ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้าราชการไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
เพื่อความสะดวฏ
บรรทัด 1:
'''ข้าราชการ''' คือ บุคคลซึ่งรับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการปฏิบัติหน้าที่ และรับเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ของ[[ประเทศไทย]] ส่วนองค์กรที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานอยู่นั้นเรียก '''ส่วในราชการ'''ชำชตำฃภบชตำฃภ
 
== ประวัติ ==
[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงวางระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นครั้งแรก ให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ [[1 เมษายน]] [[พ.ศ. 2472]] เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสรรผู้มีความรู้และความสามารถเข้ารับราชการ โดยกำหนดให้มีข้าราชการ 3 ประเภท คือ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/A/293.PDF พระราชบัญยัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471]</ref>
* '''ข้าราชการพลเรือนสามัญ''' คือ ข้าราชการที่รัฐบาลบรรจุแต่งตั้งไว้ตามระเบียบฯ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นสัญญาบัตร (รองอำมาตย์ตรีขึ้นไป) และชั้นราชบุรุษ
* '''ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ''' คือ บุคคลที่รัฐบาลจ้างไว้ให้ทำการเฉพาะอย่าง หรือระยะเวลาชั่วคราว ตั้งแต่[[พ.ศ. 2518]]เป็นต้นมา เปลี่ยนให้เรียกว่า'''ลูกจ้างประจำ'''
* '''เสมียนพนักงาน''' คือ ข้าราชการชั้นต่ำ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามอัตราที่ตั้งไว้
 
== ประเภทของข้าราชการไทย ==
ข้าราชการในประเทศไทย มีหลายประเภท ได้แก่
# ข้าราชการพลเรือน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/022/1.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ]</ref> <small>(ข้าราชการพลเรือนสามัญ และข้าราชการพลเรือนในพระองค์)</small>
# ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2507/A/007/11.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507]</ref>
# ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00151494.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547]</ref>
# ข้าราชการทหาร<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/A/043/1.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑]</ref>
# ข้าราชการตำรวจ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/A/065/5.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑]</ref>
# ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00019047.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓]</ref>
# ข้าราชการฝ่ายอัยการ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/075/1.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓]</ref>
# ข้าราชการรัฐสภา<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/034/8.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔]</ref>
# ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/094/1.PDF พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒]</ref>
# ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/068/13.PDF ประกาศศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ]</ref>
# ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/008/35.PDF ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. ๒๕๕๕ ]</ref>
# ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/102/15.PDF ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2555]</ref>
# ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/042/1.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔]</ref>
# ข้าราชการการเมือง
# ข้าราชการส่วนท้องถิ่น
# พนักงานอื่นของรัฐ
#* พนักงานรัฐวิสาหกิจ
#* พนักงานราชการ
#* พนักงานมหาวิทยาลัย
#* พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
#* พนักงานองค์การมหาชนและองค์การของรัฐอื่นที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
#* ลูกจ้างประจำ
 
=== ข้าราชการพลเรือน ===
==== ข้าราชการพลเรือนสามัญ ====
ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับปัจจุบันคือ พ.ศ. 2551) แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 4 ประเภท คือ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป<ref>[http://www.ocsc.go.th/ocsccms/uploads/law/Act_law2551.pdf พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551]</ref>
 
การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จะดำเนินการโดย[[สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน]] หรือในบางกรณีอาจมีการมอบหมายให้กรมต้นสังกัด เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกฯ
 
==== ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ====
ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ คือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัด[[สำนักพระราชวัง]] มีหน้าที่เกี่ยวกับงานในพระองค์[[พระมหากษัตริย์]] ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/A/064/10.PDF พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ พ.ศ. 2539]</ref>
 
การบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในพระองค์ เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
 
=== ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ===
ข้าราชการพลเรือนใน[[สถาบันอุดมศึกษา]] คือ ข้าราชการพลเรือนในสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในสังกัด[[กระทรวงศึกษาธิการ]] แต่ไม่รวมถึงสถานศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็นประเภทย่อย 3 ประเภท คือ ประเภทวิชาการ ประเภทผู้บริหาร และประเภททั่วไป <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00150909.PDF ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547]</ref>ใช้ระบบมาตรฐานกลาง 11 ระดับ ในการจำแนกและกำหนดระดับตำแหน่ง มี'''คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา''' หรือ '''ก.พ.อ.'''(เดิมเรียกว่า'''คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย''' หรือ '''ก.ม.''')เป็นคณะกรรมการกลางในการบริหารบุคคลและกำกับดูแลข้าราชการ
 
การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จะดำเนินการโดย[[สถาบันอุดมศึกษา]]แต่ละแห่งโดยอิสระ ในปัจจุบันไม่มีการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาแล้ว มีแต่เพียงการบรรจุและแต่งตั้ง[[พนักงานมหาวิทยาลัย]] เข้ามาแทน
 
=== ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ===
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0AA/00151494.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547]</ref>
==== ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา ====
ประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ได้แก่
# ครูผู้ช่วย
# ครู
# [[อาจารย์]]
# [[ผู้ช่วยศาสตราจารย์]]
# [[รองศาสตราจารย์]]
# [[ศาสตราจารย์]]
 
ทั้งนี้ตำแหน่งตามข้อ 3-6 จะมีได้เฉพาะในสถานศึกษาที่สอนระดับปริญญา
 
ครูตามข้อ 1 และ 2 แบ่งระดับอัตราเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ดังนี้
* '''ครูผู้ช่วย''' เป็นตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้งในระดับแรก (เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 3-4 เดิม)
* '''ครู ค.ศ. 1''' (เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 5-6)
* '''ครู ค.ศ. 2''' เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 1 (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2)
* '''ครู ค.ศ. 3''' เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 2 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 7-8)
* '''ครู ค.ศ. 4''' เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 3 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9)
* '''ครู ค.ศ. 5''' เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ แต่งตั้งจากครู ค.ศ. 4 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เป็นตำแหน่งใหม่ที่ขยายขึ้นมา ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในอดีต)
 
==== ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ====
ประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ได้แก่
# รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
# ผู้อำนวยการสถานศึกษา
# รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
# ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา
# ตำแหน่งที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
 
==== บุคลากรทางการศึกษาอื่น ====
ประกอบด้วยตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ และตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จะมีคณะกรรมการกลางในการบริหารงานบุคคลและกำกับดูแลข้าราชการคือ '''คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา'''หรือ'''ก.ค.ศ.'''(เดิมเรียกว่า '''คณะกรรมการข้าราชการครู''' หรือ '''ก.ค.''')
 
=== ข้าราชการฝ่ายทหาร ===
ข้าราชการทหาร คือ บุคคลที่เข้ารับราชการทหารประจำการ ข้าราชการกลาโหม และพลเรือนที่บรรจในอัตราทหาร ในหน่วยงานทางการทหารซึ่งสังกัด[[กระทรวงกลาโหม]]หรือ[[กองทัพไทย]](แบ่งเป็น [[กองบัญชาการกองทัพไทย]],[[กองทัพบก]],[[กองทัพเรือ]] และ[[กองทัพอากาศ]]) มีคณะกรรมการข้าราชการทหาร (กขท.) กำกับดูแลเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการทหาร<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/A/043/1.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑]</ref>
 
ข้าราชการฝ่ายทหารยังแบ่งออกเป็น
* ข้าราชการทหาร คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติราชการทหาร แบ่งชั้นยศออกเป็นชั้นประทวน (ป.) และชั้นสัญญาบัตร (น.) ซึ่งจะมีชื่อเรียกยศต่างกันตามกองทัพที่สังกัด
* ข้าราชการกลาโหมพลเรือน คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติราชการในกระทรวงกลาโหม แต่ไม่ได้มียศแบบข้าราชการทหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สามัญ และวิสามัญ และแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ ชั้นสัญญาบัตรและต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร
 
=== ข้าราชการตำรวจ ===
{{ดูบทความหลัก|ตำรวจไทย}}
ข้าราชการตำรวจ คือ ข้าราชการในสังกัด[[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]] ซึ่งเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง มีฐานะเป็นกรม และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี แบ่งออกเป็นชั้นประทวน (ป.) และชั้นสัญญาบัตร (สบ.)
 
=== ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ===
{{ดูบทความหลัก|ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย)}}
ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการที่บรรจุและแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติราชการในศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม มีคณะกรรมการข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.) เป็นคณะกรรมการกลางกำกับดูแล ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ แบ่งออกเป็น
*[[ข้าราชการฝ่ายตุลาการ|ข้าราชการตุลาการ]](ศาลยุติธรรม) คือ ข้าราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและพิพากษาคดีความในศาลยุติธรรม
*ดะโต๊ะยุติธรรม คือ ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
*ข้าราชการศาลยุติธรรม คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลยุติธรรม
 
=== ข้าราชการฝ่ายอัยการ ===
ข้าราชการฝ่ายอัยการ คือ ข้าราชการที่บรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการใน[[สำนักงานอัยการสูงสุด (ประเทศไทย)|สำนักงานอัยการสูงสุด]] (เดิมคือ "กรมอัยการ") มีคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) เป็นคณะกรรมการกลางในการกำกับดูแล ข้าราชการฝ่ายอัยการยังแบ่งออกเป็น
* ข้าราชการอัยการ
* ข้าราชการธุรการ ในหน่วยงานของอัยการ
 
=== ข้าราชการรัฐสภา ===
'''ข้าราชการรัฐสภา''' แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
* ข้าราชการรัฐสภาสามัญ คือ ข้าราชการซึ่งรับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำ โดยได้รับเงินเดือนในอัตราสามัญ ใช้วิธีการจำแนกและกำหนดประเภทตำแหน่งแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ
* ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง คือ ข้าราชการซึ่งรับราชการในตำแหน่งการเมืองของรัฐสภา
 
=== ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ===
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่รับราชการและดำรงตำแหน่งในศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง มีคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง เป็นคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง แบ่งออกเป็น
* ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลปกครอง
* ข้าราชการสำนักงานศาลปกครอง คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลปกครอง
 
=== ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ ===
ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่รับราชการและดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญและสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ แบ่งออกเป็น
* ข้าราชการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในศาลรัฐธรรมนูญ
* ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คือ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ด้านธุรการในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
 
=== ข้าราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ===
ข้าราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คือ ข้าราชการในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งได้รับบรรจุ และแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554 โดยการกำหนดตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำ ตำแหน่งของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับ โดยอนุโลม ทั้งนี้ คำว่า "ก.พ." ให้หมายถึง คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ คำว่า "ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและมีหัวหน้าส่วนราชการรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี" ให้หมายถึงสำนักงาน ป.ป.ช. ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าราชการในสายกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ข้าราชการซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย และข้าราชการทั่วไป ซึ่งแบ่งเป็น ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/A/008/35.PDF ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2555]</ref>
 
=== ข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ===
{{โครงส่วน}}
 
=== ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ===
* ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนของ[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]] หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/042/1.PDF พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔]</ref>
** ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
** ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร (เดิมเรียกว่า"ข้าราชการครูกรุงเทพมหานคร") คือ ข้าราชการที่รับราชการในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร
** ข้าราชการกรุงเทพมหานครในสถาบันอุดมศึกษา คือ ข้าราชการที่รับราชการในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดหรือในกำกับของกรุงเทพมหานคร ([[มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช]])
* บุคลากรกรุงเทพมหานคร คือ ลูกจ้างกรุงเทพมหานครและพนักงานกรุงเทพมหานคร
**ลูกจ้างกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลซึ่งได้รับการแต่งต้งให้ปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานครโดยได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณหมวดค่าจ้างของกรุงเทพมหานครหรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่กรุงเทพมหานครและกรุงเทพมหานครนำมาจัดเป็นค่าจ้างของลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
**พนักงานกรุงเทพมหานคร คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณหมวดค่าตอบแทนของกรุงเทพมหานคร
 
=== ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ===
* ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 มาตรา 4 "ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา พนักงานส่วนตำบล ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แต่ไม่รวมถึงข้าราชการกรุงเทพมหานคร และมาตรา 3 วรรคสอง ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 "ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง
* ตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่น มี 4 ประเภท ประกอบด้วย
1) ประเภทบริหารท้องถิ่น มี 3 ระดับ ได้แก่
 
