ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 6 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 62:
 
=== เหตุการณ์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2519 ===
ราวกลางปี 2519 มีข่าวว่า จอมพล [[ประภาส จารุเสถียร]] จะเดินทางโดยเครื่องบินจาก[[สาธารณรัฐจีน]] (ไต้หวัน) สู่ประเทศไทย ฝ่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดให้มีการชุมนุมต่อต้าน โดยจอมพลประภาสกลับประเทศในวันที่ 21 สิงหาคม โดยอ้างว่า ต้องการกลับประเทศในฐานะของคนแก่คนหนึ่งเท่านั้น ส่วนกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาก็ยกกำลังเข้าปะทะกับกลุ่มนักศึกษาถึงที่ชุมนุมภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนมีผู้เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บอีก 60 คน วันต่อมา จอมพลประภาสเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แล้วเดินทางกลับไปพำนักที่ไต้หวันตามเดิม<ref name="ชาญวิทย์">{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=ชาญวิทย์ เกษตรศิริ|ชื่อหนังสือ=กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554|URL=|จังหวัด=กรุงเทพฯ|พิมพ์ที่=โพสต์ พับลิชชิง|ปี=2555|ISBN=978-974-228-070-3|จำนวนหน้า=356}}</ref>
 
สมัคร สุนทรเวช พระสหายที่พระราชินีไว้วางพระทัย บินไปยังประเทศสิงคโปร์และบอกแก่จอมพลถนอมว่า พระราชวังอนุญาตให้เขาเดินทางกลับประเทศไทย<ref name="Handley234">Handley, p. 234.</ref> เมื่อวันที่ 7 กันยายน มีการอภิปรายในหัวข้อ "ทำไมจอมพล ถนอม จะกลับมา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้อภิปรายหลายคนสรุปว่า ส่วนหนึ่งเป็นแผนการที่วางไว้เพื่อวางแผนรัฐประหาร<ref name="ใจ70">ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ. หน้า 70.</ref> เมื่อจอมพลถนอมเดินทางกลับในวันที่ 19 กันยายน เขาปฏิเสธแรงจูงใจทางการเมือง และกล่าวว่า เขามาประเทศไทยเพียงเพื่อสำนึกความผิดที่เตียงบิดาผู้เสียชีวิตเท่านั้น<ref name="Time">"[http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,946713,00.html THAILAND: A Nightmare of Lynching and Burning], ''Time'', October 18, 1976.</ref> เขาอุปสมบทเป็นภิกษุที่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] เป็นวัดซึ่งสัมพันธ์กับราชวงศ์อย่างใกล้ชิด<ref name="Handley234"/> พิธีการถูกปิดอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเลี่ยงการคัดค้านการบวชและกลุ่มกระทิงแดงล้อมวัดไว้<ref name="Handley234"/> จากนั้นมีวิทยุยานเกราะตักเตือนมิให้นักศึกษาก่อความวุ่นวาย มิฉะนั้นอาจต้องมีการประหารชีวิตสัก 30,000 คนเพื่อให้บ้านเมืองรอดปลอดภัย<ref name="ใจ70"/> มีการคัดค้านสถานะภิกษุของจอมพลถนอม ปรากฏว่า สมเด็จพระสังฆราชก็ยอมรับว่าการบวชไม่ถูกต้อง<ref name="ใจ70"/> วันที่ 23 กันยายน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ไม่อาจจัดการอะไรได้ จึงขอลาออก และเมื่อเวลา 21.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีนาถเสด็จไปวัดบวรนิเวศ ระหว่างการเยือน คุณหญิง [[เกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา]] นางสนองพระโอษฐ์สมเด็จพระราชินีนาถ แถลงว่า สมเด็จพระราชินีทราบว่าจะมีคนมาเผาวัด "ขอให้ประชาชนช่วยกันดูแลป้องกัน อย่าให้ผู้ใจร้ายมาทำลายวัด"<ref>ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ. หน้า 70-71.</ref> วันที่ 24 กันยายน 2519 สมัครแถลงว่า "การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จวัดบวรนิเวศกลางดึกแสดงให้เห็นว่า พระองค์ต้องการให้พระถนอมอยู่ในประเทศต่อไป" และเมื่อวันที่ 26 กันยายน พระกิตติวุฒโทแถลงย้ำว่า "การบวชของพระถนอมครั้งนี้ได้กราบบังคมทูลขออนุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งขอเข้ามาในเมืองไทยด้วย ดังนั้นพระถนอมจึงเป็นผู้บริสุทธิ์"<ref name="ใจ71">ใจ อึ๊งภากรณ์ และคณะ. หน้า 71.</ref> นักศึกษาประท้วงการกลับของจอมพลถนอมที่สนามหลวงในวันที่ 30 กันยายน แต่ไม่นานการประท้วงย้ายไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ใกล้เคียงแทน มหาวิทยาลัยยกเลิกการสอบและปิดวิทยาเขต ด้วยหวังไม่ให้เกิดเหตุตำรวจอาละวาดซ้ำรอยเมื่อปีกลาย ทว่า ผู้เดินขบวนพังประตูเข้าไปยึดวิทยาเขตและยึดพื้นที่ประท้วง<ref name="Time"/> สหภาพแรงงานสี่สิบสามแห่งเรียกร้องให้รัฐบาลเนรเทศจอมพลถนอมมิฉะนั้นจะนัดหยุดงานทั่วไป<ref name="Time"/> การประท้วงคราวนี้ยิ่งกว่าคราวที่จอมพลประภาสกลับมาเสียอีก ส่วนฝ่ายรัฐบาลเห็นควรยับยั้งไว้ โดยมอบหมายให้[[ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์]]และ[[ดำรง ลัทธพิพัฒน์]]เป็นผู้แทนเจรจา แต่ก็ไม่เป็นผล ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นส่วนตัวว่า ตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญปี 2517 รัฐบาลไม่อาจเนรเทศบุคคลสัญชาติไทยหรือไม่ให้กลับสู่ประเทศไทยได้<ref name="หนังสือ"/> ในวันที่ 1 ตุลาคม ฝ่ายขวารวมกันออกแถลงการณ์ว่า "ได้ปรากฏแน่ชัดแล้วว่า ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นักศึกษา สภาแรงงานแห่งประเทศไทยและนักการเมืองฝ่ายซ้ายถือเอาพระถนอมมาเป็นเงื่อนไขสร้างความไม่สงบขึ้นภายในประเทศชาติถึงขั้นจะก่อวินาศกรรมทำลายวัดบวรนิเวศวิหาร และล้มล้างรัฐบาล เรื่องนี้กลุ่มต่าง ๆ ดังกล่าวประชุมลงมติว่า จะร่วมกันปกป้องวัดบวรนิเวศทุกวิถีทางตามพระราชเสาวนีย์"<ref name="ใจ71"/>
บรรทัด 115:
 
