ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วินสตัน เชอร์ชิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 99:
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น ในวันที่ 3 กันยายน 1939 วันที่สหราชอาณาจักรประกาศสงครามต่อเยอรมัน วินสตันได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงทหารเรือ ตำแหน่งเดิมกับที่เขาเคยดำรงตำแหน่งในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเป็นเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะรัฐมนตรีฝ่ายสงคราม (War cabinet) ในรัฐบาลของเชมเบอร์ลิน<ref>Churchill, Winston. ''The Second World War'' (abridged edition), p. 163. Pimlico (2002); {{ISBN|0-7126-6702-4}}</ref><ref name="papers-bio">{{cite web|url=http://www.chu.cam.ac.uk/archives/churchill_papers/biography|title=The Churchill Papers: Biographical History|accessdate=26 February 2007|last=Brendon|first=Piers|publisher=[[Churchill Archives Centre]], [[Churchill College, Cambridge]]}}</ref> ในตำแหน่งนี้ วินสตันได้พิสูจน์ตนเองเป็นรัฐมนตรีมือดีในยุคที่เรียกว่า "[[สงครามลวง]]" ตอนแรกวินสตันเสนอแผนจะส่งกองเรือทะลวงเข้าไปใน[[ทะเลบอลติก]] แต่ก็เปลี่ยนแผนเป็นการวางทุ่นระเบิดเส้นทางเดินเรือไม่ให้นอร์เวย์สามารถส่งแร่เหล็กออกจากเมืองนาร์วิกไปป้อนอุตสาหกรรมทหารของเยอรมันได้ ซึ่งจะบีบเยอรมันให้เปิดฉากโจมตีนอร์เวย์ เป็นโอกาสดีที่ราชนาวีอังกฤษจะมีชัยเหนือกองเรือเยอรมัน<ref>Lunde 2009, pp. 11–14</ref> อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเชมเบอร์ลินตลอดจนคณะรัฐมนตรีฝ่ายสงครามคัดค้านแผนการนี้ทำให้แผนล่าช้าออกไป แผนวางทุ่นระเบิดอันมีชื่อว่า "[[ปฏิบัติการวิลเฟรด]]" นี้เริ่มขึ้นในวันที่ 8 เมษายน 1940 เพียงวันเดียวก่อนที่เยอรมันจะประสบความสำเร็จใน[[การทัพนอร์เวย์|การบุกครองนอร์เวย์]]<ref name=planer>{{cite encyclopedia|first=François|last=Kersaudy|authorlink=François Kersaudy|encyclopedia=[[Norsk krigsleksikon 1940–45]] |title=allierte planer|editor=[[Hans Fredrik Dahl|Dahl]] |editor2=[[Guri Hjeltnes|Hjeltnes]] |editor3=[[Berit Nøkleby|Nøkleby]] |editor4=[[Nils Johan Ringdal|Ringdal]] |editor5=[[Øystein Sørensen|Sørensen]] |url=http://urn.nb.no/URN:NBN:no-nb_digibok_2010113005006 |accessdate=|year=1995|publisher=Cappelen|location=Oslo|isbn=82-02-14138-9|pages=17–18|language=Norwegian}}</ref>
 
==== สุนทรพจน์ "เราจักไม่มีวันยอมจำนนแพ้" ====
ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเยอรมนีจะเข้าบุกฝรั่งเศสด้วยกลยุทธ์[[บลิทซ์ครีก]]ผ่าน[[กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ]] หลังจากความล้มเหลวของปฏิบัติการในประเทศนอร์เวย์ ผู้คนก็สูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาลของ[[เนวิล เชมเบอร์ลิน|เชมเบอร์ลิน]] ทำให้เชมเบอร์ลินตัดสินใจลาออก ตัวเต็งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปอย่าง[[Edward Wood, 1st Earl of Halifax|เอิร์ลแห่งฮาลิแฟกซ์]]ก็ถอนตัว เนื่องจากเขาไม่เชื่อมั่นว่าตัวเขาซึ่งมาจาก[[สภาขุนนาง]]จะสามารถบริหารบ้านเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน แม้ว่าโดยจารีตประเพณีแล้วนายกรัฐมนตรีจะมิทูลเกล้าฯเสนอชื่อนายกฯคนต่อไป แต่เชมเบอร์ลินต้องการใครซักคนที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งสามพรรคใน[[สภาสามัญชน]] จึงเกิดการหารือกันระหว่างเชมเบอร์ลิน, ลอร์ดฮาลิแฟกซ์, วินสตัน และ[[David Margesson, 1st Viscount Margesson|เดวิด มาเกรสสัน]] ในที่สุด[[สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร|พระเจ้าจอร์จที่ 6]] ก็ทรงเสนอชื่อวินสตันขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดยสิ่งแรกที่วินสตันทำคือการเขียนจดหมายขอบคุณเชมเบอร์ลินที่สนับสนุนเขา<ref>Self, Robert (2006). ''Neville Chamberlain: A Biography'', p. 431. Ashgate; ISBN 978-0-7546-5615-9.</ref>
 
บรรทัด 109:
แม้ว่าพื้นที่มากมายในยุโรปและรัฐเก่าแก่ขึ้นชื่อได้พ่ายแพ้หรืออาจตกอยู่ใต้เงื้อมมือของ[[เกสตาโพ]]และระบอบนาซีที่น่ารังเกียจก็ตาม เราจะอ่อนล้าหรือล้มเหลวไม่ได้
 
'''เราจักก้าวเดินไปถึงจุดจบ เราจักสู้ในฝรั่งเศส เราจักสู้ในท้องทะเลและมหาสมุทร เราจักสู้ด้วยความเชื่อมั่นและพลังที่เติบใหญ่ในท้องนภา เราจักปกป้องเกาะของเราแม้ต้องแลกด้วยอะไรก็ตาม เราจักสู้บนชายหาด เราจักสู้บนลานบิน เราจักสู้บนท้องทุ่งและท้องถนน เราจักสู้ในหุบเขา เราจักสู้บนเนินเขา เราจักไม่มีวันยอมจำนนแพ้'''...|วินสตัน เชอร์ชิล 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940<br>ณ [[พระราชวังเวสต์มินสเตอร์|เวสต์มินสเตอร์]]}}
 
== อ้างอิง ==