ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชวลิต วิทยานนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Imageชวลิตวิ.jpg|thumb|250px|right|ดร.ชวลิต วิทยานนท์]]
 
'''ดร.ชวลิต วิทยานนท์''' ([[ชื่อเล่น]]: แฟรงก์) เกิดที่[[กรุงเทพมหานคร]] ในปี [[พ.ศ. 2502]] จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมจาก[[โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย]] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโททางวิทยาศาสตร์ทางทะเล จาก[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] และ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] สำเร็จการศึกษาระดับ[[ปริญญาเอก]]จาก[[Tokyo University of Marine Science and Technology|มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี โตเกียว]] [[กรุงโตเกียว]] [[ประเทศญี่ปุ่น]]
 
ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลามาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2526]] และค้นพบปลาชนิดใหม่จากประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงรวมกันแล้วถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และร่วมการค้นพบฟอสซิลเอปโคราช ''Khoratpithecus piriyai'' Chaimanee, [[วราวุธ สุธีธร|Suteethorn]], Jintasakul, Vidthayanon, Marandat & Jaeger, [[ค.ศ. 2004|2004]] โดยมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะปลาใน[[อันดับปลาหนัง]]
 
มีผลงานการเขียนบทความตามวารสารต่าง ๆ เช่น ''[[สารคดี (นิตยสาร)|สารคดี]], [[Cichlid World]]'' เป็นต้น มีผลงานทางหนังสือ ได้แก่ ''สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่า, ปลาน้ำจืดไทย'' ([[พ.ศ. 2544]]), ''คู่มือปลาน้ำจืด'' ([[พ.ศ. 2547]]), ''คู่มือปลาทะเล'' ([[พ.ศ. 2551]]), ''ปลาไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา'' ([[พ.ศ. 2553]]) และมีผลงานทางด้านสื่อต่าง ๆ เช่น ซีดีฐานข้อมูลปลาในลุ่ม[[แม่น้ำโขง]]และสนับสนุนข้อมูลด้านอนุกรมวิธานปลาในการจัดนิทรรศการในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ของหน่วยราชการหลายแห่ง รวมถึงองค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นองค์ความรู้ในการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำในท้องถิ่น เช่น บ้านกรูด บ่อนอก ลุ่ม[[แม่น้ำสงคราม]] ปากมูล และเชียงของ