ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ของเหลว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8:
ที่ซึ่ง <math>\rho</math> เป็น [[ความหนาแน่น]] ของของเหลว (ซึ่งกำหนดให้คงที่) และ <math>z</math> คือความลึก ณ จุดใต้พื้นผิวของเหลวนั้น สังเกตว่าในสูตรนี้กำหนดให้ความดันที่ผิวบนเท่ากับ 0 และไม่ต้องคำนึงถึง [[ความตึงผิว]]ของเหลวมีลักษณะเฉพาะของ [[แรงตึงผิว]] (surface tension) และ [[แรงยกตัว]] (capillarity) โดยทั่วไปของเหลวจะขยายตัวเมื่อถูกความร้อนและหดตัวเมื่อถูกความเย็น วัตถุที่จมอยู่ในของเหลวจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า [[แรงลอยตัว]] (buoyancy)
 
ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจนถึง [[จุดเดือด]] จะเปลี่ยนสถานะเป็น [[ก๊าซ]] และเมื่อทำให้เย็นจนถึง [[จุดเยือกแข็ง]]มันก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น [[ของแข็ง]] โดย [[การกลั่นแยกส่วน]] (fractional distillation) ของเหลวจะถูกแยกจากกันและกันโดย [[การระเหย]] (vaporization) ที่ [[จุดเดือด]] ของของเหลวแต่ละชนิด การเกาะติด (Cohesion) ระหว่างเก
[[โมเลกุล]] ของของเหลวจะไม่เพียงพอที่จะป้องกันจาก [[การระเหย]] จากผิวของมันได้
 
== สมบัติทั่วไปของของเหลว ==
 
=== ความตึงผิว===
เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านล่างและด้านข้างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลอน้อยที่สุด จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาดจะมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าน้ำที่อยู่ในลักษณะแผ่ออกไป ของเหลวพยายามจัดตัวเองให้มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด เนื่องจากโมเลกุลที่ผิวไม่มีแรงดึงเข้าทางด้านบน จึงจะมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง การลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวเสถียรมากขึ้นในบางกรณีของเหลวมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ผิว โดยที่โมเลกุลที่อยู่ด้านในของของเหลวจะเคลื่อนมายังพื้นผิว ในการนี้โมเลกุลเหล่านั้นต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่อยูรอบ ๆ หรือกล่าวว่าต้องทำงาน งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วย เรียกว่า '''ความตึงผิว''' ( Surface tension )