ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อีเห็นข้างลาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53:
|range_map_width = 250px
}}
'''อีเห็นข้างลาย''' หรือ '''อีเห็นธรรมดา''' หรือ '''มูสังหอม''' ใน[[ภาษาใต้]]<ref name=หน้า/> ({{lang-en|Asian palm civet}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Paradoxurus hermaphroditus}}) เป็น[[อีเห็น]]ขนาดเล็ก สีขนตามลำตัวเป็น[[สีเทา]]เข้มจนเกือบ[[ดำ]] ยกเว้นบริเวณรอบจมูก หู ขา และปลายหางมีสีดำมีลาย[[สีขาว]]พาดขวางบริเวณหน้าผาก หลังมีจุดเล็ก ๆ สีดำเรียงตัวเป็นแนวยาว 3 เส้น จากไหล่ถึงโคนหาง หางมีความยาวพอ ๆ กับลำตัว ขนปลายหางบางตัวอาจมีสีขาว มีต่อมน้ำมันและจะส่งกลิ่นออกมาเมื่อเวลาตกใจ ซึ่งต่อมน้ำมันนี้จะแตกต่างจากชะมดหรืออีเห็น[[สปีชีส์|ชนิด]]อื่น ๆ ตัวเมียมีเต้านม 3 คู่
 
มีความยาวลำตัวและหัว 43-43–71 [[เซนติเมตร]] ความยาวหาง 40.6-6–66 เซนติเมตร น้ำหนัก 2-2–5 [[กิโลกรัม]]
 
อีเห็นข้างลายมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบตั้งแต่[[รัฐชัมมูและกัศมีร์]] และภาคใต้ของ[[อินเดีย]], [[ศรีลังกา]], [[เนปาล]], [[รัฐสิกขิม]], [[ภูฏาน]], [[พม่า]], [[ไทย]], [[ลาว]], [[กัมพูชา]], [[เวียดนาม]], [[มาเลเซีย]], [[สิงคโปร์]], [[ฟิลิปปินส์]], [[เกาะสุมาตรา]], [[เกาะชวา]], [[เกาะบอร์เนียว]], [[เกาะซูลาเวซี]] และ[[หมู่เกาะซุนดาน้อย]] และมี[[ชนิดย่อย]]มากถึง 30 ชนิด (ดูในตาราง)
 
มีพฤติกรรมมักอาศัยและหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ [[ป่าดิบชื้น]], ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ใกล้กับพื้นที่[[เกษตรกรรม]]ของ[[มนุษย์]] กินอาหารได้ทั้ง[[พืช]]และ[[สัตว์]] เช่น สัตว์ขนาดเล็กจำพวก[[แมลง]] และน้ำหวานของ[[เกสร]][[ดอกไม้]] ออกหากินในเวลากลางคืน นอนหลับในเวลากลางวัน ใช้เวลาส่วนมากตามพื้นดินและจะใช้เวลาน้อยมากอยู่บน[[ต้นไม้]] ออกลูกครั้งละ 2-2–4 ตัว โดยจะเลี้ยงลูกอ่อนไว้ตามโพรงไม้หรือโพรงหิน
<ref>[http://www.krunok.net/index2.php/?tag=%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2 อีเห็นข้างลาย]</ref>
 
อีเห็นข้างลาย "ไม่ได้"ถูกจัดเป็น[[สัตว์ป่าคุ้มครอง]]ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546 <ref>[http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=209%3Alibery&Itemid=82&showall=1 บัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง 2546]</ref> ปัจจุบันทาง[[สวนสัตว์เชียงใหม่]]ได้มีโครงการในการเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลาย เพื่อผลิต "[[กาแฟขี้ชะมด]]" ซึ่งเป็นกาแฟที่ได้จากมูลของอีเห็นข้างลาย มีราคาซื้อขายที่สูงมาก<ref>{{cite web|url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/3/2014-11-29/02/|title=ตระเวนข่าว: ข่าววันใหม่|date=29 November 2014|accessdate=29 November 2014|publisher=ช่อง 3}}</ref> และในการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการนี้ที่[[จังหวัดตรัง]]โดยเอกชนด้วย<ref name=หน้า>หน้า 27, ''อะเมซซิง..."กาแฟขี้ชะมดตรัง"'' โดย มนตรี สังขาว. '''ไทยรัฐ'''ปีที่ 69 ฉบับที่ 21911: วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา</ref>
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}