ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Thomson Walt/กระบะทราย 2"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomson Walt (คุย | ส่วนร่วม)
Thomson Walt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6:
การที่[[เอินซต์ เชน]]และ[[ฮาเวิร์ด ฟลอเรย์]]สามารถสกัด[[เพนิซิลลิน]]บริสุทธิ์เพื่อใช้ในมนุษย์ได้สำเร็จใน ค.ศ. 1941<ref name="ucsusa.org">{{cite book | url=http://www.ucsusa.org/assets/documents/food_and_agriculture/cafos-uncovered.pdf | author=Doug Gurian-Sherman |month=April|year=2008 |title=CAFOs Uncovered: The Untold Costs of Confined Animal Feeding Operations |editor= Union of Concerned Scientists |publisher= Cambridge, MA|language=English}}</ref> ทำให้ยาดังกล่าวถูกผลิตขึ้นให้กับกองทัพเพื่อใช้รักษาผู้บาดเจ็บ[[ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง|ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ในระหว่างการทำ[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] เป็นจำนวนมาก จนทำให้การผลิตที่[[ประเทศอังกฤษ]]นั้นไม่สามารถสนับสนุนความต้องการในการใช้ยานี้ได้อย่างเพียงพอ จึงได้มีการย้ายฐานการผลิตไปยัง[[สหรัฐอเมริกา]] ซึ่งมีกำลังการผลิตที่มากกว่า จนกระทั่ง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] สิ้นสุดลง จึงได้มีการผลิต[[เพนิซิลลิน]]ออกสู่ตลาดยาสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ายาปฏิชีวนะที่มีอยู่ในตลาดยาทุกวันนี้ส่วนใหญ่จะได้มาจากการสังเคราะห์ของจุลชีพ (เช่น [[เพนิซิลลิน]]) แต่ด้วยความก้าวหน้าของ[[เทคโนโลยีชีวภาพ]]ทำให้สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตได้มากขึ้น จนสามารถผลิตในเชิงการค้าได้ในที่สุด ด้วยความก้าวนี้ทำให้สามารถผลิต[[เพนิซิลลิน]]ได้มากกว่าวิธีการสกัดแรกเริ่มของ[[อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง|เฟลมมิง]]ถึง 40000 เท่า<ref>{{cita journal|author=Shu-Jen Chiang |year=2004 |url=http://www.springerlink.com/content/p8cu7jgktnq7w41w/ |title=Strain improvement for fermentation and biocatalysis processes by genetic engineering technology |journal= Journal of Industrial Microbiology and Biotechnology |doi=10.1007/s10295-004-0131-z |volume= 31 |issue=3 |page=99-108 }}</ref> ต่อมาในช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 นักวิจัยพบว่า[[แบคทีเรีย]]ที่ผลิต[[เพนิซิลลิน]]นั้นสามารถเจริญได้ดีในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน การค้นพบนี้ทำให้ศักยภาพการผลิต[[เพนิซิลลิน]]เพิ่มขึ้นได้มากถึง 200{{nbsp}}%<ref name="nasa">{{cite web | author=Karen Miller, Dr. Tony Phillips |month=March|year=2002 |url=http://ciencia.nasa.gov/science-at-nasa/2002/29mar_antibiotics/ |title=Antibióticos del Espacio |editorial=NASA: Desarrollo de Productos Espaciales - Centro Marshall para Vuelos Espaciales |accessdate=4 September, 2008}}</ref>
 
ความสำคัญทางการแพทย์ของ[[ยาต้านจุลชีพ]] ซึ่งรวมไปถึงยาปฏิชีวนะนั้น ได้นำมาซึ่งการค้นคว้าวิจัยเพื่อคิดค้นพัฒนายาปฏิชีวนะชนิดใหม่อย่างกว้างขวางและเข้มข้น จากนั้นก็ตามมาด้วยการพยายามคิดค้นพัฒนายาปฏิชีวนะชนิดใหม่ที่สามารถออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อก่อโรคได้เป็นวงกว้าง, มีการผลิตยาปฏิชีวนะโดยใช้กระบวนการหมักเชื้อในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งใช้แบคทีเรียกลุ่ม[[สิ่งมีชีวิตที่ไม่ต้องการออกซิเจน|ที่ไม่ใช้ออกซิเจน]]เป็นหลัก<ref name="nasa"/> จนทำให้จำนวนยาปฏิชีวนะที่ถูกค้นพบมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 500 ชนิดในทศวรรษที่ 1960 เป็นมากกว่า 11000 ชนิดในปี ค.ศ. 1994 โดยกว่าร้อยละ 50 ของยาปฏิชีวนะเหล่านี้ได้มาจากการสังเคราะห์ของ[[แบคทีเรีย]][[Streptomyces|สกุลสเตรปโตมัยซิส]]<ref name="def">{{cite book|author=Strohl W. R.|url=http://books.google.com/books?id=rDFIGohu4doC&pg=PA1&dq=antibiotic&hl=es&sig=ACfU3U2fnFfLI7ZHHpCfVcDJw6YoGPeb6g#PPA1,M1 |title=Biotechnology of Antibiotics |language=English|work= Informa Health Care|year= 1997 |isbn=0-8247-9867-8}}</ref> ส่วนจุลชีพสายพันธุ์อื่นที่มีความสำคัญในการผลิตยาปฏิชีวนะ ได้แก่ [[ราเส้นใย]] และ[[แอคติโนมัยสีท]]สายพันธุ์อื่นที่นอกเหนือจาก[[Streptomyces|สกุลสเตรปโตมัยซิส]]<ref>{{cite journal | last1 = Mahajan | first1 = GB | year = 2012 | title = Antibacterial agents from actinomycetes - a review | url = | journal = Frontiers in Bioscience | volume = 4 | issue = | pages = 240–53 | doi = 10.2741/e373 }}</ref>
 
==สเปน==