ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
| HCPCSlevel2 =
}}
'''การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ''' ({{lang-en|percutaneous coronary intervention, ย่อ: PCI}}) เป็นหัตถการที่มิใช่การผ่าตัดใช้เพื่อรักษาการตีบแคบของ[[หลอดเลือดหัวใจ]]ซึ่งพบใน[[โรคหลอดเลือดหัวใจ]] เริ่มจากการเข้าถึงกระแสเลือดผ่าน[[หลอดเลือดแดงต้นขา]]หรือ[[หลอดเลือดแดงข้อมือ|ข้อมือ]] แล้วใช้หลอดสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อดูหลอดเลือดทางภาพรังสีเอกซ์ หลังจากนั้น นักหทัยวิทยาปฏิบัติรักษาสามารถศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือดหัวใจ (coronary angioplasty) โดยใช้สายหลอดสวนบอลลูนซึ่งมีการสอดบอลลูนปล่อยลมเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่อุดตันแล้วสูบลมเข้าเพื่อบรรเทาการตีบแคบ สามารถอุปกรณ์บางอย่างเช่น ดลวด (stent) เพื่อถ่างหลอดเลือดให้เปิด นอกจากนี้ หัตถการอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่งก็สามารถทำได้เช่นกัน
 
PCI ปฐมภูมิเป็นการใช้ PCI อย่างรีบด่วนมากในผู้ป่วย[[โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน]] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีหลักฐานหัวใจเสียหายรุนแรงบน[[ภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ]] (MI ชนิด ST ยก) นอกจากนี้ PCI ยังใช้ในผู้ป่วยหลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบอื่นหรือ[[อาการปวดเค้นหัวใจแบบไม่เสถียร]] ซ่ึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอาการเพิ่ม สุดท้าย PCI อาจใช้ในผู้ป่วย[[อาการปวดเค้นหัวใจแบบเสถียร]]โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ยาควบคุมอาการได้ยาก PCI เป็นทางเลือดของการปลูกถ่ายทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass grafting) ซึ่งเลี่ยงหลอดเลือดที่ตีบตันโดยใช้หลอดเลือดปลูกถ่ายจากตำแหน่งอื่นในร่างกาย ในบางกรณี (เช่น มีการอุดกั้นมาก หรือมีโรคพื้นเดิมเบาหวาน) CABG อาจให้ผลดีกว่า
 
ศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือดหัวใจริเริ่มครั้งแรกในปี 1977 โดยอันเดรอัส กรูเอนท์ซิกในประเทศสวิสเซอร์แลนด์