ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิเถี่ยว จิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
 
หลังจากที่พระจักรพรรดิมิญหมั่งเสด็จสวรรคต ชาวกัมพูชาก่อการกบฎต่อต้านการปกครองของเวียดนาม สังหารข้าราชการชาวเวียดนามไปจำนวนมาก องเตียนกุนเจืองมิญสางจึงพยายามที่จะแก้ไขปัญหาโดยการนำกษัตรีองค์มีกลับมาครองกัมพูชาอีกครั้ง แต่ทว่าไม่ทันการฝ่ายกองทัพและฝ่ายการปกครองของเวียดนามไม่อาจตั้งอยู่ในกัมพูชาได้อีกต่อไป ในค.ศ. 1841 เจืองมิญสางจึงนำกองทัพเวียดนามพร้อมทั้งนักองค์มีล่าถอยกลับมายังเมืองโจฏก หรือ เจิวด๊ก (Châu Đốc) ในเวียดนามภาคใต้ เจืองมิญสางเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ไม่อาจรักษากัมพูชาไว้ได้ จึงกระทำการ[[อัตวินิบาตกรรม]]ดื่มยาพิษเสียชีวิตไปในที่สุด ในโอกาสนี้ [[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] ยกทัพฝ่ายสยามเข้าครองนคร[[อุดรมีชัย|อุดงมีชัย]]และนคร[[พนมเปญ]]ได้อย่างรวดเร็ว [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มีพระบรมราชโองการให้[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์]] ทรงเป็นแม่ทัพเรือนำทัพเรือสยามเข้าโจมตีเมืองบันทายมาศ และโปรดฯให้เจ้าพระยายมราชพร้อมทั้ง[[นักองค์ด้วง]]นำทัพบกยกไปทางเมืองโจฏก พระจักรพรรดิเถี่ยวจิมีพระราชโองการให้ เหงียนจิเฟือง (Nguyễn Tri Phương, 阮知方) ยกทัพจากเมืองไซ่ง่อนเข้าช่วยเหลือและป้องกันเองบันทายมาศจากการโจมตีของทัพเรือสยาม ฝ่ายทัพเรือสยามเมื่อทราบว่าฝ่ายเวียดนามกำลังจะยกทัพใหญ่มาช่วยเมืองบันทายมาศ และลมมรสุมไม่เอื้ออำนวย จึงยกทัพเรือถอยออกจากเมืองบันทายมาศ<ref>http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%92-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD</ref> เหงียนจิเฟืองเมื่อเห็นว่าทัพเรือสยามยกกลับไปแล้ว จึงยกทัพเข้าโจมตีทัพสยามของเจ้าพระยายมราชและนักองค์ด้วงที่เมืองโจฏกแตกพ่ายไป
 
ใน[[ค.ศ. 1845]] กองทัพฝ่ายเวียดนามยกทัพมายึดเมืองพนมเปญจากสยามกลับไปได้สำเร็จอีกครั้ง และยกทัพเข้ารุกรานเมืองอุดงมีชัย แต่ยังไม่ทันที่กองทัพจะถึงเมืองอุดง เจ้าพระยาบดินทรเดชานำทัพสยามเข้าโจมตีทัพเวียดนามอย่างไม่ทันรู้ตัวจนแตกพ่ายไป<ref>http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%92%E0%B9%91%E0%B9%94-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9B</ref> ฝ่ายเวียดนามจึงตั้งมั่นอยู่ที่นครพนมเปญ เมื่อสงครามระหว่างเวียดนามและสยามดำเนินมาเป็นเวลาหลายสิบปีอย่างไม่ประสบผล ทั้งฝ่ายต่างคุมเชิงกันไม่สามารถเอาชนะซึ่งกันและกันได้ สูญเสียกำลังคนและทรัพยากร การเจรจาจึงเริ่มขึ้นด้วยการราชสำนักเวียดนามมีพระราชสาสน์ไปถึงนักองค์ด้วงว่า หากยอมสวามิภักดิ์ต่อเมืองเว้จะมอบเชื้อพระวงศ์เขมรที่เคยถูกจับไปเป็นองค์ประกันที่เมืองเว้กลับคืนให่แก่นักองค์ด้วง<ref>http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%92%E0%B9%91%E0%B9%98-%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5</ref> ทางฝ่ายสยามส่งราชฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรียังเมืองเว้ใน[[ค.ศ. 1846]] แม้ว่าทางราชสำนักเวียดนามจะต้อนรับฑูตสยามอย่างเย็นชาและพระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงไม่ตรัสปราศรัยกับคณะฑูตสยามแต่ประการใดเลยก็ตาม<ref>http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%92%E0%B9%93%E0%B9%91-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1</ref>
 