1.1) ระดับต้น
 
1.2) ระดับกลาง
 
1.3) ระดับสูง
 
2) ประเภทอำนวยการท้องถิ่น มี 3 ระดับ ได้แก่
 
2.1) ระดับต้น
 
2.2) ระดับกลาง
 
2.3) ระดับสูง
 
3) ประเภทวิชาการ มี 4 ระดับ ได้แก่
 
3.1) ระดับปฎิบัติการ
 
3.2) ระดับชำนาญการ
 
3.3) ระดับชำนาญการพเศษ
 
3.4) ระดับเชี่ยวชาญ
 
4) ประเภททั่วไป มี 3 ระดับ ได้แก่
 
4.1) ระดับปฎิบัติงาน
 
4.2) ระดับชำนาญงาน
 
4.3) ระดับอาวุโส
 
ทั้งนี้ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทจะถูกเรียกชื่อ แตกต่างกันไปตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรียกว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติงานในเทศบาล เรียกว่า พนักงานเทศบาล ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบล เรียกว่า พนักงานส่วนตำบล และข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานในเมืองพัทยา เรียกว่า พนักงานเมืองพัทยา ซึ่งเป็นการเรียกชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายจัดตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทนั้น ๆ ทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่า พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบลและพนักงานเมืองพัทยาไม่ใช่ข้าราชการ ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าว มีฐานะเป็นข้าราชการ เช่นเดียวกัน
=== ข้าราชการการเมือง ===
{{โครงส่วน}}
ข้าราชการการเมือง คือ ผู้ที่รับราชการในตำแหน่งทางการเมืองซึ่งแบ่งออกเป็น
*ข้าราชการการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ ข้าราชการและผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมติของคณะรัฐมนตรี
*ข้าราชการการเมืองกรุงเทพมหานคร คือ ข้าราชการและผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในการปกครองท้องถิ่นของ[[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]
*ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น คือ ข้าราชการและผู้ที่ดำรงตำแหน่งราชการทางการเมืองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
== พนักงานอื่นของรัฐ ==
นอกจากข้าราชการแล้วยังมีพนักงานของรัฐประเภทอื่นที่มีลักษณะงานแบบเดียวหรือคล้ายคลึงกับข้าราชการ ซึ่งจะมีลักษณะการบริหารจัดการบุคลากรแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนวิสามัญในอดีต คือจ้างให้รับราชการหรือปฏิบัติงานเฉพาะ หรือไม่ดำรงตำแหน่งประจำแบบข้าราชการ ซึ่งได้แก่
 
=== พนักงานราชการ ===
[[พนักงานราชการ]] บรรจุแทนอัตราของลูกจ้างประจำ
 
=== พนักงานมหาวิทยาลัย ===
[[พนักงานมหาวิทยาลัย]] บรรจุแทนอัตราของ[[ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา]]
 
=== พนักงานรัฐวิสาหกิจ ===
พนักงานรัฐวิสาหกิจ บรรจุแทนอัตราของข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์
 
=== พนักงานองค์การมหาชนและหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ ===
* พนักงานองค์การมหาชนและองค์การของรัฐ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ
 
=== พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ===
* พนักงานกระทรวงสาธารณสุข บรรจุทดแทน/รองรับบางตำแหน่งของข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขในระยะชั่วคราวจนกว่าตำแหน่งข้าราชการนั้นๆ จะว่างลงจึงจะบรรจุเป็นข้าราชการ
 
=== ลูกจ้างประจำ ===
* ลูกจ้างประจำ แปรสภาพมาจากข้าราชการพลเรือนวิสามัญ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
** ลูกจ้างประจำส่วนราชการ เงินงบประมาณ เป็นลูกจ้างประจำที่จ้างให้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ โดยใช้เงินงบประมาณจากกระทรวงการคลัง ปัจจุบันไม่มีการบรรจุลูกจ้างประจำประเภทนี้แล้ว โดยตำแหน่งที่ว่างลงจะถูกยุบเลิก และให้จ้างพนักงานราชการมาปฏิบัติงาน/ราชการแทนตำแหน่งที่ว่างลง
** ลูกจ้างประจำส่วนราชการ เงินรายได้ เป็นลูกจ้างประจำที่จ้างให้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ โดยใช้เงินรายได้ของส่วนราชการนั้นๆ
* ลูกจ้างชั่วคราว มีลักษณะงานและตำแหน่งแบบเดียวกับลูกจ้างประจำ แต่จ้างไว้ในระยะชั่วคราว
 
