ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มวยปล้ำอาชีพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
มวยปล้ำอาชีพ เป็นทั้งการแสดง[[ศิลปะการต่อสู้]], ความแข็งแรงของร่างกายมนุษย์ และการแสดงท่ากายกรรมต่างๆ ในรูปแบบของกีฬาต่อสู้
 
มวยปล้ำอาชีพเริ่มเป็นที่นิยมในทวีปยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และในภายหลัง ได้รับการเผยแพร่เข้ามาในแถบทวีปอเมริกาทั้งหมด ไปจนถึงหมู่เกาะบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก, ทวีปออสเตรเลีย, และทวีปเอเชีย ในวงการมวยปล้ำอาชีพของโลก มีนักมวยปล้ำอาชีพ, บุคคลในแวดวงวงการ, และผู้รับชม มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา, ประเทศแคนาดา, ประเทศเม็กซิโก, และ ประเทศญี่ปุ่น
 
ปัจจุบัน มวยปล้ำอาชีพยังคงได้รับความนิยมจากผู้ชมทั่วโลก โดยมีกลุ่มผู้ชมมากที่สุดตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตววรษที่ 20 เป็นต้นมา แม้จะมีการยืนยันว่ามวยปล้ำอาชีพในยุคสมัยใหม่นั้น เป็นเพียงการแสดงเพื่อความบันเทิงของผู้รับชมแล้วก็ตาม
บรรทัด 12:
== กฎกติกาของมวยปล้ำอาชีพ ==
{{โครงส่วน}}
# '''แบบปล้ำเดี่ยว (Single Match) ''' - เป็นกติกาพื้นฐาน และเป็นกติกาหลักของมวยปล้ำอาชีพ นั่นคือ นักมวยปล้ำทั้งสองคน จะต้องต่อสู้กันบนเวทีมวย โดยใช้การโจมตีด้วยการใช้กำปั้นทุบ, การเตะ, การฟันด้วยสันมือ, การฟันศอก, การตีเข่า, การวิ่งเข้าปะทะ, การเด้งตัวกับเชือกกั้นเวทีมวยแล้ววิ่งเข้าปะทะ, การเหวี่ยงตัวคู่ต่อสู้ให้ตกเวทีมวย, การเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้เด้งกับเชือกกั้นเวทีมวยแล้วโจมตี หรือ จับทุ่ม หรือเข้าปะทะ, การเหวี่ยงอัดด้วยท่อนแขนหรือท่อนขา, การพุ่งเข้าปะทะจากบนเสามุมเวทีมวย, การกระโดดทับตัวของคู่ต่อสู้และการซ้ำคู่ต่อสู้ด้วยการทิ้งท่อนแขน, ท่อนขา, ศอก, ส่วนท้าย, เข่า, ฝ่าเท้า (จากบนพื้นเวทีหรือจากบนเสามุมเวทีมวยก็ได้) และ การจับทุ่มคู่ต่อสู้ การปล้ำจะจบลงพร้อมผลแพ้ชนะเมื่อมีนักมวยปล้ำฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกดไหล่ของนักมวยปล้ำอีกฝ่ายหนึ่งที่หงายตัวอยู่ให้แตะติดพื้นบนเวทีมวย (ในภาษาอังกฤษเรียกว่าเป็นการ "พิน" Pin) จนกระทั่งกรรมการผู้ห้ามเข้ามาแล้วนับ 1 ถึง 3 หากกรรมการนับครบถึงเลข 3 ไปแล้ว ไหล่ของผู้ที่ถูกกดไหล่ยังคงถูกอีกฝ่ายซึ่งเป็นผู้กดไหล่ กดติดพื้นเวทีมวยอยู่ จะถือว่าการกดไหล่ของผู้กดไหล่ครั้งนั้นสำเร็จ การปล้ำก็จะยุติลง และผู้ที่กดไหล่คู่ต่อสู้ได้สำเร็จเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าหากผู้ที่ถูกกดไหล่นั้นยกตัวหรือยกไหล่ขึ้นมาจากการกดได้ หรือ ไหล่ของผู้ที่ถูกกดไหล่นั้นได้หลุดออกไปจากการกดไหล่ไปก่อนที่กรรมการผู้ห้ามจะนับได้ถึงเลข 3 ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม จะถือว่าการกดไหล่ของผู้กดไหล่ครั้งนั้นยังไม่สำเร็จ และจะต้องต่อสู้กันไปจนกว่าจะสามารถกดไหล่อีกฝ่ายได้สำเร็จ อีกหนึ่งวิธีการเอาชนะคือการล็อกหรือรัดตัวคู่ต่อสู้ให้ยอมแพ้ นักมวยปล้ำสามารถใช้ท่าล็อกที่จะขัดขวางการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายแสดงสัญญาณการขอยอมแพ้ โดยกรรมการจะเข้าไปถามว่า ยอมแพ้ไหม? (Give up?) หากฝ่ายที่ถูกล็อกแสดงการยอมจำนนโดยการตบพื้น หรือ แตะส่วนของร่างกายที่ถูกล็อก กรรมการจะหยุดการปล้ำ และให้ฝ่ายที่ใช้ท่าล็อก เป็นผู้ชนะทันที ผู้ถูกใช้ท่าล็อกสามารถดิ้นออกจากล็อก เพื่อหลบหนีออกจากการถูกล็อกได้ หรือ เข้าไปจับเชือกกั้นเวทีมวยเพื่อ "โรพ เบรก" (Rope Break) ให้คู่ต่อสู้หยุดใช้ท่าล็อกได้ ในขณะที่มีการใช้ท่าล็อก, การรัดตัว, หรือการกดไหล่ หากนักมวยปล้ำฝ่ายที่เสียเปรียบจากการถูกใช้ท่าล็อก, ถูกรัดตัว, หรือถูกกดไหล่ สามารถเข้าไปจับหรือสัมผัสเชือกกั้นเวทีมวยได้ จะถือว่าเป็นการ "โรพ เบรก" (Rope Break) นักมวยปล้ำที่เป็นฝ่ายได้เปรียบจะต้องผละตัวออกจากฝ่ายที่เสียเปรียบให้ความได้เปรียบของทั้งสองฝ่ายเสมอตัวกันและดำเนินการปล้ำต่อไป มิเช่นนั้น กรรมการผู้ห้ามจะเตือนนักมวยปล้ำฝ่ายที่ได้เปรียบให้ผละออกจากนักมวยปล้ำฝ่ายที่เสียเปรียบ และจะนับหนึ่งถึงห้าเพื่อให้เวลาฝ่ายที่ได้เปรียบผละออกจากฝ่ายที่เสียเปรียบ หากยังไม่ผละออกก็จะถูกปรับแพ้ หากมีนักมวยปล้ำฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกลงไปจากเวทีหรือเดินลงไปจากเวทีทั้งๆ ที่การแข่งขันยังไม่มีผลแพ้ชนะ กรรมการผู้ห้ามจะนับ 1 ถึง 10 ด้วยความเร็วปานกลาง เป็นการนับให้นักมวยปล้ำกลับขึ้นมาเมื่อออกจากเวทีมวย (ในภาษาอังกฤษเรียกว่าเป็นการนับ "ริง เอาท์ เคาท์" Ring Out Count) (ในบางการแข่งขันก็จะนับ 1 ถึง 20) เพื่อให้เวลานักมวยปล้ำที่ตกลงไปจากเวทีได้กลับขึ้นมา หากไม่กลับขึ้นมาเมื่อครบจำนวนตัวเลขที่ทางกรรมการผู้ห้ามได้นับ ก็จะถูกปรับแพ้ นักมวยปล้ำที่อยู่บนเวทีจะชนะทันที หากกลับขึ้นมา การปล้ำก็จะถูกดำเนินต่อไป จนกระทั่งมีผลแพ้ชนะ หากนักมวยปล้ำทั้งสองฝ่ายลงไปต่อสู้กันด้านล่างเวทีมวย แม้จะไม่ถือว่าผิดกติกา แต่กรรมการก็จะนับให้กลับขึ้นเวทีมวย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายกลับขึ้นมา หากฝ่ายที่ลงเวทีมวยก่อนกลับขึ้นมา แล้วอีกฝ่ายที่ลงเวทีมวยไปทีหลังไม่ขึ้นมา กรรมการจะเริ่มการนับใหม่ เพื่อให้ฝ่ายที่ลงเวทีมวยทีหลังได้ขึ้นมา แต่หากฝ่ายที่ลงเวทีมวยไปก่อนยังไม่ขึ้น แต่ฝ่ายที่ลงเวทีมวยไปทีหลังขึ้นมาก่อน กรรมการจะนับให้กลับขึ้นเวทีมวยไปจนถึงที่ได้กำหนดไว้ หากไม่กลับขึ้นมาก็จะแพ้ทันที หากทั้งสองฝ่ายล้มลงนอนบนเวทีทั้งคู่ ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม กรรมการจะนับ 1 ถึง 10 ด้วยความเร็วปานกลาง เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มีเวลาลุกขึ้นมา เมื่อนักมวยปล้ำคนใดคนหนึ่งลุกขึ้นมาแล้ว กรรมการผู้ห้ามจึงจะหยุดนับและให้ดำเนินการปล้ำต่อไปจนกว่าจะมีผลแพ้ชนะ หากไม่ลุกขึ้นมาทั้งคู่ กรรมการผู้ห้ามจะยุติการแข่งขัน และจะให้ผลออกมาเสมอกัน หากลุกขึ้นมาทั้งคู่ การปล้ำก็จะดำเนินต่อไป จนกว่าจะมีผลแพ้ชนะออกมา การกดไหล่เอาชนะด้านล่างเวทีมวยนั้นกรรมการจะไม่นับให้ ต้องกดไหล่กันบนเวทีมวยเท่านั้น กรรมการถึงจะนับ 1 ถึง 3 และตัดสินผลแพ้ชนะได้ ยกเว้นการปล้ำอยู่ในแบบที่นักมวยปล้ำสามารถเอาชนะกันจากด้านล่างเวทีมวยได้ เช่นเดียวกับการใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ การยอมแพ้ของคู่ต่อสู้จะเป็นผลการปล้ำได้ก็ต่อเมื่ออยู่ด้านบนเวทีมวยเท่านั้น ยกเว้นการปล้ำอยู่ในแบบที่นักมวยปล้ำสามารถเอาชนะกันจากด้านล่างเวทีมวยได้ ส่วนการนำเอาสิ่งของจากด้านล่างเวทีมวยมาใช้เป็นอาวุธบนเวทีมวยและการนำอาวุธระยะประชิดมาใช้บนเวทีมวยนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกติกา (หากการปล้ำไม่ได้เป็นแบบที่ใช้อาวุธบนเวทีมวยได้) ผู้ที่ใช้อาวุธเข้าโจมตีคู่ต่อสู้บนเวทีมวยจะถูกปรับแพ้ และให้ผู้ที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธเป็นฝ่ายชนะไป การนำสิ่งของมาใช้เป็นอาวุธและการใช้อาวุธระยะประชิดชนิดใดก็ตามจะต้องกระทำ ณ บริเวณด้านล่างเวทีมวยเท่านั้น จึงจะทำได้ (ในบางสมาคมมวยปล้ำอาชีพก็ไม่มีการอนุญาตให้ใช้อาวุธทั้งด้านบนและด้านล่างเวทีมวย) ส่วนการชกคู่ต่อสู้ด้วยหมัดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในการต่อสู้แบบมวยปล้ำอาชีพ แม้จะไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องผิดกติกาอย่างร้ายแรง