== หลังเหตุการณ์ ==
 
=== ความเจริญและความเสื่อมของลัทธิคลั่งเจ้า (Ultraroyalism) ===
รัฐประหารครั้งนี้ได้รับการต้อนรับด้วยความโล่งใจอย่างกว้างขวางเพราะวิกฤตการณ์ซึ่งเกิดขึ้นจากการกลับประเทศของจอมพลถนอมได้สร้างความวิตกกังวลใหญ่หลวง<ref name="Time"/> แฮนด์ลีย์เขียนว่า "มันเป็นรูปแบบของรัฐประหารที่ผ่านมาหลายครั้ง...เริ่มความรุนแรง ทิ้งให้ตำรวจแสดงให้เห็นว่าไม่สามารถสถาปนาระเบียบได้ จากนั้นปล่อยให้ทหารก้าวเข้ามา"<ref name="Handley237">Handley, p. 237.</ref> ความเดือดดาลอันเกิดจากภาพถ่ายการแสดงล้อการแขวนคอได้นำส่วนที่เกิดเอง แต่รูปแบบการฝึกและการเกณฑ์กำลังกึ่งทหารในช่วงปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงต่อฝ่ายซ้ายมีการวางแผนล่วงหน้าเป็นอย่างดี<ref name="Handley237"/> แฮนด์ลีย์ยังเขียนว่า สี่วันหลังการสังหารหมู่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระราชทานรางวัลแก่บุคลากรกึ่งทหารที่เกี่ยวข้อง<ref name="Handley237"/>
 