==== การรุกรานของฝรั่งเศส ====
พระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงยืดถือหลักการลัทธิขงจื้อให้เป็นศาสนาประจำชาติเวียดนาม เฉกเช่นเดียวกับพระจักรพรรดิมิญหมั่งพระราชชนก นับตั้งแต่รัชสมัยของพระจักรพรรดิมิญหมั่ง มิชชันนารีชาวตะวันตกได้เข้ามาเผยแพ่หลักคำสอนของ[[ศาสนาคริสต์]]นิกาย[[โรมันคาทอลิก]] ราชสำนักเวียดนามมองว่าศาสนาคริสต์เป็นลัทธินอกรีต พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงมีพระราชโองการห้ามมิให้มิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ตั้งแต่ค.ศ. 1825 แต่ทว่าพระราชโองการนั้นถูกบังคับใช้อย่างไม่เต็มที่และยังคงมีมิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาในเวียดนามอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงปลายรัชสมัยมิญหมั่งจึงมีการกดขี่เข่มเหงประหารชาวคริสเตียนจำนวนมาก การประทุษร้ายชาวคริสเตียนในเวียดนามทั้งชาวตะวันตกและชาวเวียดนามนั้น เปิดโอกาสให้มหาอำนาจตะวันตกคือฝรั่งเศสใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ายึดดินแดนเวียดนาม มิชชันนารีดอมีนิก เลอแฟบฟวร์ (Dominique Lefèbvre) ได้ลักลอบเดินทางเข้ามายังอาณาจักรดั่ยเหวียดเพื่อเผยแพร่ศาสนาในค.ศ. 1838 รัชกาลพระเจ้ามิญหมั่ง
สมเด็จพระจักรพรรดิเถี่ยว จิ ทรงเหมือนกับสมเด็จพระจักรพรรดิมิญ หมั่ง (พระราชชนกของพระองค์) และทรงยึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยวตัวเองและหลักการของ[[ลัทธิขงจื๊อ]] แม้พระองค์จะทรงได้รับการอบรมในลัทธิขงจื๊อมาอย่างสูง แต่พระองค์ก็มีพระประสงค์ที่จะรู้เรื่องของชาวตะวันตกอยู่บ้าง แต่ก็เช่นเดียวกับพระราชชนก คือ ยังคงไม่ไว้วางพระทัยชาวต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวจีน ในเวลาเดียวกัน ทั้ง[[ฝรั่งเศส]]และ[[สหราชอาณาจักร]]ต่างพยายามแข่งกันล่าอาณานิคมและสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับอินโดจีน และก็เช่นเดียวกับยุคสมัยของพระราชชนก พฤติการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้[[มิชชันนารี]]ชาวสเปนและฝรั่งเศสที่ไม่สนใจการห้ามเผยแพร่ศาสนากลับเข้ามาในเวียดนามอีก เมื่อพระองค์ทรงสั่งจับกุมคุมขังมิชชันนารีเหล่านั้น ฝรั่งเศสจึงทำการตอบโต้ทันที ในปี ค.ศ. 1843 รัฐบาลฝรั่งเศสส่งทหารให้เดินทัพสู่อินโดจีน พร้อมคำสั่งให้ป้องกันและปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งเศส และขอให้ปล่อยมิชชันนารีโดยไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถ้าเป็นไปได้<ref>Jacob Ramsay Mandarins and Martyrs: The Church and the Nguyen Dynasty 2008 "The start of Thiệu Trị's reign saw, for example, an immediate revival of Buddhism at court. A devout Buddhist, Thiệu Trị ordered elaborate mourning rites for his father's funeral."</ref><ref>Nghia M. Vo Saigon: A History -2011 Page 59 "In March 1843, the Heroine arrived in Đà Nẳng harbor, asking for the release of five imprisoned missionaries. King Thiệu Trị complied."</ref>
 
