ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป๋วย อึ๊งภากรณ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
| footnotes =
}}
'''ศาสตราจารย์<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2508/D/092/2586.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ประจำ]</ref> พันตรี ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์''' ([[ชื่อจีน]]: 黃培謙 ''Huáng Péiqiān''<ref>{{cite book|title=泰国华侨华人研究|author=[泰国] 洪林, 黎道纲主编|publisher=香港社会科学出版社有限公司|month=April | year=2006|pages=18|isbn=962-620-127-4}}</ref> [[9 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2459]] — [[28 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2542]]) เป็น[[เศรษฐศาสตร์|นักเศรษฐศาสตร์]]ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นอดีต[[ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย]]<ref>[https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/RolesAndHistory/Governor/Pages/default.aspx ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน]</ref> ที่มีอายุน้อยที่สุด ด้วยวัย 43 ปี 3 เดือน<ref>[http://www.moneychannel.co.th/news_detail/4308/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%E2%80%9C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E2%80%9D%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD- คลังมั่นใจ“วิรไท”มีฝีมือ "ประสาร" ฝากนโยบาย], Moneychannel .สืบค้นเมื่อ 7 ก.ค. 2558</ref> และได้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดถึง 12 ปี 2 เดือน 4 วัน<ref>สารป๋วย, ปีที่ 1 ฉบับที่ 8 ธันวาคม 2558, หน้า 9, กษิดิศ อนันทนาธร .สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558</ref> เป็นสมาชิก[[ขบวนการเสรีไทย]] อดีตอธิการบดี[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]คนที่ 10 และเป็นผู้แต่งหนังสือ "[[คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน]]"
 
ป๋วย เกิดและเติบโตจากคนจีน ด้วยฐานะที่ไม่ร่ำรวย เขาจึงดิ้นรนต่อสู้อุปสรรคในชีวิตต่างๆ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา[[ธรรมศาสตรบัณฑิต]] จาก[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ประเทศไทยเข้าร่วมพันธมิตรกับญี่ปุ่น ป๋วยก็ได้ร่วมก่อตั้งคณะ[[เสรีไทย]]ขึ้นในอังกฤษ และได้พยายามเจรจาไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย มีครั้นหนึ่งที่ป๋วยเสี่ยงชีวิตในการลอบกระโดดร่มเข้าไทย ณ บ้านวังน้ำขาว [[จังหวัดชัยนาท]] จนได้ชื่อว่าเป็น “'''วีรบุรุษวังน้ำขาว'''”<ref>[http://alumni.tu.ac.th/calendar/detail.aspx?id=4 สืบทอดปณิธานอาจารย์ป๋วย “พัฒนาชาติ ทุกคนกินดีอยู่ดี” และ“สังคมเสมอภาคและเป็นธรรม”], สำนักงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ มธ. .สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558</ref><ref>[http://bangkok-today.com/web/15522-2/ ควรค่าต่อการจดจำ ! รำลึก ๑๐๐ ปี ชาตกาล อาจารย์ป๋วย “วีรบุรุษวังน้ำขาว” !!],Bangkok-today .สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2558</ref> เมื่อสงครามยุติลง ประเทศไทยจึงไม่ถือเป็นผู้แพ้สงคราม ในสมัย[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]] เขาก็ได้รับหน้าที่เป็นทั้งผู้ว่าธนาคารแห่งชาติ รวมถึงยังได้รับตำแหน่งทั้งคณบดี[[คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|คณะเศรษฐศาสตร์]]และอธิการบดี[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
บรรทัด 36:
 
== ประวัติ ==
ศ. พันตรี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือ ศ. พันตรี ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกิดที่บ้านตรอกโรงสูบน้ำ [[ตลาดน้อย]] เป็นบุตรของซา แซ่อึ้ง กับเซาะเซ็ง อึ๊งภากรณ์ (สกุลเดิม: แซ่เตียว; ต่อมาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็นภาษาไทยว่า ''ประสาทเสรี'')<ref>[http://www.rspg.org/mom/mom.html ผู้หญิงในชีวิตของผม..แม่ - คัดลอกจากหนังสือ "ประสบการณ์ชีวิต และข้อคิดสำหรับคนหนุ่มสาว" โดย ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (จัดพิมพ์โดยมูลนิธิโกมลคีมทอง)]</ref> ชื่อ "ป๋วย" นั้น บิดาของป๋วยตั้งให้เป็นชื่อตัว ส่วนชื่อสกุลของป๋วย คือ "อึ้ง" ชื่อรุ่นคือ "เคียม" อ่านทั้งสามตัวตามลำดับประเพณีจีน สำเนียงแต้จิ๋วจะเป็น "อึ้ง ป้วย เคียม" แต่ถ้าอ่านโดด ๆ วรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป ชื่อสกุลเป็น "อึ๊ง" และชื่อตัวเป็น "ป๋วย" คำว่า "ป๋วย" แปลตรงตัวได้ว่า "พูนดินที่โคนต้นไม้" เพราะตัวประกอบในอักษรระบุไว้เช่นนั้น แต่มีความหมายกว้างออกไปอีกคือ "บำรุง" "หล่อเลี้ยง" "เพาะเลี้ยง" และ "เสริมกำลัง"
 
มารดาของป๋วย เป็นบุตรสาวคนแรกของเจ้าของร้านขายผ้าที่[[สำเพ็ง]] อยู่ใกล้ตรอกโรงโคม ส่วนบิดาเป็นคนจีน ทำงานช่วยพี่ชายที่แพปลา แถวปากคลอง[[วัดปทุมคงคา]] โดยทั้งสองก็ไม่ค่อยมีรายได้มากนัก
บรรทัด 47:
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2477]] ป๋วยได้สมัครเข้าเรียนต่อที่ [[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] เป็นนักศึกษารุ่นแรก ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีการบังคับให้เข้าชั้นเรียน ทางมหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์คำบรรยายออกจำหน่ายในราคาถูก วิชาละประมาณ 2 บาท เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่กำลังทำงานอยู่สามารถศึกษาเองได้ ป๋วยใช้เวลาในตอนค่ำและวันหยุดเรียนอยู่ 4 ปี ก็สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางกฎหมาย การเมืองและเศรษฐการ([[ธรรมศาสตรบัณฑิต|หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต]], ธ.บ.) ซึ่งจัดการศึกษาในลักษณะสหสาขาวิชา เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง และมีความรู้ในลักษณะเป็นองค์รวม โดยสำเร็จการศึกษาในปี [[พ.ศ. 2480]] หลังจากนั้น ก็ลาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญ มาทำงานเป็นล่ามภาษาฝรั่งเศส ให้แก่อาจารย์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
 
ในเดือนเมษายน [[พ.ศ. 2481]] ป๋วยสอบชิงทุนรัฐบาลได้ไปเรียนระดับ[[ปริญญาตรี]] สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลัง ที่ London School of Economics & Political Science (LSE) แห่ง[[มหาวิทยาลัยลอนดอน]] ซึ่งหลังจากนั้นอีกเพียง 6 เดือน มารดาของป๋วยก็เสียชีวิตลง ป๋วยใช้เวลาสามปีก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ป๋วยเป็นนักเรียนดีเด่น และเป็นศิษย์เอกของ [[เฟรเดอริก ฮาเย็ก|ศาสตราจารย์เฟรเดอริก ฮาเย็ก]] (ซึ่งได้รับ [[รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์]] ในปี [[พ.ศ. 2517]]) ป๋วยเป็นคนไทยคนเดียว ในมหาวิทยาลัยนี้ที่สอบได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยกันในปี [[พ.ศ. 2485]] โดยได้เกรดเอแปดวิชา และเกรดบีหนึ่งวิชา
 
จากผลการเรียนอันดีเด่นของป๋วย ทำให้ได้รับทุนลีเวอร์ฮูล์ม สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้ทันที แต่ในระหว่างนั้น เกิด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ขึ้น ทำให้ป๋วยตัดสินใจทำงานเพื่อชาติ ทำให้ป๋วยจบป๋วยจบ[[ปริญญาเอก]]ภายหลังสงครามยุติในปี [[พ.ศ. 2491]] ป๋วยก็ได้เรียนสำเร็จปริญญาเอก โดยใช้เวลาสามปีทำวิทยานิพนธ์ "เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการควบคุมดีบุก"
 
== ประวัติการทำงาน ==