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินแต่งตั้ง[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร]] ที่พระมหากษัตริย์โปรด เป็นนายกรัฐมนตรี ธานินทร์เลือก[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 39|คณะรัฐมนตรี]]ด้วยตัวเองโดยไม่สนใจรายชื่อของคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง รวมทั้งสมัครเป็น[[รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย]]<ref name="Handley259">Handley, p. 259.</ref> พลเรือเอกสงัดคงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบกที่เพิ่งเกษียณ พลเอกบุญชัย ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี มีการล้อมจับผู้ต้องสงสัยฝ่ายซ้ายสามพันคน สื่อทั้งหมดถูก[[การตรวจพิจารณาในประเทศไทย|ตรวจพิจารณา]] และสมาชิกในองค์การคอมมิวนิสต์ถูกลงโทษประหารชีวิต มีการกวาดล้างครอบคลุมมหาวิทยาลัย สื่อและบริการสาธารณะ<ref name="Globalsec"/> รัฐบาลสั่งห้ามเผยแพร่ภาพเหตุการณ์ทั้งหมด ตลอดจนเรื่องราวของเหตุการณ์โดยเด็ดขาด ตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมัคร สุนทรเวช รวมถึงคณะปฏิรูปฯ ยังมีคำสั่งห้ามจำหน่ายหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ เป็นเวลา 3 วันหลังเหตุการณ์ และตรวจสอบเนื้อหาของสื่อมวลชนอีกหลายประการ ทั้งยกเลิกการสอนเรื่องการเมืองในโรงเรียนต่าง ๆ อีกด้วย<ref name="ชาญวิทย์">{{อ้างหนังสือ |ผู้แต่ง=ชาญวิทย์ เกษตรศิริ |ชื่อหนังสือ=กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 |URL= |จังหวัด=กรุงเทพฯ |พิมพ์ที่=โพสต์ พับลิชชิง |ปี=2555 |ISBN=978-974-228-070-3 |จำนวนหน้า=356}}</ref> ประชาธิปไตยค่อย ๆ ได้รับการฟื้นฟูภายในโครงการ 12 ปี<ref name="Handley267">Handley, p. 267.</ref> รัฐบาลชุดนี้เป็นชุดที่[[กษัตริย์นิยม|นิยมเจ้า]]และต่อต้านฝ่ายซ้ายดุดันที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย แต่ก็ปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักด้วย ฝ่ายซ้ายเมืองราว 800 คนหลบหนีไปยังพื้นที่ชายแดนซึ่งคอมมิวนิสต์ควบคุมอยู่หลังรัฐประหาร<ref name="Weinstein">Franklin B. Weinstein, "The Meaning of National Security in Southeast Asia,". ''Bulletin of Atomic Scientists'', November 1978, pp. 20-28.</ref> มีการโจมตีกองโจรเป็นระลอกตามมา ซึ่งเพิ่มถึงขีดสุดในต้น พ.ศ. 2520<ref name="Weinstein"/>
 
ไม่ช้า ลัทธิคลั่งชาติของธานินทร์ก็ได้บาดหมางกับแทบทุกภาคส่วนของสังคมไทย<ref name="Handley246">Handley, p. 246</ref> ทั้งรัฐบาลยังถูกวิจารณ์ว่ามีแนวคิดขวาจัด ดำเนินแนวนโยบายรุนแรง ส่งผลให้มีนักศึกษาจำนวนมากต้องหลบหนีเข้าป่าไปร่วมกับ[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย]] ซึ่งต่อมาก็ปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐหลายครั้งจนมีผู้เสียชีวิตเป็นอันมาก<ref>{{อ้างหนังสือ |ผู้แต่ง=ชวน หลีกภัย |ชื่อหนังสือ=เย็นลมป่า |URL= |จังหวัด=กรุงเทพฯ |พิมพ์ที่=พรรคประชาธิปัตย์ |ปี=2549 |ISBN=974-94345-0-1 |จำนวนหน้า=256}}</ref> อีกทั้งเสถียรภาพ ของรัฐบาลเองก็ไม่มั่นคง เพราะถูกครอบงำจากคณะนายทหาร จึงมีความหวาดหวั่นกันว่าจะมีการรัฐประหารซ้อนเกิดขึ้น จนเช้า[[กบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520|วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520]] มีความพยายามรัฐประหารโดยมีพลเอก [[ฉลาด หิรัญศิริ]] อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้นำ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นนายทหารอีกคณะหนึ่งที่จะรัฐประหารซ้อนคณะของพลเรือเอกสงัด แต่กระทำการไม่สำเร็จ พลเอกฉลาดถูกประหารชีวิต ฐานเป็นกบฏในราชอาณาจักร<ref name="นร"/> รัฐบาลชุดนี้สิ้นสุดลงด้วย[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2520|รัฐประหาร]] นำโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ โดยอ้างถึงความมั่นคงของรัฐ และความล่าช้าในการร่างรัฐธรรมนูญ<ref name="นร">นรนิติ เศรษฐบุตร ศ., ''26 มีนาคม'' คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย: หน้า 8 เดลินิวส์ฉบับที่ 22,807 ประจำวันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555</ref>
 
=== การดำเนินคดี ===