แต่กรรมการผู้ห้ามจะเข้ามาพูดเตือนเมื่อให้นักมวยปล้ำหยุดยั้งการชกคู่ต่อสู้ด้วยหมัด หรือพยายามเข้าระงับการใช้หมัดโจมตีชกคู่ต่อสู้อย่างต่อเนื่องของนักมวยปล้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นหมัดจากที่ตัวผู้ใช้ลอยอยู่กลางอากาศ จึงจะไม่ใช่เรื่องผิดกติกา เช่น หมัดจากท่า "ซูเปอร์แมนพันช์ (Superman Punch)" หรือ การกระโดดทิ้งหมัดลงมาใส่คู่ต่อสู้ เป็นต้น การทิ้งหมัดลงมาใส่คู่ต่อสู้ (หรือที่เรียกว่า "ฟิสต์ดร็อป (Fist Drop)") นั้นจะไม่ผิดกติกา ส่วนการโจมตีส่วนของร่างกายบริเวณ"ใต้เข็มขัด"ของนักมวยปล้ำเพศชายโดยตรงนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกติกาอย่างยิ่ง หากการปล้ำครั้งนั้นไม่ได้มีกติกาที่อนุญาตให้โจมตีส่วน"ใต้เข็มขัด"โดยตรงได้ นักมวยปล้ำผู้ที่โจมตีส่วน"ใต้เข็มขัด"ของคู่ต่อสู้โดยตรงจะถูกปรับแพ้ (อย่างไรก็ตาม การโจมตีด้วยท่าอย่าง อะตอมมิค ดรอป แบบกลับด้าน หรือ "อินเวอร์เต็ด อะตอมมิค ดรอป (Inverted Atomic Drop)" นั้น ถือว่าเป็นท่าทุ่มแบบหนึ่ง ไม่ได้ถือว่าผิดกติกาแต่อย่างใด)
'''2. แบบแท็กทีม (Tag Team Match) ''' - นักมวยปล้ำทั้งสองฝ่ายจะต้องมาแบบทีม หนึ่งทีมจะมี 2 คน นักมวยปล้ำทั้งสองทีมต้องส่งตัวแทน 1 คน ไปต่อสู้กับตัวแทนอีก 1 คน ของฝ่ายตรงข้าม ในบริเวณลานต่อสู้ของเวทีมวย ส่วนอีกคนหนึ่งจะต้องยืนเกาะเชือกเวทีมวยไว้ เพื่อรอเปลี่ยนตัวบริเวณด้านข้างมุมเสาเวทีมวยอยู่ทางด้านนอก การที่อีกคนหนึ่งจะเข้าไปต่อสู้ได้นั้น จะต้องถูกแตะมือ หรือถูกสัมผัสโดยนักมวยปล้ำร่วมทีมของตัวเองที่ได้ออกไปต่อสู้ก่อน (เรียกว่าเป็นการ "แท็ก (Tag)") จึงจะเข้าไปสู้แทนได้ ส่วนนักมวยปล้ำผู้ร่วมทีมที่ได้ออกไปต่อสู้ก่อนหน้านี้ เมื่อได้เข้าไปแตะมือ หรือสัมผัสตัวของผู้ร่วมทีมอีกคนหนึ่งซึ่งกำลังยืนเกาะเชือกเวทีมวยเพื่อรอเปลี่ยนตัวแล้ว ก็จะต้องไปยืนเกาะเชือกเวทีมวยรออยู่บริเวณมุมเสาเวทีมวยทางด้านนอกแทน (แต่ก็ยังสามารถอยู่ภายในบริเวณลานต่อสู้ก่อนได้ เพียงชั่วขณะหนึ่ง) จนกว่าจะถูกแตะมือหรือถูกสัมผัสโดยผู้ร่วมทีมของตัวเองที่เข้าไปต่อสู้ในบริเวณลานต่อสู้แทน จึงจะเข้าไปสู้อีกได้ ทั้งสองทีมจะต่อสู้กันรูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผลแพ้ชนะ ผลแพ้ชนะของการปล้ำจะตัดสินแบบเป็นทีม ทีมที่ชนะคือทีมที่นักมวยปล้ำคนใดคนหนึ่งของทีมสามารถเอาชนะนักมวยปล้ำคนใดคนหนึ่งของอีกฝ่ายไปได้ ส่วนกติกาหลักของการปล้ำแบบแท็กทีมก็เป็นกติกามวยปล้ำอาชีพแบบพื้นฐาน