ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซันเฉิ่งลิ่วปู้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
==จุดกำเนิด==
 
ก่อนจัดตั้งสำนักทั้งสามและกรมทั้งหก ราชการส่วนกลางในสมัย[[ราชวงศ์ฉิน]] (221–206 ปีก่อน ค.ศ.) และราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) เป็นระบบที่เรียก "[[สามขุนเก้าหลวง]]" (三公九卿) โดยหน่วยงานต่าง ๆ มักมีภาระหน้าที่คล้ายคลึงและทับซ้อนกัน ภายหลัง ราชวงศ์ฉินจัดตั้ง[[สำนักราชเลขา]]ขึ้นทำหน้าที่เก็บจดหมายเหตุ ต่อมาในรัชกาล[[จักรพรรดิฮั่นอู่]] (漢武帝) แห่ง[[ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก]] (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 9) จึงจัดตั้ง[[สำนักเลขากลาง]]ขึ้นเป็นหน่วยประสานงานระหว่างที่ปรึกษาของจักรพรรดิกับรัฐบาลโดยรวม ครั้นสมัย[[ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก]] (ค.ศ. 25–220) มีการจัดตั้งสำนักงานที่ปรึกษาและผู้ตรวจการหลวงขึ้น ถึงสมัย[[วุยก๊ก|รัฐเว่ย์]] (ค.ศ. 220–265) จักรพรรดิ[[โจผี|เฉา พี]] (曹丕) ประกาศจัดตั้งสำนักเลขากลางขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเอาสำนักงานที่ปรึกษาฯ ดังกล่าวเป็นพื้นฐาน เพื่อคานอำนาจกับสำนักราชเลขา นับเป็นหน่วยงานแรกที่ได้ชื่อว่า "เลขา" อย่างเป็นทางการ มีหน้าที่เสมือนเสมียนหลวงในสมัยหลัง คือ ร่างรับสั่ง<ref>Lu, 235.</ref>
 
ครั้นถึง[[ราชวงศ์จิ้น]] (ค.ศ. 265–420) มีการจัดตั้ง[[สำนักหน้าประตู]]ขึ้นเป็นหน่วยงานตรวจสอบราชการ ซึ่งดำรงอยู่ต่อมาตลอดช่วง[[ราชวงศ์เหนือใต้]] (ค.ศ. 420–589) ช่วงนั้น สำนักดังกล่าวมักมีอำนาจสูงสุดในระบบราชการกลาง