==ข้าราชการในอดีต==
=== ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ ===
ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ คือ ข้าราชการที่ส่วนราชการจ้างให้รับราชการในตำแหน่งเฉพาะ ซึ่งใช้ความสามารถ ฝีมือ และความชำนาญเป็นหลัก หรือจ้างให้รับราชการในระยะเวลาชั่วคราว ลักษณะงานจะเป็นเหมือนผู้ช่วยของข้าราชการพลเรือนสามัญ ภายหลังปี[[พ.ศ. 2518]] รัฐบาลได้เปลี่ยนให้เรียกว่า'''ลูกจ้างประจำ''' และพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ออกใหม่ก็ไม่ได้ระบุไว้ในประเภทของข้าราชการพลเรือน ซึ่งทำให้ข้าราชการพลเรือนวิสามัญถูกยกเลิกไป
 
=== เสมียนพนักงาน ===
เสมียนพนักงาน คือ ข้าราชการพลเรือนระดับล่างที่ปฏิบัติงานทั่วไปในส่วนราชการซึ่งส่วนมากจะเป็นงานธุรการ ภายหลังให้รวมกับข้าราชการพลเรือนประเภทอื่นๆ ซึ่งหากเทียบกับปัจจุบันก็คือ ข้าราชการระดับปฏิบัติการ ,ข้าราชการประเภททั่วไป หรือข้าราชการฝ่ายสนับสนุน
 
=== ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ ===
ข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ คือ ข้าราชการที่สังกัดหน่วยงานรัฐพาณิชย์ ได้แก่ กองไฟฟ้าหลวง กรมโยธาเทศบาล, กองไฟฟ้ากรุงเทพ กระทรวงมหาดไทย, กรมรถไฟ กระทรวงคมนาคม และกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ซึ่งภายหลังหน่วยงานเหล่านี้ได้แปรสภาพเป็น[[รัฐวิสาหกิจ]]เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารงาน โดยหน่วยงานสุดท้ายที่มีการบรรจุข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์คือ กรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม ซึ่งในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ได้มี พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2521<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/A/084/28.PDF พระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๒๑]</ref> หลังจากที่โอนหน่วยงานบางส่วนไปจัดตั้ง การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2519 ซึ่งหน่วยงานที่เหลือของกรมไปรษณีย์โทรเลขมีลักษณะงานแบบเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญเป็นผู้ปฏิบัติ จึงมีผลให้ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนรัฐพาณิชย์ถูกยกเลิกไป
 
=== ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ===
{{โครงส่วน}}
ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในต่างประเทศ เช่น เอกอัครราชทูต และกงสุล ซึ่งภายหลังให้ถือเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่รับราชการในสังกัด[[กระทรวงการต่างประเทศ]] ดังนั้นในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ จึงไม่ได้ระบุไว้ในประเภทของข้าราชการพลเรือน
 
== สิทธิ หน้าที่ของข้าราชการ ==
บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/A/047/1.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550]</ref> นอกจากนั้นข้าราชการยังมีสิทธิต่างๆ อาทิ
* สิทธิในการรับบำเหน็จ บำนาญ
* สิทธิในการขอพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์|เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย]]
* สิทธิเกี่ยวกับสวัสดิการนอกเหนือจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง อาทิ ค่ารักษาพยาบาลตนเอง บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร ค่าเช่าบ้าน ค่าครองชีพชั่วคราว ฯลฯ
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[ราชการ]]
* [[ยศข้าราชการพลเรือนของไทยในอดีต]]
 
{{ราชการ}}
 
[[หมวดหมู่:อาชีพ]]
[[หมวดหมู่:ราชการไทย|ราชการไทย]]
{{โครง}}