ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Artsindy (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนชื่อ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]] '''ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี''' เป็นทางยกระดับ กว้าง 4 - 5 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร คร่อมและคู่ขนานไปกับถนนบรมราชชนนี จากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงย่านพุทธมณฑล สาย 2 สร้างขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2538]] เพื่อบรรเทาปัญหาจราจรบริเวณ[[สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า]][[ฝั่งพระนคร]] ที่ส่งผลต่อไปถึง[[ถนนราชดำเนิน]]และ[[ถนนหลานหลวง]] รวมทั้ง[[ฝั่งธนบุรี]]ที่ส่งผลถึง[[ถนนบรมราชชนนี]]และถนนย่านชานเมือง
 
== ลักษณะโครงการ ==
ลักษณะโครงการเป็นสะพานยกระดับ สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการจราจร จากบริเวณ[[สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]จนถึงทางแยกตลิ่งชัน [[ถนนบรมราชชนนี]]ทั้งขาเข้าและขาออก และเพื่อแยกการจราจรของยวดยานที่ต้องการเดินทางระยะไกลออกจากยวดยานที่เดินทางในระยะใกล้ ตั้งแต่[[สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]จนถึงทางแยกตลิ่งชันบน[[ถนนบรมราชชนนี]] เริ่มที่เกาะกลางจากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงพุทธมณฑล สาย 2 โดยขาออกจะขึ้นที่ทางแยกอรุณอมรินทร์ ลงได้ 3 จุดที่ตลิ่งชัน หน้าหมู่บ้านกฤษดานคร และใกล้วงแหวนฉิมพลี ไม่มีทางขึ้นระหว่างทาง ส่วนขาเข้าขึ้นที่ต้นทางก่อนถึงพุทธมณฑล สาย 2 ขึ้นได้ที่หน้าหมู่บ้านกฤษดานครและตลิ่งชัน และจะไม่มีทางลงระหว่างทาง<ref>http://arcit.bsru.ac.th/royal9/index.php?option=com_content&task=view&id=37&Itemid=34 ฐานข้อมูลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการพระราชดำริ ถนนคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี</ref>
 
ทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนีแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
 
'''ช่วงที่หนึ่ง''' อยู่ในความรับผิดชอบของ[[กรุงเทพมหานคร]] ระยะทาง 4.515 กิโลเมตร จากบริเวณทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงทางแยกต่างระดับสิรินธร เป็นทางยกระดับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก และคอนกรีตอัดแรง บน[[ถนนบรมราชชนนี]] สูงเหนือผิวจราจรเดิมประมาณ 12.00 เมตร กว้าง 19.45 เมตร มีช่องทางจราจร 5 4 ช่องทาง (ช่วงแยกอรุณอมรินทร์ถึงแยกปิ่นเกล้า)( 4 ช่องจราจรช่วงแยกปิิ่นเกล้าถึงแยกต่างระดับสิรินธร ) ช่องทางละ 3.50 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1.25 เมตร แบ่งเป็นช่องทางขาออก 2 ช่องทาง และช่องทางขาเข้า 2 ช่องทาง พื้นผิวจราจร คอนกรีตเสริมเหล็กและปูทับหน้าด้วยแอสฟัลท์ผสมร้อนหนา 5 เซนติเมตร พร้อมเกาะกลางเพื่อแยกทิศทางการจราจร<ref>[http://arcit.bsru.ac.th/royal9/index.php?option=com_content&task=view&id=37&Itemid=34 โครงการพระราชดำริ ถนนคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี]</ref>
 
