ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิบูลย์ แช่มชื่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wiboon Shamsheun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Wiboon Shamsheun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
| name = ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น
| image = Dr.Wiboon Shamsheu.jpg
| imagesize = 150 px
| order =
บรรทัด 20:
}}
 
'''ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น''' (Professor Dr.Wiboon Shamsheun) อดีต[[สมาชิกวุฒิสภา]] [[จังหวัดกาฬสินธุ์]]
 
== ประวัติ ==
ศาสตรจารย์ ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น เป็นอดีตอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] เกิดที่[[อำเภอท่าคันโท]] [[จังหวัดกาฬสินธุ์]] บิดาเป็นครูประชาบาล มารดาเป็นแม่บ้าน มีพี่น้อง 7 คน สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนท่าคันโทวิทยายน ระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกาฬสินธุ์ศึกษา และโรงเรียนอุดมวิทยาอุดรธานี ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนเยาวชนไทย เข้าร่วมโครงการ เอ เอฟ เอส ไปศึกษา ณ Chariton High School, Chariton, Iowa, USA (1966-67), สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา จาก[[วิทยาลัยครูมหาสารคาม]] (มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม) ด้วยทุนคุรุสภา และปริญญาตรี จาก[[วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม|มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] (ทุนกระทรวงศึกษาธิการ) ปริญญาโท ด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยปันจาบ (ทุน Indian Government Cultural Scholarship) และปริญญาเอก สาขาารบริหารและการวิจัย จากมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา (ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น) ระหว่างปีการศึกษาระดับหลังปนิญญา 1988(post-89graduate) โดยได้รับประกาศนียบัตร สำเร็จหลักสูตรการเมืองการสนับสนุนของปกครองในระบอบประชาธิปไตย Asiaและ Foundationหลักสูตรกฎหมายมหาชน จากสถาบันพระปกเกล้า (ปรม.๑ และ ปปร.๗) และ ระหว่างปี 1988-89 ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น ได้รับคัดเลือกจากรัฐบาลไทย ให้เป็น Congressional Fellow/Legislative Researcher ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเมือง ประจำ ณ รัฐสภาอเมริกัน The US Congess, Washington D.C., สหรัฐอเมริกา โดยการสนับสนุนของ Asia Foundation ก่อนปฏิบัติงาน ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร.วิบูลย์ เคยรับราชการเป็นอาจารย์และผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง เริ่มต้นรับราชการที่วิทยาลัยครูอุดรธานี (ม.ราชภัฏอุดรธานี) วิทยาลัยครูพระนคร (ม.ราชภัฏพระนคร) และ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
 
== การเมือง ==
ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดกาฬสินธุ์ (2543-2549) ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543]] ซึ่งเป็นการเลือกตั้ง ส.ว. ครั้งแรกในประเทศไทย เคยทำหน้าทีเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ เป็นประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา เป็นผู้ริเริ่มและร่วมก่อตั้งสมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านสารสนเทศ (Inter-Parliamentary Association for Information Technology - IPAIT) เป็นผู้แทนรัฐสภาไทยในองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ (AIPO และ IPU) ในปี 2552 ได้เป็นต้นเรื่องร้องเรียนต่อสหภาพรัฐสภาที่กรุงเจนีวา (IPU) เกี่ยวกับการละเมิดสิทธินักการเมืองของไทย โดยมิชอบ กรณีรัฐไทยใช้กฎ คปค.ตัดสิทธิทางการเมือง ๕ ปี กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน โดยมิชอบเมื่อปี 2550 และ ตัดสิทธิกรรมการบริหาร 3 พรรคการเมืองอีก 109 คน เมื่อปี 2551 สุดท้าย IPU ได้ลงมติประณามประเทศไทย เมื่อ 19 ตุลาคม 2554 แต่รัฐไทยยังไม่มีการเยียวยาผู้เสียหายจนปัจจุบัน
 
เมื่อหมดวาระหน้าที่สมาชิกวุฒิสภา (รธน.ห้ามสมัครสมัยที่2) ได้ทำงานด้านสื่อมวลชนทางโทรทัศน์ และเป็นผู้อำนวยการ และผู้เขียนบทบรรณาธิการ นสพ.ไทยเรดนิวส์ รายสัปดาห์ ทำงานสื่อหนังสือพิมพ์ระหว่าง การชุมนุมทางการเมือง ของกลุ่ม นปช. และสือทีวีทาง MV iNews (รายการ Thai Today, www.youtube.com/thaitodaytv) และ MV-Stars-Bangkok ทุกวันเสาร์ขอาทิตย์ 22.30-23.30 (รายการ มองไทยมองเทศ www.mongthaimongthet.com; www.youtube.com/mongthaimongthet) จนปัจจุบัน ดร.วิบูลย์เขียนหนังสือทางการเมืองเพื่อให้ความรู้ประชาธิปไตยชื่อ "ทางออกประเทศไทยต้องปฏิวัติประชาธิปไตย" พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ปัญญาชน (336 หน้า) วางจำหน่ายทั่วไป