เอาชนะกันด้วยการกดไหล่ของคู่ต่อสู้ให้กรรมการผู้ห้ามนับหนึ่งถึงสาม หรือการใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ เช่นกัน ในการปล้ำแบบแท็กทีม นักมวยปล้ำในทีมที่ได้รับการเปลี่ยนตัวเข้ามาต่อสู้ในลานบนเวทีมวยแล้วสามารถจู่โจมนักมวยปล้ำฝ่ายตรงข้ามที่กำลังรอเปลี่ยนตัวอยู่ได้ และนักมวยปล้ำที่กำลังรอเปลี่ยนตัวอยู่ก็สามารถโจมตีนักมวยปล้ำฝ่ายตรงข้ามได้ ณ จุดที่รอเปลี่ยนตัวอยู่หรือในบริเวณด้านนอกเวทีมวย สำหรับการปล้ำแบบแท็กทีมในรูปแบบที่มีจำนวนสมาชิกในทีมมากกว่าสองคน นักมวยปล้ำจะแท็กผู้ร่วมทีมเพื่อเปลี่ยนตัวให้ผู้ร่วมทีมของตนที่ได้รอเปลี่ยนตัวอยู่บริเวณมุมเสาเวทีมวยด้านนอกนั้นเข้ามาต่อสู้แทนกันได้หนึ่งครั้งการแท็กต่อผู้ร่วมทีมหนึ่งคนในทีมเท่านั้น
 
บรรทัด 37:
 
'''3. การปล้ำในกรงเหล็ก (Steel Cage Match) ''' - เป็นการปล้ำที่จะมีกำแพงตาข่ายเหล็กมาวางล้อมรอบเวทีมวยไว้ตลอดทั้งสี่ทิศ ซึ่งนั่นเรียกว่าเป็น "กรงเหล็ก" นักมวยปล้ำแต่ละฝ่ายจะต้องต่อสู้กันบนเวทีมวยซึ่งถูกล้อมรอบด้วยกำแพงตาข่ายเหล็กเวทีนั้น นักมวยปล้ำที่สามารถปีนข้าม "กรงเหล็ก" ให้เท้าทั้งสองข้างสัมผัสพื้นด้านล่างเวทีมวยได้เป็นฝ่ายแรกก็จะเป็นฝ่ายชนะ ในหลายๆคู่ นักมวยปล้ำสามารถเอาชนะได้ด้วยการนำตัวเองออกมาจากเวทีมวยผ่านทางประตูของกรงเหล็กให้เท้าทั้งสองข้างลงมาสัมผัสพื้นด้านล่างเวทีได้ก่อนคู่ต่อสู้เพื่อเป็นฝ่ายชนะ และในอีกหลายๆคู่ นักมวยปล้ำสามารถเอาชนะกันได้ด้วยการกดไหล่นับสาม และ การใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ เช่นเดียวกับการปล้ำแบบทั่วไป อย่างไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่แล้ว หลักของการเอาชนะคู่ต่อสู้ในการปล้ำในกรงเหล็กเช่นนี้ คือการออกมาจากกรงเหล็กลงมาให้เท้าทั้งสองข้างสัมผัสพื้นด้านล่างเวทีมวยให้ได้ก่อนคู่ต่อสู้ การปล้ำในกรงเหล็กอนุญาตให้นักมวยปล้ำใช้สิ่งของจากด้านล่างเวทีมวยเป็นอาวุธได้ การปล้ำในกรงเหล็กเป็นได้ทั้งการปล้ำแบบเดี่ยว นักมวยปล้ำต่อสู้กันตัวต่อตัวในกรงเหล็ก และการปล้ำในรูปแบบที่มีจำนวนนักมวยปล้ำในการปล้ำหนึ่งครั้งมากกว่าสองคน เช่น การปล้ำแบบแท็กทีม เป็นต้น
'''3.1 แบบแท็กทีมในกรงเหล็ก (Tag Team Steel Cage Match) ''' - เป็นการปล้ำแบบแท็กทีมธรรมดาที่อยู่ภายในบริเวณกรงเหล็ก สำหรับการเอาชนะทีมของฝ่ายตรงข้ามด้วยการหลบหนีออกจากกรงเหล็กในการปล้ำรูปแบบนี้ นักมวยปล้ำคนใดคนหนึ่งที่ได้รับสิทธิ์ (หรือได้รับการ "แท็ก") ให้เข้ามาต่อสู้ในบริเวณลานต่อสู้ของเวทีมวย หากสามารถปีนออกจากกรงเหล็กหรือออกมาผ่านประตูทางออกของกรงเหล็กได้ก่อนคู่ต่อสู้ เขาและผู้ร่วมทีมของเขาก็จะเป็นทีมที่ชนะ
