ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานพิทยเสถียร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เปลี่ยนทางมาที่สะพานเหล็ก ด้วยสคริปต์จัดให้
 
ลบการเปลี่ยนทางไป สะพานเหล็ก
ป้ายระบุ: ลบหน้าเปลี่ยนทาง ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Bkkpadungkrungkasem03c.jpg|thumb|250px|สะพานพิทยเสถียร]]
#REDIRECT [[สะพานเหล็ก]]
 
'''สะพานพิทยเสถียร''' เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างข้าม[[คลองรอบกรุง]] ในส่วนของ[[คลองผดุงกรุงเกษม]] โดยมีประวัติและที่มาควบคู่ไปกับ[[สะพานดำรงสถิต]] หรือที่นิยมเรียกว่าสะพานเหล็ก ที่ข้าม[[คลองโอ่งอ่าง]] ใน[[เขตพระนคร]] สะพานพิทยเสถียรตั้งอยู่บน[[ถนนเจริญกรุง]]ในช่วงที่ตัดกับ[[ถนนมหาพฤฒาราม]] มุ่งหน้าไปยังจุดตัดระหว่าง[[ถนนทรงวาด]], ถนนเจริญกรุง และ[[ถนนข้าวหลาม]] ในพื้นที่แขวงตลาดน้อย [[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]]
 
ในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] เมื่อโปรดให้ประกาศบอกบุญผู้ที่มีจิตศรัทธา ให้ช่วยกันสร้างสะพานข้ามคูคลองในพระนครนั้น [[ช่วง บุนนาค|สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงค์ (ช่วง บุนนาค)]] ได้สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กคู่กับสะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กล่าง" พื้นสะพานข้างล่างมีล้อ และรางเหล็กสำหรับเปิดสะพานให้แยกจากกันได้ ต่อมาในสมัย[[รัชกาลที่ 5]] โปรดให้กรมโยธาธิการสร้างใหม่ในพุทธศักราช 2442 เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้เช่นเดียวกันกับสะพานดำรงสถิต พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา]] ซึ่งมีวังที่ประทับอยู่ในบริเวณใกล้เคียง สร้างเสร็จในพุทธศักราช 2443 ใน[[รัชกาลที่ 6]] โปรดให้ปรับปรุงสะพานนี้ใหม่ ซึ่งคือสะพานที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
 
สภาพสะพานเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีสถาปัตยกรรมแบบเวนีเชียน มีคานล่างเป็นรูปโค้ง สะพานนี้มีลวดลายตกแต่งประณีตงดงามมาก โดยเฉพาะเสาลูกกรง เสาโคมไฟฟ้าทั้ง 8 ต้น ตลอดจนลายหัวสิงห์ที่ปลายรอดสะพาน ทั้งสะพานพิทยเสถียรและสะพานดำรงสถิต ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย[[กรมศิลปากร]]ตั้งแต่พุทธศักราช 2518<ref>{{cite web|url=http://www.thapra.lib.su.ac.th/ratanagosin/bridge-pitta.htm|title=สะพานพิทยเสถียร|work=ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์|accessdate=2018-01-16}}</ref> <ref>{{cite web|url=https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000070884|work=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|accessdate=2018-01-16|date=2017-07-12|title=รู้ยังอยู่ไหนบ้าง! ๑๗ สะพานสวยงามสร้างสมัย ร.๔ ร.๕ ร.๖ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน!!}}</ref>
 
==ดูเพิ่ม==
#REDIRECT *[[สะพานเหล็ก]]
 
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==
*{{geolinks-bldg|13.731850|100.515183}}
[[category:สะพานในกรุงเทพมหานคร]]{{commons|Category:Saphan Phitthaya Sathian|สะพานพิทยเสถียร}}
 
[[category:สะพานข้ามคลอง]]
[[category:สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย]]
[[category:โบราณสถานในกรุงเทพมหานคร]]