[[ไฟล์:Gold lang Thieu Tri CdM.jpg|thumb|left|100px|เหรียญที่ใช้ในรัชสมัยของพระองค์]]
ใน[[ค.ศ. 1843]] ฝรั่งเศสได้นำเรือรบชื่อว่า เอรวน (''Héroine'') มาปิดล้องเมืองท่า[[ดานัง]] หรือที่ฝรั่งเศสเรียกว่า[[ดานัง|ตูราน]] (Tourane) เพื่อกดดันให้ราชสำนักเวียดนามปล่อยตัวมิชชันนารีห้าคนซึ่งถูกจองจำไว้ในเมืองเว้ ทางราชสำนักเวียดนามจึงยอมปล่อยตัวมิชชันนารีทั้งห้าคนโดยดี<ref>Jacob Ramsay Mandarins and Martyrs: The Church and the Nguyen Dynasty 2008 "The start of Thiệu Trị's reign saw, for example, an immediate revival of Buddhism at court. A devout Buddhist, Thiệu Trị ordered elaborate mourning rites for his father's funeral."</ref><ref>Nghia M. Vo Saigon: A History -2011 Page 59 "In March 1843, the Heroine arrived in Đà Nẳng harbor, asking for the release of five imprisoned missionaries. King Thiệu Trị complied."</ref> ในค.ศ. 1845 มิชชันนารี ดอมีนิก เลอแฟบฟวร์ ถูกจับตัวได้และได้รับการตัดสินโทษประหารชีวิต ทางการฝรั่งเศสจึงร้องขอต่อราชสำนักเมืองเว้ ผ่านทางเรือรบของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า ยูเอสเอส คอนสติทิวชั่น (USS ''Constitution'') ซึ่งนำโดยกัปตันจอห์น เพอร์ซิวัล (John Percival) การเจรจาของนายจอห์นเพอร์ซิวัลกับราชสำนักเวียดนามในการปล่อยตัวมิชชันนารีไม่เป็นผล ประกอบกับการที่สหราชอาณาจักรเพิ่งจะได้รับชัยชนะเหนือจักรวรรดิจีน[[ราชวงศ์ชิง]]ใน[[สงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง]] รัฐบาลฝรั่งเศสเกรงว่าสหราชอาณาจักรจะแผ่ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกแต่เพียงผู้เดียว จึงส่งแม่ทัพเรือ ฌ็ฮง- บาติสต์ เซซีย์ (Jean-Baptiste Cécille) นำทัพเรือฝรั่งเศสเข้ามาในทะเลจีนใต้เพื่อจัดการเรื่องจีนและเวียดนาม ราชสำนักเมืองเว้ยินยอมปล่อยตัวมิชชันนารีเลอแฟบฟวร์แต่โดยดี
ความมุ่งมั่นของสมเด็จพระจักรพรรดิเถี่ยว จิ ที่จะกำจัดมิชชันนารี[[โรมันคาทอลิก]]ออกไปจากอาณาจักรไม่สามารถลงเอยด้วยความประนีประนอมกับฝรั่งเศสได้ ปี ค.ศ. 1845 เกือบเกิดการปะทะกันระหว่างเวียดนามกับเรือรบยูเอสเอส คอนสติทูชัน (USS Constitution) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้บังคับให้พระองค์ทรงปล่อยมิชชันนารีดอมีนิก เลอแฟบฟวร์ (Dominique Lefèbvre) ผู้ได้ลักลอบเข้ามาเวียดนามหลายครั้ง กองทัพเรือฝรั่งเศสเดินทางถึง[[ดานัง|ตูราน]]ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1847 และเรียกร้องให้มีการรับรองความปลอดภัยของพลเมืองฝรั่งเศส และขอให้พระองค์ทรงหยุดการไล่ล่าเหล่ามิชชันนารี
 