'''ช่วงที่สอง''' อยู่ในความรับผิดชอบของ[[กรมทางหลวง]] ระยะทาง 9.363 กิโลเมตร ต่อเนื่องกับทางช่วงแรกจากทางแยกต่างระดับสิรินธร-แยกพุทธมณฑล กม.3+386 ถึงถนนทางแยกต่างระดับฉิมพลี กม.13+200 ไปสิ้นสุดโครงการบริเวณเลยจุดข้ามทางแยกพุทธมณฑล สาย 2 ไป 500 เมตร โดยลักษณะโครงการเป็นสะพานยกระดับสูง 15.00 เมตร กว้าง 19.50 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร แยกทิศทางไปกลับข้างละ 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร มีทางขึ้นลง 2 แห่ง นอกจากนี้ ยังขยายถนนในระดับพื้นล่างเพิ่มจาก 8 ช่องจราจร แบ่งเป็น 12 ช่องจราจร แบ่งเป็นช่องทางด่วน 6 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.50 เมตร และทางคู่ขนานด้านละ 3 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3.00 เมตร พร้อมทั้งก่อสร้างสะพานกลับรถอีก 2 แห่งเพื่อใช้กลับรถด้วย<ref>[http://www.doh.go.th/web/kingproject/kpj5.html โครงการในพระราชดำริ โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี]</ref>
 
== ประวัติ ==
ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 [[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]ทรงพระประชวรและเสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่[[โรงพยาบาลศิริราช]]หลายครั้ง แต่ละครั้งนาน 2-3 เดือน เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอ ได้ทอดพระเนตรเห็นปัญหาจราจรติดขัดครั้งละนานๆ ในบริเวณดังกล่าว เช่น มีรถฝั่งพระนครจำนวนมากรอขึ้น[[สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า]]เพื่อออกนอกเมืองไปตาม[[ถนนบรมราชชนนี]]สู่[[อำเภอนครชัยศรี]] แต่การระบายรถทำได้ช้าส่งผลให้รถติดตลอด[[ถนนราชดำเนิน]]ไปจนถึงถนนหลานหลวง และบางครั้งส่งผลกระทบไปถึงถนนสายหลักอื่นๆ ใน[[กรุงเทพมหานคร]] ในขณะที่[[ฝั่งธนบุรี]]บริเวณสะพานข้ามทางแยกอรุณอมรินทร์และทางแยกบรมราชชนนีมีระยะทางใกล้กันมาก ทำให้รถที่ลงจากสะพานอรุณอมรินทร์เบี่ยงเข้าช่องซ้ายไปยัง[[ถนนบรมราชชนนี]]ได้ลำบาก ปริมาณรถจึงคับคั่งและติดขัด
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2538]] [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงพระประชวรและเสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่[[โรงพยาบาลศิริราช]]หลายครั้ง ระหว่างประทับรับการรักษา ได้มีพระราชดำริหลากหลายประการเกี่ยวกับปัญหาจราจร รวมทั้งการสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้า [[ถนนบรมราชชนนี]] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่าย[[ถนนจตุรทิศ]] [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]พระราชทานแนวพระราชดำริให้สร้างทางคู่ขนานยกระดับคร่อมเหนือสะพานข้ามทางแยกอรุณอมรินทร์และสะพานข้ามทางแยกบรมราชชนนี เพื่อให้การจราจรคล่องตัวยิ่งขึ้น ช่วยระบายรถออกนอกเมืองได้เร็วที่สุด บรรเทาปัญหาจราจรที่ติดขัดใน[[ถนนราชดำเนิน]]ต่อเนื่องถึงถนนหลานหลวง และได้พระราชทานแผนผังลายพระหัตถ์แก่[[กรุงเทพมหานคร]]นำไปศึกษาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน [[พ.ศ. 2538]] มีพระราชประสงค์ให้[[กรุงเทพมหานคร]]และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจราจรร่วมมือกัน เช่น [[กรมทางหลวง]] [[กระทรวงคมนาคม]] [[กรมตำรวจ]] [[กระทรวงมหาดไทย]]และ[[กรุงเทพมหานคร]]<ref>[http://job.haii.or.th/wiki84new/index.php/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2 สารานุกรมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี]</ref>
 