'''3.2 แบบทอร์นาโด แท็กทีม ในกรงเหล็ก (Tornado Tag Team Steel Cage Match) ''' - เป็นการปล้ำแบบทีมตะลุมบอนภายในบริเวณกรงเหล็ก สำหรับการเอาชนะทีมของฝ่ายตรงข้ามด้วยการหลบหนีออกจากกรงเหล็กในการปล้ำรูปแบบนี้ ทีมใดที่สมาชิกทั้งหมดปีนออกมาจากกรงเหล็กได้หรือออกมาผ่านประตูทางออกของกรงเหล็กได้ก่อนทีมฝ่ายตรงข้าม ก็จะเป็นทีมที่ชนะ
 
'''4. การปล้ำในกรงเหล็กแบบ "เฮลล์ อิน อะ เซลล์" (Hell in a Cell Match) ''' - เป็นการปล้ำในกรงเหล็กแบบมีเพดาน นักมวยปล้ำแต่ละฝ่ายจะต้องเริ่มต่อสู้กันบนเวทีมวยซึ่งมีกรงเหล็กแบบมีเพดานอยู่ด้านบน ในการปล้ำแบบ "เฮลล์ อิน อะ เซลล์" นักมวยปล้ำสามารถออกไปต่อสู้กันภายนอกกรงเหล็กได้ โดยจะไม่มีการนับให้ขึ้นเวทีมวย และสามารถนำสิ่งของจากด้านล่างเวทีมวยมาใช้เป็นอาวุธบนเวทีมวยได้ นักมวยปล้ำยังสามารถขึ้นไปต่อสู้กันบนเพดานของกรงเหล็กนี้ได้อีกด้วย ผลแพ้ชนะนั้นจะมาจากการกดไหล่คู่ต่อสู้ให้กรรมการผู้ห้ามนับถึงสามหรือการใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้จากด้านบนเวทีมวยเท่านั้น แต่ในบางการแข่งขัน ผลแพ้ชนะของการปล้ำสามารถมาจากการต่อสู้บนเพดานของกรงเหล็กได้ นั่นหมายความว่า ในบางการแข่งขัน นักมวยปล้ำสามารถกดไหล่คู่ต่อสู้ให้กรรมการผู้ห้ามนับถึงสามหรือใช้ท่าล็อกให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ได้ที่บนเพดานของกรงเหล็ก การปล้ำในกรงเหล็กแบบ "เฮลล์ อิน อะ เซลล์" นั้น เป็นที่รู้จักจาก สมาคมมวยปล้ำอาชีพ เวิลด์เรสต์ลิงเอ็นเตอร์เทนเมนต์ (World Wrestling Entertainment) หรือ ดับเบิลยูดับเบิลยูอี (WWE)
เส้น 52 ⟶ 54:
'''10. การปล้ำแบบ เท็กซัส เดธ แมทช์ (Texas Death Match)''' - เป็นการปล้ำที่นักมวยปล้ำแต่ละฝ่ายต้องผ่านขั้นตอนการเอาชนะอย่างต่อเนื่องกันทั้งหมดสองขั้นตอนจึงจะเป็นผู้ชนะ ขั้นตอนแรกคือการกดไหล่คู่ต่อสู้ให้กรรมการผู้ห้ามนับหนึ่งจนถึงสามหรือล็อกคู่ต่อสู้ให้ยอมแพ้ เมื่อกดไหล่คู่ต่อสู้จนกรรมการผู้ห้ามนับถึงสามหรือคู่ต่อสู้ยอมแพ้จากการล็อกแล้ว ก็จะผ่านขั้นตอนแรก และเข้าสู่ขั้นตอนที่สองทันที นั่นคือการปล่อยให้คู่ต่อสู้คนนั้นกลับขึ้นมายืนอยู่กับพื้น ซึ่งหากคู่ต่อสู้นั้นไม่สามารถกลับขึ้นมายืนเพื่อต่อสู้ต่อได้ภายในช่วงเวลาที่กรรมการผู้ห้ามนับ 1 