ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาการกลัวเลขสี่"

ความกลัวสำหรับตัวเลข 4
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''อาการกลัวเลขสี่''' ({{lang-en|tetraphobia}}) คืออาการกลัวในการพบเห็นจำนวน ...
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:03, 17 มกราคม 2561

อาการกลัวเลขสี่ (อังกฤษ: tetraphobia) คืออาการกลัวในการพบเห็นจำนวน 4 และหลีกเลี่ยงที่จะใช้มัน ซึ่งเป็นความเชื่องมงายชนิดหนึ่งและเกี่ยวข้องกับอาการกลัวจำเพาะวันศุกร์ที่สี่ ศัพท์คำนี้มีการใช้เป็นครั้งแรกโดย อิซาดอร์ คอเรียต ในหนังสือ แอบนอร์มัล ไซคอลอจี (จิตวิทยาผิดปรกติ) [1]

ประวัติ

เลข 4 (四; accounting 肆; พินอิน sì) ถือเป็นเลขอวมงคลของจีนเนื่องจากเป็นคำพ้องเสียงของคำว่า "ความตาย" (死 พินอิน ) มีสินค้าหลายชนิดที่ข้ามการใช้เลข 4 ในการออกสินค้าที่ใช้ตัวเลขเป็นชื่อสินค้า เช่น โทรศัพท์มือถือโนเกีย (Nokia) ที่ไม่มีสินค้าที่่ใช้เลข 4 ขึ้นต้นชื่อรุ่นของสินค้า[2] Canon PowerShot รุ่นจี (G series) ก็ออกรุ่นจี 3 และข้ามไปเป็นรุ่นจี 5 เลย เป็นต้น

ในเอเชียตะวันออกมีอาคารบางแห่งไม่มีชั้นเลขที่ 4 (เทียบเคียงได้กับในทวีปตะวันตก ที่อาคารบางแห่งไม่มีชั้นเลขที่ 13 เนื่องจากเชื่อว่าเลข 13 เป็นเลขอวมงคล) ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง อาคารที่พักอาศัยบางแห่งก็ไม่มีเลขที่ชั้นที่มีหมายเลข "4" ประกอบ เช่น ชั้นที่ 4, 14, 24, 34 และชั้นที่ 40–49 และบางแห่งยังไม่มีชั้นที่ 13 ด้วย[3] เป็นผลให้อาคารที่มีเลขชั้นสูงถึงชั้นที่ 50 อาจมีจำนวนชั้นจริงๆ เพียง 35 ชั้น เป็นต้น

อีกตัวอย่างคือ องค์การขนส่งสาธารณะเอสบีเอส ทรานซิท (SBS Transit) ในประเทศสิงคโปร์ งดการออกแผ่นป้ายทะเบียนรถเมล์สาธารณะที่มีเลขลงท้ายด้วยเลข '4' ด้วยเหตุผลเดียวกัน หรืออีกองค์การขนส่งสาธารณะของสิงคโปร์ คือ เอสเอ็มอาร์ที (SMRT) ก็งดการใช้เลข '4' เป็นเลขนำหน้าหมายเลขกำกับขบวนรถไฟและรถเมล์ด้วยเช่นกัน

  1. "Abnormal Psychology" p. 319, published in 1910, Moffat, Yard and company (New York). Library of Congress Control No. 10011167.
  2. [1][ลิงก์เสีย]
  3. Moy, Patsy (22 October 2009). "Raising the roof over developer's tall story". The Standard. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthor= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)