ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไอแซค อสิมอฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 6725807 โดย CommonsDelinkerด้วยสจห.
Wegang (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ลิงค์ "กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์"
บรรทัด 59:
งานเขียนของอาซิมอฟสามารถแบ่งได้เป็นหลายยุค ในช่วงแรกๆ เขาอุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่งานเขียน[[นิยายวิทยาศาสตร์]]โดยเริ่มจากการเขียน[[เรื่องสั้น]]ในปี ค.ศ. 1939 และเริ่มเขียน[[นวนิยาย]]ในปี ค.ศ. 1950 ไปจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1958 หลังจากที่เขาได้พิมพ์เรื่อง ''[[นครสุริยะ]]'' เขาก็เริ่มงานเขียนแนวอื่นในราวปี ค.ศ. 1952 อาซิมอฟเป็นผู้แต่งร่วมให้กับตำราเรียนระดับวิทยาลัยได้แก่ ''Biochemistry'' และ ''Human Metabolism'' ครั้นถึงปี ค.ศ. 1957 เมื่อดาวเทียม[[สปุตนิก]]ของ[[สหภาพโซเวียต]]ได้ขึ้นไปโคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก เขาก็เริ่มหันไปเขียนบทความวิทยาศาสตร์ทันยุค รวมถึงจัดทำหนังสือและนิตยสาร งานประพันธ์นิยายวิทยาศาสตร์ของเขาเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ เป็นเวลากว่า 25 ปีซึ่งเขาได้เขียนนิยายวิทยาศาสตร์เพิ่มเพียง 4 เรื่องเท่านั้น จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1982 เขาก็หันมาเขียนนิยายวิทยาศาสตร์อีกครั้งโดยเริ่มจาก ''[[Foundation's Edge]]'' หลังจากนั้นจนกระทั่งถึงวันที่เขาเสียชีวิต อาซิมอฟได้เขียนเรื่องชุดต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์ในนวนิยายก่อนหน้าของเขาอีกหลายเรื่อง โดยพยายามเชื่อมโยงเรื่องทั้งหมดเข้าด้วยกัน แม้จะมีเรื่องราวบางจุดที่ยังไม่ค่อยสอดคล้องกันอยู่บ้างโดยเฉพาะในงานเขียนยุคแรกๆ ของเขา<ref>ไอแซค อาซิมอฟ (1988) , ''Prelude to Foundation'', Bantam Books, pp. xiii–xv</ref>
 
อาซิมอฟเชื่อว่าแนวคิดที่ยั่งยืนที่สุดของเขาคือ "[[กฎสาม 3 ข้อของหุ่นยนต์]]" และเรื่องชุด[[สถาบันสถาปนา (หนังสือชุด)|สถาบันสถาปนา]] [[พจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ด]]ให้เกียรติแก่ผลงานของเขาโดยบรรจุคำว่า ''โพสิตรอนิก (positronic) '' (เทคโนโลยีที่มีแต่ในนิยายเท่านั้น) ''อนาคตประวัติศาสตร์ (psychohistory) '' (คำนี้มีที่ใช้หมายถึงศาสตร์ที่ศึกษาความเคลื่อนไหวในประวัติศาสตร์) และ ''โรโบติกส์ (robotics) '' ลงไปในพจนานุกรม อาซิมอฟเลือกใช้คำว่า ''โรโบติกส์'' โดยไม่ได้คาดคิดว่ามันจะกลายเป็นคำต้นแบบที่ใช้กันต่อๆ มา ในเวลานั้นเขาเพียงแต่คิดว่ามันเป็นคำง่ายๆ เหมือนอย่าง [[กลศาสตร์|แมคานิกส์]] หรือ[[ไฮดรอลิกส์]] พอเอามาใช้กับหุ่นยนต์ก็เลยเป็นโรโบติกส์ คำนี้ได้เข้ามาอยู่ในแวดวงทางเทคนิคพร้อมกับคำจำกัดความตามแนวคิดของอาซิมอฟด้วย ซึ่งต่างจากคำว่า "อนาคตประวัติศาสตร์" ในเรื่อง สตาร์เทรค: The Next Generation มีหุ่น[[แอนดรอยด์]]ซึ่งมี "[[สมองโพสิตรอน]]" ซึ่งถือเป็นการให้เกียรติแก่อาซิมอฟอย่างเต็มที่ที่ได้ "คิดค้น" เทคโนโลยีในนิยายนี้ขึ้น
 
=== ผลงานนวนิยายวิทยาศาสตร์ ===