ถึง 10 ด้วยความเร็วปานกลาง นักมวยปล้ำฝ่ายที่ยืนหยัดอยู่ก็จะผ่านขั้นตอนที่สองซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายสำหรับชนะในการปล้ำแบบเท็กซัส เดธ แมทช์ และเป็นฝ่ายชนะ นักมวยปล้ำฝ่ายใดก็ตามที่ยังไม่สามารถผ่านขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งได้สำเร็จ ก็จะต้องดำเนินการปล้ำต่อไปและเริ่มต้นผ่านจากขั้นตอนแรกใหม่อีกครั้ง จนสามารถผ่านทั้งสองขั้นตอนอย่างต่อเนื่องกันได้สำเร็จ จึงจะเป็นฝ่ายชนะ การปล้ำแบบเท็กซัส เดธ แมทช์ ไม่มีการนับให้ขึ้นเวทีมวย นักมวยปล้ำสามารถนำสิ่งของมาใช้เป็นอาวุธได้ และสามารถดำเนินการปล้ำได้ทั้งในบริเวณด้านบนและด้านล่างเวทีมวย ในบางครั้ง มีการนำรูปแบบการปล้ำนี้ไปผสมกับการปล้ำในกรงเหล็ก
 
'''11. การปล้ำแบบ ชู้ต เรสต์ลิง (Shoot Wrestling Match)''' - เป็นการปล้ำที่ถอดรูปแบบกติกาส่วนหนึ่งมาจากกีฬาศิลปะการต่อสู้แบบผสม (หรือที่เรียกว่า "มิกซ์มาร์เชียล อาร์ต (Mixed Martial Arts)" หรือ "เอ็มเอ็มเอ (MMA)") มาใช้เป็นหลัก ซึ่งจะมีเพียงสองหนทางหลักสำหรับเอาชนะฝ่ายตรงข้ามในการปล้ำรูปแบบนี้ คือ การปล้ำหรือโจมตีคู่ต่อสู้เพื่อพิชิตให้ล้มลงไปจนไม่สามารถกลับขึ้นมายืนเพื่อต่อสู้ต่อได้ภายในช่วงเวลาที่กรรมการผู้ห้ามนับ 1 ถึง 10 ด้วยความเร็วปานกลางให้ลุกขึ้นมา และ การล็อกคู่ต่อสู้ให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ ไม่มีการกดไหล่ของคู่ต่อสู้ให้กรรมการผู้ห้ามบนเวทีมวยนับหนึ่งจนถึงสาม การปล้ำรูปแบบนี้ได้รับการออกแบบให้มีกลิ่นไอของกีฬาต่อสู้ให้มากที่สุด จึงทำให้โดยทั่วไปแล้ว การปล้ำรูปแบบนี้จะเน้นให้ดำเนินอยู่บนเวทีมวย ในบางครั้งผลการปล้ำจะมาจากการเอาชนะบนเวทีมวยเท่านั้น และไม่มีการนำรูปแบบสิ่งของมาใช้เป็นอาวุธในการปล้ำนี้ไปผสมกับการปล้ำในกรงเหล็ก การปล้ำรูปแบบนี้ได้รับการคิดค้นและพัฒนาในประเทศญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 เป็นที่รู้จักในวงกว้างและได้รับความนิยมผ่านสมาคมมวยปล้ำอาชีพ ที่มีชื่อว่า ยูนิเวอร์แซล เรสต์ลิง เฟเดอเรชัน (Universal Wrestling Federation) หรือ ยูดับเบิลยูเอฟ (UWF) จากประเทศญี่ปุ่น แม้ในปัจจุบัน สมาคมมวยปล้ำอาชีพ ยูดับเบิลยูเอฟ ได้ปิดตัวลงไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีสมาคมมวยปล้ำอาชีพแห่งอื่นๆที่มีการปล้ำแบบชู้ตเรสต์ลิง ในบางครั้ง ก็มีการนำรูปแบบการปล้ำนี้ไปผสมกับการปล้ำในกรงเหล็ก
 
== มวยปล้ำอาชีพในประเทศไทย ==