ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิเถี่ยว จิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Minhnguyenhuyen (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
| signature = Nguyen Imperial Pennon (m1).png}}
 
'''สมเด็จพระจักรพรรดิเถี่ยว จิ''' ({{lang-vi|Thiệu Trị, 紹治}} ; 6 มิถุนายน ค.ศ. 1807 - 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1847) เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 3 แห่ง[[ราชวงศ์เหงียน]] มีพระนามเดิมว่า หรือ'''เจ้าชายสมเด็จพระจักรพรรดิเหงียน ฟุก เมียน ตงงียนเฮี้ยนโต๋''' ({{lang|vi|Nguyễn Phúc MiêHiến TôngTổ, 阮福綿宗}} 憲祖) เป็นพระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิพระองค์ที่ 3 แห่ง[[ราชวงศ์เหงียน]] ทรงเป็น ''ฮหว่างเด๊'' หรือสมเด็จพระจักรพรรดิมิญแห่งราชอาณาจักรเวียดนาม หมั่งคือประเทศ[[เวียดนาม]]ในปัจจุบัน ทรงครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1841 จนเสด็จสวรรคตในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1847<ref>Erica J. Peters - Appetites and Aspirations in Vietnam: 2011 -Page 32 "Tự Đức (1847–1883) Minh Mạng's eldest son, Thiệu Trị, ruled from his father's death in 1841 until his own demise in 1847. Thiệu Trị passed over his eldest son to leave the throne to his second son, who ruled from 1847 to 1883"</ref>
 
==พระประวัติ==
 
=== ทรงพระเยาว์ ===
สมเด็จพระจักรพรรดิเถี่ยว จิ มีพระนามเดิมว่า '''เจ้าชายเหงียน ฟุก เมียน ตง''' ({{lang|vi|Nguyễn Phúc Miên Tông, 阮福綿宗}}) ประสูติเมื่อ[[ค.ศ. 1807]] เป็นพระราชโอรสองค์โตของเจ้าชาย เหงียน ฟุก ด๋าม (Nguyễn Phúc Đảm, 阮福膽) ที่ประสูติกับพระนางโห่ถิฮวา (Hồ Thị Hoa, 胡氏華) หลังจากที่เจ้าชายเหงียนฟุกเมียงตงประสูติได้สิบสามวัน พระนางโห่ถิฮวาพระมารดาประชวรสิ้นพระชนม์ เจ้าชายเหงียนฟุกด๋ามพระราชบิดาขึ้นครองราชสมบัติเป็น[[สมเด็จพระจักรพรรดิมิญ หมั่ง]]ใน[[ค.ศ. 1820]] เมื่อพระราชบิดาพระจักรพรรดิมิญหมั่งเสด็จสวรรคตเมื่อ[[ค.ศ. 1841]] เจ้าชายเหงียนฟุกเมียนตงในฐานะที่ทรงเป็นพระโอรสองค์โตจึงขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ขณะนั้นพระชนมายุ 34 ชันษา ประกาศใช้รัชศก "'''เถี่ยว จิ'''" (Thiệu Trị, 紹治) แปลว่า "การปกครองที่ต่อเนื่อง"
 
=== รัชสมัย ===
 
==== อานามสยามยุทธ ====
พระจักรพรรดิเถี่ยวจิทรงรับช่วงต่อสงคราม[[อานัมสยามยุทธ|อานามสยามยุทธ]]มาจากรัชสมัยของพระราชบิดาพระจักรพรรดิมิญหมั่ง เวียดนามเข้าครอบครองอาณาจักรกัมพูชาไว้ตั้งแต่ปี[[ค.ศ. 1834]] โดยตั้งนักองค์มี ขึ้นเป็นกษัตรีองค์มีเป็นกษัตริย์หุ่นเชิดของราชสำนักเวียดนามในการปกครองกัมพูชา ผนวกกัมพูชาเข้าเป็นมณฑลหนึ่งของเวียดนามมีชื่อว่า เจิ๊นเต็ย (Trấn Tây, 鎮西) และมีเจืองมิญสาง (Trương Minh Giảng, 張明講) หรือที่รู้จักในพงศาวดารไทยว่า องเตียนกุน เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระจักรพรรดิมีอำนาจเหนือกัมพูชา นโยบายการกลืนชาติของพระจักรพรรดิมิญหมั่งสร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวเขมร ชาวเขมรถูกบังคับให้นับถือ[[ลัทธิขงจื๊อ|ลัทธิขงจื้อ]]และแต่งกายแบบเวียดนาม ในค.ศ. 1841 พระจักรพรรดิมิญหมั่งทรงปลดกษัตรีองค์มีออกจากราชบัลลังก์เขมร ทำให้อาณาจักรเขมรปราศจากเจ้าปกครอง บรรดาขุนนางเขมรต่างตั้งตนเป็นอิสระ
 