[[บรรหาร ศิลปอาชา|นายบรรหาร ศิลปอาชา]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้เชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ([[กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา|ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา]]) และปลัดกรุงเทพมหานคร ([[ประเสริฐ สมะลาภา|นายประเสริฐ สมะลาภา]]) มาประชุมร่วมกันเพื่อสนองพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการจราจรให้ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ผลการประชุมสรุปได้ว่า [[กรุงเทพมหานคร]]เป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าจากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึง[[คลองบางกอกน้อย]] ระยะทางประมาณ 3.2 กิโลเมตร และ[[กรมทางหลวง]]รับผิดชอบก่อสร้างจาก[[คลองบางกอกน้อย]]ไปจนถึงแยกพุทธมณฑล สาย 2 โดยให้รูปแบบสะพาน เสาและคานมีลักษณะเป็นรูปแบบเดียวกันหมด เป็นระยะทางประมาณ 9.4 กิโลเมตรและจากบริเวณทางยกระดับสิรินธรไปจนเลยทางแยกพุทธมณฑล สาย 2 อีก 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ [[กรมทางหลวง]]ยังจะได้ก่อสร้างขยายช่องจราจรระดับพื้นราบจากเดิมที่มี 8 ช่องจราจร เพิ่มขึ้นเป็น 12 ช่องจราจรพร้อมทั้งมีการปลูกต้นไม้ที่เกาะกลาง [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงเห็นชอบตามคำกราบบังคมทูล และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงวางศิลาฤกษ์เริ่มโครงการดังกล่าวในวันที่ 16 เมษายน 2539<ref>[http://www.doh.go.th/web/kingproject/kpj5.html โครงการในพระราชดำริ โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี]</ref>
 
[[กรมทางหลวง]]เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเอง โดยว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการ 3 ราย คือบริษัทบุญชัยพาณิชย์ ( 1979 ) จำกัด ก่อสร้างตอนที่ 1 บริษัท พี พี ดี คอนสตรัคชั่น จำกัด ก่อสร้างตอนที่ 2 และบริษัทอิตาเลี่ยนไทยดีเวลอปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ก่อสร้างตอนที่ 3 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 4,461,609,680 บาท ระยะเวลาในการก่อสร้าง 600 วัน เริ่มต้นสัญญาวันที่ 7 พฤษภาคม 2539 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 26 เมษายน 2541
 
เมื่อวันที่ 21 เมษายน [[พ.ศ. 2541]] [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]ไปทรงเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้า ถนนบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาฉายภาพอธิบดีกรมทางหลวง ([[ศรีสุข จันทรางศุ|นายศรีสุข จันทรางศุ]]) และปลัดกรุงเทพมหานครที่ยืนคู่กัน ณ บริเวณ Joint โดยหลังจากเสด็จพิธีตัดริบบิ้นแถบแพรเปิดทางแล้ว ทรงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯไปตามทางคู่ขนานลอยฟ้า[[ถนนบรมราชชนนี]]<ref>[http://www.doh.go.th/web/kingproject/kpj5.html โครงการในพระราชดำริ โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี]</ref>
 
หลังจากที่โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีแล้วเสร็จ และเปิดดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ได้ช่วยระบายการจราจรจากพื้นที่ชั้นในของ[[กรุงเทพมหานคร]] ผ่าน[[สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า]] สู่[[ถนนบรมราชชนนี]] [[ถนนสิรินธร]] ทางหลวงพิเศษสายบางกอกน้อย-นครชัยศรี ให้สามารถสัญจรไปมาด้วยความสะดวก รวดเร็วและมีความปลอดภัยยิ่งขี้น เนื่องจากมีช่องจราจรรองรับถึง 16 ช่องจราจร และเพิ่มความคล่องตัว ให้กับยานพาหนะที่เดินทางสู่[[ภาคใต้]] [[ภาคตะวันตก]] [[ภาคกลาง]]ตอนล่าง และพื้นที่ชานเมืองใกล้เคียง
 
== อ้างอิง ==