounakis)
 
* การค้าและเศรษฐกิจ
{{โครง-ส่วน}}
การค้ารวมระหว่างไทย-กรีซมีมูลค่าเฉลี่ย 272 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลขฝ่ายไทยโดยเป็นค่าเฉลี่ยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา) ซึ่งสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น โดยไทยส่งออก 247 ล้านเหรียญสหรัฐ  นำเข้า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ  และได้เปรียบดุลการค้า 222 ล้านเหรียญสหรัฐ    สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น  ในขณะที่สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าประกอบด้วยผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้  และยา     รักษาโรค เป็นต้น  สำหรับการลงทุนระหว่างกัน  ยังไม่ปรากฏข้อมูลทางการเกี่ยวกับเรื่องนี้ในปัจจุบัน
 
ในภาพรวม การนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับกรีซดำเนินไปด้วยดี โดยมักผ่านทางผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งบางครั้งพบอุปสรรคในการตรวจพบสารเคมีในผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก และมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างกัน เช่น ไม่ชำระเงิน  จัดส่งสินค้าไม่ครบ/ล่าช้า/ไม่ถูกต้อง เป็นต้น
 
ความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและกรีซสามารถขยายตัวได้อีกมาก หากนักธุรกิจของทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มความสนใจตลาด และศึกษาโอกาส ลู่ทาง และศักยภาพของกันและกันมากกว่าที่ผ่านมา โดยกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพแข่งขันในระดับโลก ยังคงมีแนวโน้มที่ดีในตลาดกรีซ  อาทิ 1) รถบรรทุกเล็ก 2) รถจักรยานยนต์/อุปกรณ์  3) เครื่องปรับอากาศ/เครื่องทำความเย็น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มร้อนขึ้นในกรีซ  4) เสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะที่ออกแบบสวยงาม/คุณภาพดี เพื่อสร้างความแตกต่างจากเสื้อผ้านำเข้าราคาถูก  5) เครื่องประดับ อัญมณี  6) สินค้าอาหาร/อาหารกระป๋อง (ปลาทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ฯลฯ)  และ 7) กลุ่มสินค้าที่เน้นการออกแบบในระดับราคาต่างๆ(เฟอร์นิเจอร์บ้าน/สำนักงาน อุปกรณ์/ของประดับบ้าน ฯลฯ) เป็นต้น นอกจากนี้  การลงทุน และประกอบธุรกิจร่วมระหว่างไทย-กรีซ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ   ควรศึกษาความเป็นไปได้ เนื่องจากกรีซมีนักธุรกิจร่ำรวยจำนวนมาก ซึ่งนิยมนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ  กอปรกับได้ชื่อว่า มีชั้นเชิงทางธุรกิจสูง และมีทักษะเรื่องการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดประเทศเพื่อนบ้านของกรีซ   ดังนั้น หากนักธุรกิจไทยสามารถหาหุ้นส่วนทางธุรกิจที่เหมาะสมได้  ก็จะช่วยกระจายสินค้าไทยไปสู่ตลาดบอลข่าน ซึ่งไทยยังไม่คุ้นเคยได้เป็นอย่างดี
* การท่องเที่ยว
{{โครง-ส่วน}}
ชาวกรีกนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศไทยมากขึ้นตามลำดับ โดยล่าสุดมีจำนวนประมาณ 18,000 คน/ปี เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวไทยมีความหลากหลายและสวยงาม  ราคาไม่สูง  คนไทยเป็นมิตร  ประทับใจใน  การให้บริการ และการบินไทยมีเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงเทพฯ และเอเธนส์ สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน  ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเยือนกรีซไม่มากนัก เฉลี่ยประมาณ 1,500-2,000 คน/ปี
 
* การเยือน
** ฝ่ายไทย