ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏแมนฮัตตัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KE Penetrator (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7122530 สร้างโดย Khampirat (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
KE Penetrator (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขผิดพลาด
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 24:
เหตุที่เลือกเอาวันนี้เป็นวันลงมือ เพราะก่อนหน้านั้นเพียงหนึ่งวัน มีการปล่อยกำลังทหารกองหนุนกลับสู่ภูมิภาค ทำให้จำนวนทหารในพระนครเหลือน้อย เรียกกลับมาประจำการไม่ทัน อีกทั้งพื้นที่บริเวณนี้ก็เป็นเขตของทหารเรือด้วย จึงลงมือได้ง่ายกว่า
 
ในเหตุการณ์กบฏ หัวหน้าคณะก่อการ คือ [[อานนท์ ปุณฑริกกาภา|น.อ.อานนท์ ปุณฑริกกาภา]] ร.น. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง [[ชื้น จารุวัสส์|พระยาสารสาสน์ประพันธ์]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของ[[กรมการรักษาดินแดน]] (ร.ด.) โดยได้ให้[[นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์) |นายวรการบัญชา]] ประธาน[[สภาผู้แทนราษฎร]] รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่[[ทำเนียบรัฐบาล]] (ในขณะนั้นคือ [[พระที่นั่งอนันตสมาคม]]) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ ซึ่งตามแผนการของผู้ก่อการแล้ว ฝ่ายก่อการต้องยึดโรงไฟฟ้าและสถานีโทรศัพท์กลาง ที่หน้าวัดราชบุรณะ (วัดเลียบ) ให้ได้ โดยเรือรบหลวงศรีอยุธยาจะต้องแล่นผ่าน[[สะพานพระพุทธยอดฟ้า]] ซึ่งเปิดรอ เพื่อไปตั้งกองบัญชาการที่ฝั่งพระนคร และมีกำลังทหารจากต่างจังหวัดยกเข้ามาสมทบทั้งทหารเรือและทหารบก แต่เมื่อลงมือจริง ๆ แล้วกลับไม่เป็นไปตามนั้น สะพานพระพุทธยอดฟ้าก็ไม่เปิด และในที่สุดเครื่องยนต์เรือก็เสียจากการถูกโจมตีหนัก โดยในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]] ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ใช้อำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ใช้กำลังทหารเพื่อปราบจลาจล<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/041/1.PDF</ref> และในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น. นายวรการบัญชา รักษาการนายกรัฐมนตรีได้รับสนองต่อมาพระบรมราชโองการประกาศ[[กฎอัยการศึก]]ใน[[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดธนบุรี]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/A/041/3.PDF</ref>โดยผ่าน[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]] นับว่าเป็นการใช้[[กฎอัยการศึก]]ครั้งแรกในรัชกาลของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]มี[[นายวรการบัญชา (บุญเกิด สุตันตานนท์)|วรการบัญชา]]เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
 
[[ไฟล์:New Seal of the Royal Command of Thailand 001.jpg|thumb|200px|right|ตราพระบรมราชโองการในการประกาศใช้กฏอัยการศึก]]