แต่ทว่ามิชชันนารีเลอแฟบฟวร์ได้ลักลอบเดินทางเข้าไปในเวียดนามอีกครั้งใน[[ค.ศ. 1847]] และถูกจับได้พร้อมกับมิชชันนารีอีคนหนึ่งชื่อว่าดูโกล (Duclos) ฝ่ายแม่ทัพฝรั่งเศสเซซีย์เมื่อทราบว่ามิชชันนารีเลอแฟบฟวร์ถูกทางการเวียดนามจับกุมตัวอีกครั้ง จึงนำเรือรบสองลำชื่อว่า กลัวร์ (''Gloire'') และ วิกโตรืส (''Victorieuse'') เข้าปิดล้อมเมืองท่าดานังในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1847 เพื่อกดดันให้ทางการเวียดนามปล่อยตัวมิชชันนารีทั้งสองคน และเรียกร้องให้พระจักรพรรดิเถี่ยวจิพระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนาให้แก่ชาวคริสเตียนในเวียดนาม แต่ทว่าราชสำนักเวียดนามปฏิเสธการเจรจาใดๆ และส่งเรือรบเวียดนามหกลำเข้าโจมตีเรือกลัวร์และวิกโตรืส เรืองทั้งสองฝรั่งเศสจึงตอบโต้ด้วยการยิงปืนใหญ่เข้าทำลายเรือรบของเวียดนามไปสี่ลำ และสังหารทหารเวียดนามไปประมาณหนึ่งพันสองร้อยคน เมื่อเสร็จสิ้นการโจมตีแล้วแม่ทัพเซซีย์ได้นำเรืองฝรั่งเศสทั้งสองออกไปจากดานังทันที เมื่อประสบกับความพ่ายแพ้ราชสำนักเวียดนามจึงยินยอมปล่อยตัวมิชชันนารีทั้งสองแต่โดยดี
 
บรรดาองคมนตรีได้ถ่วงเวลาส่งพระราชสาส์นตอบกลับของจักรพรรดิและการต่อสู้ได้ปะทุขึ้น พระองค์มีรับสั่งให้มีการเสริมกำลังป้องกันชายฝั่ง แต่ฝรั่งเศสกลับเอาชนะเวียดนามอย่างง่ายดายเนื่องจากยุทโธปกรณ์ที่ด้อยกว่าของเวียดนาม ป้อมที่ชายฝั่งทั้งหมดถูกทำลายและเรือสำเภา 3 ลำถูกทำให้จมก่อนที่เรือของฝรั่งเศสจะแล่นออกไป พระองค์เถี่ยวจิทรงประกาศว่ามิชชันนารีทั้งหมดเป็นสายลับของศัตรูและมีรับสั่งให้ประหารชีวิตผู้นับถือศาสนาคริสต์ทั้งหมดในทันที แต่เสนาอำมาตย์ก็ไม่ได้ทำตามพระราชโองการ และพระองค์ก็สวรรคตในเวลาไม่นาน ไม่มีมิชชันนารีคนใดถูกประหารในรัชสมัยของพระองค์<ref>Charles Keith - Catholic Vietnam: A Church from Empire to Nation -2012 Page 46 "The French raids at Đà nẵng in 1847 ended Thiệu Trị's more relaxed policies toward Catholics, and his successor the Tự Đức emperor, who came to power shortly thereafter, issued in the late 1840s and early 1850s a new wave of edicts ..."</ref> การต่อสู้ปะทะกันระหว่างราชสำนักเวียดนามและราชสำนักฝรั่งเศสในค.ศ. 1847 เป็นครั้งแรก และจะยังมีความขัดแย้งอีกในอนาคตเนื่องจากราชสำนักเวียดนามยังคงยึดมั่นในนโยบายการข่มเหงชาวคริสเตียน จนนำไปสู่การสูญเสียดินแดนและการสูญเสียเอกราชของประเทศเวียดนามในที่สุด
 
== อ้างอิง ==