หลังจากที่พระจักรพรรดิมิญหมั่งเสด็จสวรรคต ชาวกัมพูชาก่อการกบฎต่อต้านการปกครองของเวียดนาม สังหารข้าราชการชาวเวียดนามไปจำนวนมาก องเตียนกุนเจืองมิญสางจึงพยายามที่จะแก้ไขปัญหาโดยการนำกษัตรีองค์มีกลับมาครองกัมพูชาอีกครั้ง แต่ทว่าไม่ทันการฝ่ายกองทัพและฝ่ายการปกครองของเวียดนามไม่อาจตั้งอยู่ในกัมพูชาได้อีกต่อไป ในค.ศ. 1841 เจืองมิญสางจึงนำกองทัพเวียดนามพร้อมทั้งนักองค์มีล่าถอยกลับมายังเมืองโจฏก หรือ เจิวด๊ก (Châu Đốc) ในเวียดนามภาคใต้ เจืองมิญสางเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ไม่อาจรักษากัมพูชาไว้ได้ จึงกระทำการ[[อัตวินิบาตกรรม]]ดื่มยาพิษเสียชีวิตไปในที่สุด ในโอกาสนี้ [[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] ยกทัพฝ่ายสยามเข้าครองนคร[[อุดรมีชัย|อุดงมีชัย]]และนคร[[พนมเปญ]]ได้อย่างรวดเร็ว [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มีพระบรมราชโองการให้[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์]] ทรงเป็นแม่ทัพเรือนำทัพเรือสยามเข้าโจมตีเมืองบันทายมาศ และโปรดฯให้เจ้าพระยายมราชพร้อมทั้ง[[นักองค์ด้วง]]นำทัพบกยกไปทางเมืองโจฏก พระจักรพรรดิเถี่ยวจิมีพระราชโองการให้ เหงียนจิเฟือง (Nguyễn Tri Phương, 阮知方) ยกทัพจากเมืองไซ่ง่อนเข้าช่วยเหลือและป้องกันเองบันทายมาศจากการโจมตีของทัพเรือสยาม ฝ่ายทัพเรือสยามเมื่อทราบว่าฝ่ายเวียดนามกำลังจะยกทัพใหญ่มาช่วยเมืองบันทายมาศ และลมมรสุมไม่เอื้ออำนวย จึงยกทัพเรือถอยออกจากเมืองบันทายมาศ<ref>http://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%93/%E0%B9%91%E0%B9%98%E0%B9%92-%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD</ref> เหงียนจิเฟืองเมื่อเห็นว่าทัพเรือสยามยกกลับไปแล้ว จึงยกทัพเข้าโจมตีทัพสยามของเจ้าพระยายมราชและนักองค์ด้วงที่เมืองโจฏกแตกพ่ายไป
 
==== การรุกรานของฝรั่งเศส ====
สมเด็จพระจักรพรรดิเถี่ยว จิ ทรงเหมือนกับสมเด็จพระจักรพรรดิมิญ หมั่ง (พระราชชนกของพระองค์) และทรงยึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยวตัวเองและหลักการของ[[ลัทธิขงจื๊อ]] แม้พระองค์จะทรงได้รับการอบรมในลัทธิขงจื๊อมาอย่างสูง แต่พระองค์ก็มีพระประสงค์ที่จะรู้เรื่องของชาวตะวันตกอยู่บ้าง แต่ก็เช่นเดียวกับพระราชชนก คือ ยังคงไม่ไว้วางพระทัยชาวต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวจีน ในเวลาเดียวกัน ทั้ง[[ฝรั่งเศส]]และ[[สหราชอาณาจักร]]ต่างพยายามแข่งกันล่าอาณานิคมและสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับอินโดจีน และก็เช่นเดียวกับยุคสมัยของพระราชชนก พฤติการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้[[มิชชันนารี]]ชาวสเปนและฝรั่งเศสที่ไม่สนใจการห้ามเผยแพร่ศาสนากลับเข้ามาในเวียดนามอีก เมื่อพระองค์ทรงสั่งจับกุมคุมขังมิชชันนารีเหล่านั้น ฝรั่งเศสจึงทำการตอบโต้ทันที ในปี ค.ศ. 1843 รัฐบาลฝรั่งเศสส่งทหารให้เดินทัพสู่อินโดจีน พร้อมคำสั่งให้ป้องกันและปกป้องผลประโยชน์ของฝรั่งเศส และขอให้ปล่อยมิชชันนารีโดยไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถ้าเป็นไปได้<ref>Jacob Ramsay Mandarins and Martyrs: The Church and the Nguyen Dynasty 2008 "The start of Thiệu Trị's reign saw, for example, an immediate revival of Buddhism at court. A devout Buddhist, Thiệu Trị ordered elaborate mourning rites for his father's funeral."</ref><ref>Nghia M. Vo Saigon: A History -2011 Page 59 "In March 1843, the Heroine arrived in Đà Nẳng harbor, asking for the release of five imprisoned missionaries. King Thiệu Trị complied."</ref>